อธิบดี ทช.ห่วงใยประชาชนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมกำชับหน่วยงานในพื้นที่บรรเทาความเดือดร้อนประชาชนอย่างเร่งด่วน พร้อมรายงานผลการดำเนินงานมายัง ทช. เพื่อรับทราบสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่อย่างรวดเร็ว
นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ทำให้มีฝนตกต่อเนื่องหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก จึงได้สั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่รายงานถึงผลกระทบจากอุทกภัย รวมถึงการสัญจรของประชาชน พร้อมกับให้ดำเนินการติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนำเส้นทางเลี่ยง บริเวณสายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ เข้าช่วยเหลือประชาชนภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมรายงานผลการดำเนินงานมายัง ทช. เพื่อรับทราบสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่อย่างรวดเร็ว โดยสำนักบำรุงทาง ได้รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน (22 ส.ค. 67) เวลา 15.00 น. มีสายทางในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ จำนวน 16 สายทาง ดังนี้
สัญจรผ่านไม่ได้ 11 สายทาง ดังนี้
1. ถนนสาย ชร.4008 แยก ทล.1020 – บ้านศรีสะอาด อ.ขุนตาล, พญาเม็งราย จ.เชียงราย (กม.ที่ 4+100 – 4+150) น้ำท่วม 60 ซม.
2. ถนนสาย ชร.4012 แยก ทล1020 – บ้านหนองเสา อ.เทิง, พญาเม็งราย จ.เชียงราย (กม.ที่ 13+000 – 15+000) น้ำท่วม 50 ซม.
5. ถนนสาย นน.4020 แยก ทล.1168 – บ้านห้วยสอน อ.ภูเพียง, เวียงสา จ.น่าน (กม.ที่ 0+000 ถึง 9+000) น้ำท่วม 50 ซม.
4. ถนนสาย พย.4008 แยก ทล.1021 – บ้านจำไก่ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา (กม.ที่ 0+000 – 0+600) น้ำท่วม 50 ซม.
3. ถนนสาย พย.4017 แยก ทล.1251 – บ้านบุญเรือง อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา (กม.ที่ 0+500 – 1+000) น้ำท่วม 50 ซม.
5. ถนนสาย พร.3002 แยก ทล.102 – บ้านเด่นไผ่ อ.สอง จ.แพร่ (กม.ที่ 2+000 – 2+653) สะพานในสายทางขาด
6. ถนนสาย พร.3014 แยก ทล.103 – บ้านร่องถ่าน อ.สอง จ.แพร่ (กม.ที่ 0+920 – 1+195) น้ำท่วม 80 ซม.
7. สาย พย.016 สะพานร่วมใจ อ.ปง จ.พะเยา น้ำท่วม 50 ซม.
8. สาย นน.007 ดู่ใต้พัฒนา อ.เมือง จ.น่าน น้ำท่วม 50 ซม.
9. สาย พย.002 สะพานแม่น้ำยม อ.ปง จ.พะเยา น้ำท่วม 50 ซม.
10 สาย นน.021 สะพานหัวเวียงเหนือ – น้ำต้วนพัฒนา อ.ภูเพียง จ.น่าน น้ำท่วม 120 ซม.
สัญจรผ่านได้ 5 สายทาง ดังนี้
1. ถนนสาย ชร.4018 แยก ทล.1020 – บ้านเนิน 878 (พญาพิภักดิ์) อ.ขุนตาล จ.เชียงราย (กม.ที่ 2+000 – 5+500) ดินสไลด์
2. ถนนสาย นน.3023 แยก ทล.101 – บ้านกอก อ.เชียงกลาง จ.น่าน (กม.ที่ 8+500 – 15+050) ดินสไลด์
3. ถนนสาย พย.1019 แยก ทล.1 – บ้านห้วยบง อ.เมือง จ.พะเยา (กม.ที่ 6+400 – 6+450) ดินสไลด์
4. ถนนสาย พย.4020 แยก ทล.1148 – ภูลังกา อ.ปง จ.พะเยา (กม.ที่ 1+800 – 1+850) ดินสไลด์
5. ถนนสาย พย.4022 แยก ทล.1091 – บ้านดอนแก้ว อ.ปง จ.พะเยา (กม.ที่ 0+600 ถึง 0+800) ดินสไลด์
ทั้งนี้ ทช. ได้สั่งการให้สำนักงานทางหลวงชนบท และแขวงทางหลวงชนบทในสังกัด จัดเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนติดตามเฝ้าระวังถนนในโครงข่ายทางหลวงชนบทอย่างใกล้ชิด ซึ่งนอกจากจะให้เตรียมเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ ป้ายเตือน หลักนำทาง สะพานเบลีย์ และยานพาหนะแล้ว ยังได้กำชับให้เฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดเหตุดินสไลด์หรือคอสะพานชำรุดบนถนนทางหลวงชนบท พร้อมเน้นย้ำให้จัดชุดลาดตระเวนสำรวจพื้นที่เสี่ยงเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเส้นทางและเข้าดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุ เป็นการอำนวยความสะดวกปลอดภัยให้กับผู้ใช้เส้นทาง ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่ยังมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการแจ้งเหตุอุทกภัยหรือขอความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่แขวงทางหลวงชนบททุกจังหวัด หรือสายด่วน ทช. โทร. 1146