วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 5, 2024

รางสร้างเมือง เมืองสร้างราง ฉลาดยั่งยืน

ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 8 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2558-2564 ที่รัฐบาลคสช.ได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญเพื่อวางรากฐานการลงทุนพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่อง และเชื่อมโยง4 การเดินทางทั้งระบบขนส่งทางราง ถนน น้ำ และอากาศมัดรวมไว้ด้วยกัน

“บี.เอส.ขนส่ง”แตกไลน์บริการ“B.S.EXPRESS” ขานรับอี-คอมเมิร์ซบูม

ท่ามกลางกระแสคลื่นการทะยานเติบโตธุรกิจอี-คอมเมิร์ซหนุนการซื้อ-ขายออนไลน์ทะลัก ส่งอานิสงส์ธุรกิจขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทยโดยเฉพาะ “ธุรกิจส่งด่วน” บูมสุดขีด เบ่งบานตามมาด้วยบริษัทขนส่งด่วนทั้งไทยและเทศผุดขึ้นยังกับดอกเห็ด เปิดสงครามธุรกิจรับส่งพัสดุด่วนดุเดือดหวังแบ่งเค้กก้อนมหึหา บนเวทีการแข่งขันมีทั้งรายใหญ่-กลาง-ย่อยร่วมชิงสัดส่วนตลาดกันสุดลิ่ม เมื่อเบ่งบานยากที่จะหยุดยั้งก็ยิ่งควักมือเรียกผู้เล่นหน้าใหม่โรมรันพันตูอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่ผู้เล่นหน้าเก่าก็ต้องปรับกลยุทธ์ "โชว์จุดเด่น-ปิดข้อด้อย"ตัวเองหวังเป็นทางเลือกดีสุดของลูกค้า ฟากผู้ประกอบการขนส่งหนักก็มีอยู่หลายรายสบโอกาสลงมาเล่นซอยบริการย่อย “รับส่งสินค้าด่วน”คู่ขนานกับการขนส่งแบบเดิมด้วยเช่นกัน ล่าสุด “บี.เอส.ขนส่ง”อีกหนึ่งผู้ประกอบการขนส่งที่ปรับตัวขานรับธุรกิจอี-คอมเมิร์ซบูม ผุดบริการส่งด่วน “B.S.EXPRESS”รับส่งสินค้าน้ำหนัก 25 กก.ขึ้นไป พร้อมขันน็อตจุดยืน “Third Party Logistics Service Provider” รุกผูกปิ่นโต 51 พันธมิตรธุรกิจเสริมความแข็งแกร่งบู๊ขนส่งต่างชาติทุนหน้า...

ไขปม!เทอร์มินัล 2 สุวรรณภูมิ “ลูกนอกไส้”จริงหรือ?

ยังร้อนเป็นไฟสุมทรวงบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.กรณีมีมติเห็นชอบให้กลุ่มนิติบุคคลที่มีนายดวงฤทธิ์ บุนนาค เป็นผู้ชนะการประกวดออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ทั้งที่ไม่ใช่ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในการประกวดการออกแบบ กลายเป็นปมร้อนถึงขึ้นต้องพึ่งศาลปกครองกลางที่แม้ในที่สุดศาลฯได้มีคำสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราวตามที่ “กลุ่มบริษัทเอสเอ กรุ๊ป” ยื่นฟ้องต่อศาลฯ ผนวกกับอุณหภูมิความร้อนกรณีทำเลที่ตั้งอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 ที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางพร้อมตั้งข้อสงสัยและท้วงติงถึงประเด็นร้อน “ทำเลที่ตั้งอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2” ไม่ได้เป็นไปตามแผนแม่บท (Master Plan)การขยายสนามบินสุวรรณภูมิที่จัดทำไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งอาจจะนำไปสู่หายนะด้านการบริหารจัดการสนามบินในภาพรวมได้ในอนาคต จนกลายเป็นประเด็นดราม่าถูกสังคมครหาว่าหากเป็นลูกก็คงไม่เป็น“ลูกในไส้”หากแต่เป็น“ลูกนอกไส้”!ทำให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยถึงแผนแม่บทสนามบินสุวรรณภูมิที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนาหูและถกเถียงกันเป็นวงกว้างในเวลานี้สรุปแล้วมันเป็นอย่างไรกันแน่! “แผนแม่บทเดิม”...

LPI ไทยขยับ 32 ของโลก ความสำเร็จหรือรากเหง้าปัญหา?

ภายหลังธนาคารโลก (World Bank) ได้เผยแพร่รายงานการจัดอันดับดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (The Logistics Performance Index: LPI)  ประจำปี 2018 โดยจากการสำรวจ 160 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 32 ดีขึ้นจากการจัดอันดับครั้งก่อนในปี 2016 ที่อยู่ที่อันดับ 45 หรือดีขึ้นถึง 13 อันดับ อีกทั้งอันดับของไทยยังปรับดีขึ้นแซงหน้าประเทศมาเลเซียที่อยู่ในอันดับที่ 41...

“กูรูขนส่ง” ชี้ ตลาดรถใหญ่เมืองไทย‘ตลาดปราบเซียน’!

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสมรภูมิรถใหญ่เมืองไทยเซ็กเม้นต์รถจากแดนซามูไร ความยิ่งใหญ่ยังตกเป็นของ 2 ค่ายมหาอำนาจอย่าง “อีซูซุ”และ “ฮีโน่” ช่วงชิงความเป็นแชมป์ยอดขายในแต่ละปี นอกนั้นแบ่งสัดส่วนให้ “ยูดีทรัคส์-ฟูโซ่”ไล่เบียดแย่งชิงสัดส่วนตลาดพอหอมปากหอมคอ ขณะที่ค่ายรถบรรทุกจากแดนมังกรที่ระยะหลังไม่หวือหวาเหมือนในอดีต ฟากฝั่งค่ายรถใหญ่สายพันธุ์ยุโรปที่ถูกยกให้เป็นตลาดบนที่แม้จะยอดขายในแต่ละปีไม่มากนักแตะระดับพันคันต้นๆหากวัดกับค่ายรถญี่ปุ่นที่โกยยอดขายไปปีละกว่า 2 หมื่นคัน โดยเป็น 2 ค่ายมหาอำนาจอย่าง “วอลโว่”และ“สแกนเนีย” ยังจับให้เป็น “มวยถูกคู่”คับเคี่ยวสูสีทุกปีเฉกเช่นค่ายรถญี่ปุ่นที่มี “อีซูซุ”และ “ฮีโน่”เป็นไม้เบื่อไม้เมากัน แม้ค่ายวอลโว่แทบจะผูกขาดและครองความเป็นเบอร์หนึ่งตลาดเหนียวหนึบทุกปี แต่ทว่า เมื่อปี 60...

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ชี้ B20 “เพิ่มทางเลือก-คุ้มค่าระยะยาว”

หลังภาครัฐโดยกระทรวงพลังงานได้จุดพลุมาตรการเสริมเพิ่มทางเลือกและบรรเทาความเดือดร้อน กลุ่มผู้ประกอบการ “รถบรรทุก-รถโดยสาร-เรือโดยสาร”ที่พาเหรดบุกกระทรวงคมนาคม-พลังงาน เพื่อขอปรับขึ้นราคาค่าขนส่งอันเป็นผลจากราคาน้ำมันดีเซลพุ่งทะยานไม่หยุดเฉียด 30 บาท/ลิตร โดยกระทรวงพลังงานงัดมาตรการตรึงดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรด้วยการยอมทุบคงคลังกองทุนน้ำมัน 3.1 หมื่นล้านบาทพยุงราคา พร้อมสยายปีกเปิดโครงการขายน้ำมันไบโอดีเซล B20 ให้กลุ่มรถบรรทุก- เรือโดยสาร- เกษตรกร ที่มีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลทั่วไปลิตรละ 3 ดีเดย์ 2 ก.ค.นี้ ถึงกระนั้น มาตรการเสริมดังกล่าวนี้ ก็ยังไม่วายถูกกลุ่มประกอบการขนส่งรุมจวกยับถึงน้ำมันไบโอดีเซล B20 เป็นน้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพและตกยุคไปนานแล้วไม่เหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน...

จาก BRI …ถึง EEC “เส้นทาง-ฮับเศรษฐกิจ”เพื่ออนาคตใหม่!

หากกวาดสายตาหาประเทศมหาอำนาจโลกที่เร่งเครื่องเต็มสูบพัฒนาประเทศในด้านโครงการสร้างพื้นฐานสุดลิ่มทิ่มประตูในเวลานี้ คงหนีไม่พ้นประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจโลกอย่างจีนไปได้ ที่เวลานี้ขึ้นทำเนียบเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของโลกไปแล้ว ที่มีโครงการยักษ์ใหญ่มากมาย อาทิ การริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative) หวังพุ่งชนเป้าหมายเชื่อมโยงจีนกับอีก 70 ประเทศทั่วโลก   ขณะที่ประเทศไทยเองก็เดินหน้าลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างหนักไม่ต่างจากจีนเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) ทุ่มเม็ดเงินมหาศาลปูพรมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ มุ่งหวังพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนและเป็นเมืองที่น่าอยู่ อีกทั้งดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ หรือ S-Curve ทั้งไทย-เทศ Logistics...

“สมาร์ตโลจิสติกส์” กุญแจไขความสำเร็จยุค 4.0

แม้ธุรกิจบริการด้านโลจิสติกส์ไทยจะเป็นหนึ่งเส้นเลือดหลักในการขับเคลื่อนการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้ทะยานเติบโตต่อเนื่อง แต่ทว่าการเปิดเสรีธุรกิจบริการที่มีทั้ง “โอกาสและแรงกดดัน” จากการแข่งขันที่นับวันทวีความดุเดือดสูงขึ้น ผนวกกับโลกการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากการถูกรุมเร้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจการค้าไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจบริการโลจิสติกส์ไทยต้องเร่งประเมินศักยภาพขององค์กรและแสวงหาแนวทางพัฒนาธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ท่ามกลางความความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายของโลกการค้ายุคเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เป็นทั้งโอกาสทองฝังเพชรและภัยคุกคาม  แล้วผู้ประกอบการไทยจะหันหัวเรือองค์กรในทิศทางไหน การวางกลยุทธ์การตลาด หรือจะใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีอย่างไร การปลุกพลังทรัพยากรบุคคลในมิติไหน จึงจะก้าวทันเทรนด์การค้าโลกและนำพาองค์กรพุ่งชนความสำเร็จได้? โลจิสติกส์4.0 ความท้าทายก้าวสำคัญ นายนพพร เทพสิทธา ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และคณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม สะท้อนมุมมองถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงด้านการค้า...

ผ่าแผนธุรกิจโลจิสติกส์ SCG พุ่งชนเป้า ‘หนึ่ง’ในธุรกิจหลัก

ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจโลจิสติกส์เมืองไทยทั้งรูปแบบ B2B B2C และ B2C นับวันยิ่งเพิ่มพูนอัตราการแข่งขันดุเดือดเลือดพล่านขึ้นทุกปี เหตุมีผู้เล่นในสนามหนาหน้าและมีมูลค่าตลาดรวมกันมากกว่าล้านล้านบาท โดยเฉพาะธุรกิจรูปแบบ B2B ที่มีมูลค่ามากกว่าล้านล้านบาท แบ่งเป็นการขนส่งของผู้ผลิตสินค้าเองน้อยกว่า 50% ของตลาดและธุรกิจรับขนส่งรูปแบบ เอาท์ซอร์ซ เช่น เอสซีจี เอสเพรส, นิ่ม ซี่ เส็ง และอื่นๆ มากกว่า 50% ขณะที่ธุรกิจโลจิสติกส์รายย่อยแบบ...

“อ้วนคอนเทนเนอร์” เทใจเลือก ‘หัวลากสแกนเนีย’ สร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน!

ท่ามกลางธุรกิจขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์เมืองไทยที่ถูกจัดเป็น “ธุรกิจเนื้อหอม” อันดับต้นๆ ที่สำคัญธุรกิจนี้นับวันยิ่งแข่งขันดุเดือดเข้มข้นขึ้นทุกปี ผู้ประกอบการรายไหนไม่เก่งและแกร่งจริงอีกทั้งยังไม่เก๋าเกมพอเตรียมม้วนเสื่อกลับบ้านได้เลย เพราะวงการนี้ล้วนอุดมด้วย "เสือ สิงห์ กระทิง แรด" ขณะที่องค์ประกอบอันจะนำพาธุรกิจนี้พุ่งชนความสำเร็จได้นั้น "รถบรรทุก"ที่บรรทุกสินค้าจากต้นทางยันปลายทางอย่างปลอดภัย ถือเป็นองค์ประกอบเอกอุที่ผู้ประกอบการขนส่งไม่อาจปฏิเสธได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการทุกรายจึงให้ความสำคัญกับการเลือกเฟ้นรถบรรทุกที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจขนส่งให้มากที่สุด! เช่นเดียวกับ“อ้วนคอนเทนเนอร์”บริษัทขนส่งสายพันธุ์ไทยที่มาแรงแซงทุกโค้งขนส่งในเวลานี้ หลังสร้างปรากฏการณ์เขย่าวงการขนส่งสินค้าด้วยการเหมาเข่งรถหัวลากแบรนด์พรีเมี่ยมยุโปรอย่าง “สแกนเนีย” รุ่น P360 มากถึง 32 คันรวด พร้อมต่อหางยกดัมพ์ขนาดความยาว 7 เมตรจากค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง...