คมนาคมตื่นจากภวังค์ เร่งอุดช่องโหว่ “ตั๋วเครื่องบินแพง”

0
60

สำนักงานการบินพลเรือนฯ ตื่นสั่งแก้ปัญหาตั๋วเครื่องบินแพง หลังนายกรัฐมนตรีสั่งแก้ปัญหาแบบครบวงจร ทำได้แค่กำหนดแผนระยะสั้น – ระยะยาว แนะผู้โดยสารจองตั๋วก่อนการเดินทาง แถมออกโรงช่วยไม่ได้ รัฐอาจใช้นโยบายอุดหนุน

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม รักษาราชการ แทน รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้เร่งกระทรวงคมนาคม โดย สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.)เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีราคาตั๋วโดยสารเครื่องบินปรับตัวสูง ทำให้ประชาชนที่เดินทางและท่องเที่ยวได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นเพื่อลดปัญหาจากช่องว่างระหว่างปริมาณ ความต้องการเดินทางกับความสามารถในการรองรับของระบบการบินที่แตกต่างกันอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งทาง กพท.ได้สรุปว่าที่ราคาค่าโดยสารแพงส่วนมากจะเป็นราคาตั๋วในช่วงเทศกาล หากผู้โดยสารจะได้ราคาต่ำที่สุดเมื่อจองตั๋ว ล่วงหน้านาน ๆ และจะค่อย ๆ แพงขึ้นจนถึงราคาสูงสุดไม่เกินเพดานที่กําหนดเมื่อซื้อตั๋วกระชั้นชิด กับวันที่ต้องการเดินทาง

นอกจากนั้น กพท.ยังรายงานผลการวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการรองรับจนเป็น สาเหตุสําคัญที่ทําให้ตั๋วโดยสารเครื่องบินมีราคาสูงในปัจจุบัน จะประกอบด้วย 1. บริการภาคพื้น (Ground Handling) ที่สนามบินสุวรรณภูมิไม่เพียงพอ (มีเพียง 50%) ส่งผลให้ สายการบินไม่สามารถเข้ามาทําการบินได้ ทําให้จํานวนเที่ยวบินมีไม่พอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นจํานวนมาก ซึ่งแนวทางแก้ไขคือ ให้เพิ่มผู้ให้บริการภาคพื้น (Ground Handling) ให้เพียงพอ โดยการพิจารณาเสนอให้ ยกเลิกมติ ค.ร.ม.ที่กําหนดให้มีผู้ประกอบการเพียง 2 ราย หรือการแก้ไขมติฯ ให้สามารถเพิ่มผู้ประกอบการ ให้มีมากกว่า 2 รายได้ โดยให้ ทอท. อนุญาตให้สายการบินที่มีศักยภาพ (มีเที่ยวบินจํานวนมากพอ) รับผิดชอบ การบริการภาคพื้นด้วยตนเอง (Self Handling) ได้ในช่วงที่ยังมีผู้ให้บริการไม่เพียงพอและเร่งจัดหา ผู้ประกอบการมาดําเนินการชั่วคราวอย่างเร่งด่วน

  1. การบริหารจัดการตารางเวลาการบิน (Slot Allocation) ซึ่งแม้จะเป็นไปตามกติกาสากล แต่การที่ สายการบินที่ได้รับการจัดสรรตารางเวลาการบินทําการยกเลิกเที่ยวบินบางส่วนภายในเวลาที่กําหนด ซึ่งสายการบินมีสิทธิกระทําได้ แต่ส่งผลทําให้ไม่มีเที่ยวบินรองรับเพียงพอตารางเวลาที่ถูกจัดสรรไว้แล้ว ทําให้สายการบินอื่นไม่สามารถจองเข้ามาทําการบินได้ในเวลานั้น ๆ เมื่อยกเลิกจึงเหลือเที่ยวบินน้อย ซึ่งแนวทางแก้ไขคือ ควรเพิ่มมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจเชิงบวก (Positive Incentive Measure) ให้กับสายการบินที่คืนตารางเวลาทันทีที่ทราบว่าจะไม่ปฏิบัติการบินตามที่ได้รับการจัดสรร โดยไม่ต้องรอแจ้ง ในวันสุดท้ายที่กําหนดไว้ในกติกาหรือกระชั้นเกินไปเพื่อให้เพิ่มเที่ยวบินเข้ามาแทนที่ได้ทัน เนื่องจาก สายการบินที่จะเข้ามาทําการบินในช่วงเวลาที่ว่างนั้นจะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเช่นกัน

และ3. สายการบินมีอากาศยานไม่เพียงพอสําหรับการเพิ่มเที่ยวบินให้เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งแนวทางแก้ไข คือ ให้เร่งกระบวนการอนุมัติ อนุญาตให้สายการบินสามารถจัดหาอากาศยานเพิ่มเติม ให้รวดเร็วขึ้น และผ่อนปรนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สายการบินจัดหาอากาศยานมาใช้เพิ่มเติม ได้อย่างรวดเร็ว และ 4. ความคล่องตัวในการซ่อมบํารุงอากาศยาน การต้องนําอากาศยานไปซ่อมต่างประเทศ ทําให้ อากาศยานหายไปจากระบบ ไม่เพียงพอสําหรับการใช้งาน แนวทางแก้ไข ระยะยาว ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการลงทุนจัดตั้งศูนย์ซ่อม ที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ส่วนระยะสั้น พิจารณาให้สายการบินของไทยสามารถใช้ศูนย์ซ่อม ของการบินไทยซึ่งมีศักยภาพสูงได้ โดยการผ่อนปรนเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  1. ความต้องการเดินทางในเส้นทางบินที่มีสายการบินน้อยรายหรือรายเดียวทําการบิน เนื่องจาก ตลาดของสนามบินบางแห่งยังไม่เป็นที่นิยม มีความต้องการเดินทางต่ํา ทําให้สายการบินที่ทําการบินต้อง กําหนดอัตราตั๋วโดยสารไว้แพงเพื่อให้คุ้มค่าต้นทุน ยิ่งตั๋วแพงจํานวนผู้โดยสารก็ยิ่งน้อยลงไปตามกลไกตลาด แนวทางแก้ไข ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่ไทยจะใช้นโยบายอุดหนุน (Subsidy Policy) สําหรับสายการบินที่ปฏิบัติการบินไปยังสนามบินที่ไม่ใช่ตลาดหลัก เช่น สนามบินในแหล่งท่องเที่ยว เมืองรอง สนามบินที่ยังไม่เป็นที่นิยม ฯลฯ ซึ่งเป็นนโยบายที่มีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกและประสบ ความสําเร็จ โดยการเปิดประมูลให้สายการบินเข้าแข่งขัน เพื่อกําหนดราคาตั๋วโดยสารที่ต่ําหรือจูงใจให้ ผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก โดยรัฐจ่ายเงินอุดหนุนส่วนต่างให้กับสายการบิน แม้รัฐจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่จะช่วยให้นโยบายส่งเสริมเมืองรองได้ผล เช่นเดียวกับอินเดียและหลาย ๆ ประเทศที่ได้ดําเนินการ และประสบความสำเร็จมาแล้วเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังช่วยให้มีการใช้สนามบินคุ้มค่าขึ้นอีกด้วย

“กพท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งรัดดําเนินการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการทําให้ราคาตั๋วโดยสารเครื่องบินปรับตัว ลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมมากขึ้น ทั้งในส่วนที่ได้ดําเนินการไปแล้วและอยู่ระหว่างดําเนินการ เช่น การทยอยอนุญาตให้สายการบินนําเข้าอากาศยานเพิ่มเติม การเร่งแก้ปัญหาการบริการภาคพื้นที่สนามบิน สุวรรณภูมิ รวมทั้งให้เร่งดําเนินการในแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามที่เสนอ นอกจากนั้น ยังให้ กพท. ติดตามตรวจสอบราคาค่าโดยสารภายในประเทศอย่างสม่ําเสมอ ขอความร่วมมือจากสายการบินให้ จัดจําหน่ายบัตรโดยสารในราคาที่เหมาะสม ตลอดจนการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชน ถึงวิธีการกําหนดราคาของสายการบินซึ่งเป็นหลักการทั่วไป ทั้งนี้ หากหลีกเลี่ยงการซื้อตั๋วโดยสารในระยะเวลา กระชั้นชิดได้ก็จะทําให้สามารถซื้อตั๋วได้ในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป”