ถามไถ่กันมามาก ถามไถ่กันมานาน….
กับตลาดรถยนต์ไฟฟ้า BEV ในบ้านเราจะ“บิ๊กบึ้ม” ขึ้นมาทดแทนตลาดรถยนต์ ที่วิ่งเกลื่อนบนท้องถนนในวันนี้หรือไม่ ? บริษัทผู้ผลิตรถยนต์น้อยใหญ่ต่างพากัน ตีปี๊บความสำเร็จในการพัฒนา รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าหรือ“ปลั๊กอิน” กันขนานใหญ่
ฟากฝั่งรัฐบาลก็ตีปี๊บนโยบายสนับสนุน รถยนต์ไฟฟ้าออกมาเป็นระลอกคลื่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การ ไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ที่จับมือกับบริษัทเอกชน บริษัทพลังงานบริสุทธิ์(EA) เตรียมผุดสถานีชาร์จไฟฟ้า กันเป็นล่ำเป็นสันนับพันแห่งกันเลยทีเดียว
หลายฝ่ายจึงพากันคาดการณ์กันไปไกล อนาคตอันใกล้รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้า มาทดแทนตลาดรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน อย่างแน่นอน มีการคาดการณ์กันไปถึงอนาคตของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องสถานีบริการน้ำมัน แก๊ส หรืออู่ซ่อมรถยนต์ทั้งหลายแหล่อนาคตคงได้อัสดงกัน!
อย่างไรก็ตาม หากย้อนดูตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของโลกในวันนี้ จะเห็นได้ว่า หาได้มียอดขายทะลักล้นดังที่หลายฝ่ายคาดกัน อย่างที่สหรัฐอเมริกาตลาดรถยนต์ BEV มียอดขายแค่ปีละ 85,000 คัน จากตลาดรถบนต์รวมกว่า 17.5 ล้านคัน /ปี หรือ0.5% ที่ญี่ปุ่นมียอดขายรวมนับแต่มีการเปิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้านี้แค่ 80,000 คัน เท่านั้น ทั้งที่มีสถานีชาร์จไฟฟ้ากว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ
ส่วนจีนนั้นแม้จะมียอดขายรถยนต์ประเภทนี้ทะลักล้นแบบกัาวกระโดด แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะรัฐบังคับให้เมืองใหญ่ๆ ต้องมีรถยนต์ไฟฟ้า 10% ในปีหน้า เพราะเมืองใหญ่ๆ ในจีนนั้นต่างเผชิญปัญหามลพิษอย่างหนัก หลายประเทศอย่างNorways มีโรงไฟฟ้าพลังนำ้จากหิมะละลายเหลือเฟือ ฝร่ังเศสนั้นได้ชื่อว่ามี โรงไฟฟ้านิิวเคลยร์มากที่สุดในยุโรปถิอเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่สามารรถป้อนไฟฟ้าให้แก่สถานีชาร์จไฟฟ้าได้อย่างเหลือเฟือ
ขณะที่บ้านเรานั้น ก่อนจะไปถึงรถยนต์ไฟฟ้า ลองหันมาดูพฤติกรรม การใช้รถยนต์ในบ้านเราจะเห็นได้ว่าแค่รถยนต์พลังงาน NGV ที่ต้องรอเติมก๊าซกัน 7-10นาที/คัน ต้องไปต่อแถวยาวเหยียวเป็นกิโลผู้คน ยังบ่นอุบจนตลาดไม่ขยับ หากต้องมา มาเจอกับการชาร์ตแบตเตอรีกันที 8-12 ชม.ต้ งนอนรอชาร์จแบต กันข้ามคืนเพื่อให้รถว่ิงไปได้แค่ 150-200 กิโลแล้ว ตลาดคงเกิดได้ยากแน่!
กูรูด้านรถยนต์ฝากข้อคิดถึงข้อจำกัดของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งประกอบ ด้วย
1) แบตเตอร์รี่ Battery ที่มีราคาเฉลี่ยคิดเป็นสัดส่วน 40% ของราคารถ และมีน้ำหนักมากราว 40% ของน้ำหนักตัวรถเช่นกัน
2) ระยะเวลาการชาร์จไฟ(Charging time)ที่โดยปกตินั้น รถยนต์ไฟฟ้าจะใช้เวลาในการชาต์จไฟแต่ละครั้ง 8-12 ชม. หากใช้ไฟ AC ที่บ้านก็ ต้องเพิ่มขนาดสายไฟ และ มิเตอร์ให้ใหญ่ขึ้น 2-3 เท่า เพราะเท่ากับเปิดแอร์ 6-8 เครื่องพร้อมกัน ส่วนที่ว่าสามารถชาร์จไฟเร็ว(Quick charge ) 30 นาทีได้ นั้นจะต้องติดตั้งเครื่องชาร์จ Charge DC ขนาดใหญ่ราคาประมาณ 2 ล้านบาทซึ่ง แพงพอๆกับราคารถ และต้องใช้กับไฟ AC 3 เฟสถึงจะทำได้
3) การชาร์จไฟแต่ละครั้งจะวิ่งได้ ประมาณ 150-200 กม.
4) สถานีชาร์จแบตที่เป็น Public charging Staion นั้น มีอัตรากำไรหรือ Margin น้อยมาก เช่น รถยนต์ BEV รุ่นล่าสุดที่ชาร์จไฟเต็มประมาณ 80 บาทนั้น ต่อให้มีอัตราส่วนกำไร 10% ก็ตกแค่ 8 บาทต่อการใช้ไฟต่อครั้งแต่ต้องเสียพื้นที่ เสีย Space จอดรถนาน
5) ยังมีประเด็นที่เป็นข้อจำกัดเชิงนโยบาย (Country issue ) ก็คือราคาน้ำมันที่ ขายตามสถานีบริการน้ำมันนั้น ทุกลิตรที่ขายออกไปจากหัวจ่ายแฝงไว้ด้วยภาษี 3-5บาท/ลิตร แต่หากเปลี่ยนมาเป็นสถานีชาร์จแบตเดอร์รี่แล้ว ค่าไฟฟ้าไม่มีการ เรียกเก็บภาษีส่วนนี้ ผลกระทบที่จะมีตามมาจึงเป็นเรื่องของ รายได้รัฐที่ต้อง หดหายไปในทันที
6)เหนือสิ่งอื่นใดกับท้องถนนในไทย ที่จอดรถอยู่ดีๆ มีน้ำท่วมรอการระบายเิาได้ทุกเมื่อนั่น รถยนต์ไฟฟ้าหากต้องเผชิญกับน้ำท่วมขังรอการระบายบนท้องงถนนในบ้านเราแล้วจะรับมือได้แค่ไหน ยังเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตเองคงยังไม่น่าจะมีคำตอบให้ แต่ที่แน่ๆหากจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกละเป็นแสนทุก 3-5 ปี ตลาดรถยนต์ดังกล่าวคงเกิดได้อยู่หรอก!
อ่านมาถึงจุดนี้ คงพอจะจะ”อิมเมจิ้น”ถึงอนาคตรถไฟฟ้าในบ้านเราได้ ยังไม่น่าจะเป็นคำตอบในระยะ 5-10ปีจากนี้แน่ หากยังไม่สามารถเคลียร์หน้าเสื่อคำถามข้างต้นเหล่านี้!!!
เนตรทิพย์