“ ไบโอดีเซล ” จากปาล์มประกอบอาหารเปลี่ยนไปสู่พลังงานเชื้อเพลิงเครื่องยนต์แก๊สโซฮอล์ – ไบโอดีเซล ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลเดช ทรงเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์ โดยทรงคิดค้นจัดทำ โครงการ “ผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอ แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ” ผ่าวิกฤตพลังงาน ขาดดุลการค้าจากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ
ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ พระองค์ทรงมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมาย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) หรือ Office of the Royal Development Projects Board เปิดเผยว่า โครงการพระรชดำริเริ่มตั้งแต่ปี 2495–2556 จำนวนกว่า 4,000 โครงการ ซึ่งกระจายออกไปทั่วทุกภาคของประเทศ ทุกๆโครงการล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติโดยรวม
เช่นเดียวกับ โครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งจัดเป็นอีก 1 โครงการที่เกิดประโยชน์ทั้งการลดต้นทุน ลดการพึ่งพาพลังงานนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ หากย้อนหลังเมื่อปี 2522 โครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม เป็นพระราชดำริของพระองค์ด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ ดีเซลนั้น การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ “ การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ”
ในปี 2522 ขณะนั้นมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของสภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ซึ่งส่วนใหญ่ที่ใช้กันคือ น้ำมันปิโตรเลียม มีเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรทางธรรมชาติมีอยู่จำกัด เราจึงต้องแสวงหาแหล่งเชื้อเพลิงและพลังงานจากทรัพยากรแหล่งใหม่ที่มีอยู่ เพื่อทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม พระบอค์ทรงมีพระราชดำริให้ผลิตตพลังงานทดแทนจากพืชผลการเกษตร ซึ่งมีทั้งแก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล และพลังงานทดแทนอื่นๆ ซึ่งพระองค์ทรงเล็งเห็นและมีพระราชดำริให้เตรียมรับกับปัญหาค่ารถและน้ำมันแพงมาเป็นเวลานานแล้ว
ถวายรางวัล “ไบโอดีเซลสูตรสกัดน้ำมันปาล์ม”
การผลิตไบโอดีเซลเป็นการผลิตเชื้อเพลิงดีเซลจากทรัพยากรธรรมชาติหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่าย โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้ใกล้เคียงกับดีเซลจากปิโตรเลียมมากและสามารถใช้แทนกันได้ พระองค์มีพระราชดำริให้จัดทำโครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม และยังได้ให้ผู้แทนพระองค์ยื่นจดสิทธิบัตร “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล” และได้จดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2544 วิธีการผลิตไบโอดีเซล คือการนำน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ รว มทั้งน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหาร มผผสมกับเมทานอลหรือเอทานอล จะได้สารเอสเตอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก และในกระบวนการผลิตยังได้กลีเซอรอลเป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในปี 2546 ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก“โครงการน้ำมันไบโออดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม ” ในงาน “ บรัสเซลส์ ยูเรกา” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมทั้งนี้ปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูกสูงอีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ภายในประเทศซึ่งจะใช้ทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริให้นำพืชผลการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทยพึ่งตัวเองได้ในด้านพลังงาน รวมทั้งรองรับปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล รวมถึงพลังงานทดแทนอื่นๆ ตามแนวพระราชดำริในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และเชื้อเพลิงที่ผลิตได้ก็ใช้ในรถยนต์ทุกคันของโครงการส่วนพระองค์
ความเดือดร้อนจากวิกฤตด้านพลังงานเชื้อเพลิงที่ประสบอยู่นี้ พระองค์ ได้ทรงเล็งเห็นและมีพระราชดำริให้เตรียมรับกับปัญหามากว่า 40 ปีแล้ว ซึ่งอ้างจากหนังสือ “72 ปี แก้วขวัญ วัชโรทัย อดีดเลขาธิการพระราชวัง ว่าพระองค์ทรงมีรับสั่งตั้งแต่ พ.ศ.2504 ว่าค่ารถและน้ำมันจะแพง การพัฒนาแก๊สโซฮอล์เริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อพระองค์ทรงดำเนินตรวจเยี่ยมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาใน พ.ศ.2528 โดยทรงมีพระราชดำรัสให้ศึกษาการผลิตเอทานอลจากอ้อย เพราะอนาคตอาจเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันและราคาอ้อยตกต่ำ การแปรรูปอ้อยเป็นเอทานอลจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้อีกทาง
ทั้งนี้ ได้มีการปรับปรุงทั้งคุณภาพและกำลังการผลิตเอทานอลอย่างต่อเนื่อง โดยได้ปรับปรุงความบริสุทธิ์ของเอทานอลจาก 95% ให้มีความบริสุทธิ์ 99.5% และได้ทดลองผสมเอทานอลด้วยสัดส่วน 10% ในน้ำเบนซิน ซึ่งใช้ได้ผล และเมื่อวันที่ 16 พ.ค.2539 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันคือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้น้อมเกล้าฯ ถวายสถานีบริการแก๊สโซฮอล์เพื่อให้บริการแก่รถยนต์ที่ใช้ในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ส่วนโครงการไบโอดีเซลเพื่อนำน้ำมันพืชมาใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลก็เริ่มพร้อมๆ กับกา รพัฒนาแก๊สโซฮอล์ โดยใน พ.ศ.2528 พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จ.กระบี่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็ก ที่ศูนย์การศึกษาพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส
กระทั่งใน พ.ศ.2543 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการวิจัยและพัฒนา พร้อมทดลองใช้น้ำมันปาล์มกับเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเริ่มมีการทดลองใช้น้ำมันปาล์มกับเครื่องยนต์ดีเซลของกองงานส่วนพระองค์ ที่วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่เดือน ก.ย.2543 ทั้งนี้ การใชน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 100% ไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อเครื่องยนต์ดีเซลที่มีปั๊มและหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตงานละเอียด
นอกจากนี้ ยังมีโครงการตามพระราชดำริในเรื่องพลังงานทดแทนอื่นๆ อีก เช่น การผลิตดีโซฮอล์ซึ่งเป็นการผลิตเชื้อเพลิงจากการผสมเอทานอลกับน้ำมันดีเซล ผลการทดลองพบว่าสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ และลดควันดำถึง 50% หรือพระราชดำริให้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ทดลองผลิตแก๊สซีวภาพจากมูลโคนม ซึ่งได้ก๊าซมีเทนที่เป็นก๊าซติดไฟกว่า 50% และก๊าซอื่นๆ ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
บางจากฯ น้อมนำพระราชดำริ พลังงานทดแทน- พลังงานทางเลือก
ขณะที่ ในปี 2545 จากแนวพระราชดำริ ในการพัฒนาน้ำมันไบโอดีเซล บริษัทฯ บางจาก ในฐานะบริษัทน้ำมันของคนไทย ได้น้อมนำมาดำเนินการพัฒนาการผลิตและส่งเสริมใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาส่งเสริม เริ่มจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ในปี 2545 โดยการจำหน่ายจากผลิตภัณฑ์บางจากแก๊สโซฮอล์ 91/95 บางจากแก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 รวมไปถึงไบโอดีเซล
และในปี 2552 บริษัท บางจากฯ ได้ขยายโครงการโดยลงทุนจัดตั้งศูนย์ผลิตไบโอดีเซล ด้วยกำลังการผลิตเฉลี่ย 300,000 ลิตรต่อวัน โดยใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นวัตถุดิบหลัก และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยจากยุโรป มีการบริหารจัดการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ด้วยการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตที่ไม่ปล่อยน้ำทิ้งสู่สาธารณะ (Zero Liquid Discharge) เมื่อน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดตามขั้นตอนเคมีชีวะบำบัด จนได้คุณภาพตามมาตรฐานน้ำทิ้งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนจะถูกส่งไป Wet land หรือบึงประดิษฐ์ที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บและบำบัดด้วยวิถีธรรมชาติ
การดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลให้เป็นการสร้างแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ให้กับประเทศ หากมีการใช้น้ำมันไบโอดีเซลแทนการใช้น้ำมันดีเซลก็จะทำให้ช่วยลด CO2 อันเป็นสาเหตุหนึ่งของโลกร้อนในปัจจุบัน ช่วยเศรษฐกิจของประเทศในภาวะที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน ลดการขาดดุลการค้าจากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศเป็นทางเลือกในการช่วยแก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำให้แก่เกษตรกร โดยนำมาใช้เป็นนวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล จึงช่วยรักษาราคาผลผลิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง
โครงการตามพระราชดำริด้านพลังงานทดแทน แสดงให้เห็นสายพระเนตรอันยาวไกล เพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการพึ่งพาพลังงานนำเข้าพลังงาน.