ประธานสหพันธ์ฯร้องรัฐ “ปมติดตั้ง GPS” กระทบผู้ประกอบการ

0
156
ผลกระทบจากการติดตั้งระบบ GPS ในรถบรรทุก ซึ่งจะมีบทบังคับใช้ทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2562 เพื่อมุ่งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย และลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน 
ทั้งนี้ ดร.ทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า การติดตั้งGPS เป็นการบริการจัดการเพื่อลดต้นทุนเรื่องโลจิสติกส์ แต่ยังไม่ใช่การแก้ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุที่แท้จริง อีกทั้งการควบคุมพฤติกรรมพนักงานขับรถบรรทุกผ่าน GPS ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ อาทิ ปัญหาค่าปรับซ้ำซ้อนจากหลายหน่วยงานในคดีเดียวกัน ในวันหรือเส้นทางเดียวกัน เพราะสามารถออกใบสั่งได้จากหน้าจอ หรือข้อกำหนดที่บังคับใช้แล้วว่าให้ขับชั่วโมงพักครึ่งชั่วโมง แต่กลับไม่มีจุดพัก หรือ Park Terminal ที่เหมาะสมให้  จึงควรที่จะขยายเวลาออกไปจนกว่าทุกอย่างจะพร้อมมากกว่านี้
“การถูกยึดใบอนุญาตขับขี่เป็นระยะเวลานานตามใบสั่ง ทำให้พนักงานขับรถต้องหายไปจากระบบ เนื่องจากไม่มีใบขับขี่มาแสดงตัวตน เป็นการซ้ำเติมภาวะขาดแคลนพนักงานขับรถ ซึ่งปัจจุบันในระบบมีเพียง แสนคน ในขณะที่รถบรรทุกมีจำนวนสูงถึง ล้าน หมื่นคัน และกรณีขับรถขนส่งทางไกลระยะทางเกิน 600 กม.จะต้องมีพนักงานขับรถถึง คน รวมแล้วในธุรกิจขนส่งของไทยจะต้องมีพนักงานขับรถบรรทุก ล้าน แสนคน  เพราะการขับรถบรรทุกโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรือใช้ใบขับขี่ผิดประเภทนั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น เรื่องประกัน ทั้งนี้อยากให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมให้การสนับสนุนวิชาชีพพนักงานขับรถบรรทุกเพื่อจูงใจให้แรงงานเข้าสู่ระบบอย่างพอเพียง”
นอกจากนี้ การกำหนดมาตรฐานการระบายสารมลพิษสำหรับรถบรรทุกจากยูโร ก้าวกระโดดไปยูโร ตามโครงการของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเป้าหมายบังคับใช้ในปี พ.ศ.2567 ในมุมมองของสหพันธ์การขนส่งทางบกเห็นด้วยในวัตถุประสงค์ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดมลภาวะในประเทศ แต่ยังอยากให้พิจารณาตัวแปรด้านอื่นๆ ให้ครอบคลุมร่วมด้วย โดยเฉพาะปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะการปรับเปลี่ยนนวัตกรรมยานยนต์เพื่อลดมลพิษนั้น จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระบบเครื่องยนต์ที่บริษัทรถยนต์จะต้องเพิ่มฟังก์ชั่นหรืออุปกรณ์ส่วนควบต่างๆ เข้ามาทำให้ราคารถบรรทุกสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า แสนบาทต่อคัน ระบบพลังงานหรือน้ำมันดีเซลที่จะต้องกลั่นให้บริสุทธิ์มากขึ้น ระบบการซ่อมบำรุงที่ต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการดูแลเป็นพิเศษกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ต้องมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ซ่อมบำรุงให้พร้อมรองรับ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดเช่นเดียวกัน และทำให้ราคาสินค้าที่จะถึงมือผู้บริโภคราคาสูงขึ้น 
“อีกทั้งควรชั่งน้ำหนักเรื่องส่งผลกระทบต่อการค้าข้ามแดนด้วย  เพราะรถบรรทุกในประเทศเพื่อนบ้านของไทยยังใช้ยูโร 1-2 เมื่อการขนส่งสินค้ามาถึงชายแดนแต่เชื่อมโยงกันไม่ได้ โดนกักที่ด่านเพราะรถไม่ผ่านมาตรฐานมลพิษ อาจถูกมองว่าเป็นการกีดกันทางการค้า หรือการที่รถบรรทุกของไทยผ่านเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านก็จะประสบปัญหาไม่มีน้ำมันคุณภาพให้เติมอีกเช่นกัน สหพันธ์การขนส่งทางบกจึงเตรียมทำหนังสือเพื่อยื่นให้พิจารณาให้ยืดเวลาการบังคับใช้ออกไป  โดยขอให้ไปพักใช้ยูโร สัก 2-3 ปี แล้วค่อยพัฒนาไปยูโร และยูโร ตามลำดับ แบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีเวลาปรับตัว”