“การบินไทย”เจรจาแบงก์ขอสินเชื่อใหม่ 2.5 หมื่นล้าน-ลั่นไม่กลับเป็นรัฐวิสาหกิจ

0
83

“การบินไทย”เจรจาภาคเอกชนขอสินเชื่อใหม่ 2.5 หมื่นล้านบาท หยิบยก 4 เหตุผลเพื่อเสริมสภาพคล่อง คาดต้นปี 65 ได้ข้อสรุป พร้อมอ้อนรัฐบาลช่วยอัดเงินอีก 2.5 หมื่นล้านบาท เข้ามาเสริม เหตุจากการบินไทยจะได้เข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง ยืนยันแม้ถมเงินการบินไทยจะยังคงเป็นเอกชน เนื่องจากสัดส่วนผู้ถือหุ้นของรัฐจะไม่เกิน 40%

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย  ในภาพรวมระยะเวลากว่า 1 ปี ว่า ในปี 65 การบินไทยยังยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินจำนวน 25,000 ล้านบาท จากภาคเอกชนเพื่อมาเสริมสภาพคล่องและใช้จ่ายบริหารงานทำธุรกิจในปี 65 ซึ่งคาดว่าเงินจำนวนดังกล่าวจะมากพอที่จะทำให้การบินเดินหน้าต่อไปได้อย่างแข็งแรง โดยเงินจำนวนดังกล่าวจะเข้ามาในช่วงต้นเดือน ม.ค.-ก.พ. 65

ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวจะมาบริหารจัดการจ่ายคืนค่าตั๋วโดยสารของลูกค้าจำนวน 12,000 ล้านบาท ,ค่าชดเชยให้พนักงานการบินไทยในการเข้าร่วมสมัครใจลาออกจำนวน 4,000 ล้านบาท และค่าเช่าเครื่องบินอีก 2,800 ล้านบาท และเป็นค่าบริหารจัดการทั่วไป อย่างไรก็ตามนอกจากเงินกู้ 25,000 ล้านบาท แล้ว การบินไทยยังต้องการเงินสินเชื่อใหม่จากรัฐบาลวงเงิน 25,000 ล้านบาทด้วย เพื่อที่จะทำให้การบินไทยกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้งบดุลทางบัญชีในปี 65 ดูสวยงามไม่ติดลบ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะใส่เงินเข้ามาฐานะการบินไทยจะยังเป็นเอกชนไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ เนื่องจากสัดส่วนผู้ถือหุ้นของรัฐจะไม่เกิน 40%

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ภาครัฐควรที่จะกลับมาปล่อยสินเชื่อให้การบินไทยนั้นจะมี 4 ประเด็นหลักที่จะได้รับประโยชน์ คือ 1.แนวโน้มการทำธุรกิจของการบินไทยหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด การบินไทยจะกลับมาทำกำไรแน่นอน 2.สภาพคล่องการบินไทยจะดีขึ้นภายหลังมีการกู้เงิน 25,000 ล้านบาท 3. การบินไทยมีหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันได้ โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ และ 4.หากเจ้าหนี้การบินไทยให้การบินไทยกู้ เจ้าหนี้จะมีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคา 2.54บาทต่อหุ้น ขณะที่ราคาพาร์อยู่ที่ 10 บาทต่อหุ้น ซึ่งทำให้เห็นว่าเมื่อสถานการณ์การบินดีขึ้น การบินไทยกลับมาทำการบินอย่างเต็มรูปแบบจะมีกำไรอย่างแน่นอน

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของความคืบหน้าการทำแผนฟื้นฟูการบินไทยในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย การปรับโครงสร้างและขนาดองค์กร และเพิ่มการหารายได้ว่า ลดค่าใช้จ่ายได้เป็นมูลค่า 44,800 ล้านบาทต่อปี ประกอบด้วยลดค่าใช้จ่ายทั้งด้านบุคลากรลง 16,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนด้านประสิทธิภาพฝูงบินและการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลงกว่า 12,000 ล้านบาทต่อปี รวมถึงได้มีการเจรจาปรับปรุงสัญญาเช่าเครื่องบินและซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ 11,300 ล้านบาท เป็นต้น

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ปรับโครงสร้าง ลดขนาดองค์กร ปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างและโครงสร้างค่าตอบแทนบุคลากร โครงการลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือน (Leave without Pay) รวมถึงโครงการร่วมใจจากองค์กร (Mutual Separation Plan) ซึ่งมีพนักงานที่เสียสละเข้าร่วมโครงการรวมกว่า 6,000 คน เมื่อเปรียบเทียบกับในปี 62 มีจำนวนบุคลากรรวมแรงงานภายนอกจำนวน 29,500 คน ปัจจุบันบริษัทฯ มีพนักงานทั้งสิ้น 14,900 คน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายบุคลากรลดลงจากเดือนละกว่า 2,600 ล้านบาทต่อเดือน เหลือกว่า 600 ล้านบาทต่อเดือน จำนวนผู้บริหารทุกระดับลดลงในสัดส่วน 35 % ส่งผลให้ประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการทำงานสูงขึ้น จากจำนวนพนัก งานที่ลดลง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยกเลิกและปรับลดสิทธิประโยชน์ของผู้บริหารและพนักงาน อาทิ ยกเลิกสิทธิบัตรโดยสารกรรมการบริษัทฯ และพนักงานเกษียณ การจ่ายภาษี สิทธิการปรับชั้นโดยสาร (Upgrade) พนักงาน ค่าพาหนะผู้บริหาร ค่ารักษาพยาบาล โดยปรับให้เป็นไปตามสิทธิประกันสังคม เงินชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ใช้ไม่หมดภายในระยะเวลาที่ระเบียบฯ กำหนด (Vacation Compensation) ปรับเปลี่ยนโครงสร้างค่าตอบแทนรวมถึงหลักเกณฑ์การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลา ลดสิทธิบัตรโดยสารพนักงาน เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนปลดระวางเครื่องบินที่มีอายุการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงสูงเพื่อจำหน่ายจำนวน 42 ลำ ซึ่งสามารถขายได้ถึง 8,000 ล้านบาท นอกจากนั้นยังยกเลิกสัญญาเช่าและเช่าซื้อจำนวน 16 ลำ จะทำให้บริษัทฯ มีฝูงบินรวม เหลือ 58 ลำ ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนด้านการบริหารฝูงบินและค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึงปีละ 12,000 ล้านบาท นอกจากนั้นในส่วนของเครื่องบินที่ปลดระวางและจำหน่ายไป 11 ลำนั้น ล่าสุดทางการบินไทยได้ส่งรายละเอียดเพื่อขออนุมัติจากกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา …