กรมทางหลวง(ทล.)รายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวง13 ต.ค. 64 พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ 11 จังหวัด ทางหลวงที่มีระดับน้ำสูง 6 สายทาง การจราจรผ่านไม่ได้ 20 แห่ง พร้อมรับมืออุทกภัย 24 ชม. เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย-ซ่อมแซมฟื้นฟูเส้นทางเพื่ออำนวยความสะดวกปลอดภัยให้กับประชาชนโดยเร็วตามนโยบาย รมว.คมนาคม
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีความห่วงใยต่อประชาชนเนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนภัยที่อาจได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนกำลังแรง“คมปาซุ” โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากจึงมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนป้องกันสาธารณภัยอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้ทันท่วงที และประชาสัมพันธ์การดำเนินการให้ประชาชนรับทราบและให้หน่วยงานรายงานผลการดำเนินงานมายังกระทรวงฯ รับทราบทุกวัน พร้อมกำชับให้เร่งสำรวจเส้นทางการคมนาคม ที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยและแก้ไขซ่อมแซมฟื้นฟูโดยเร็วเมื่อสถานการณ์อุทกภัยมีความคลี่คลายเพื่อให้เส้นทางการคมนาคมกลับมาใช้งานได้ปกติโดยเร็ว
กรมทางหลวงรับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมปฏิบัติตามแผนป้องกันสาธารณภัยอย่างเคร่งครัดและติดตามข้อมูลปริมาณและทิศทางน้ำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบเส้นทางการสัญจรที่จะได้รับผลกระทบ รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานและการบริหารจัดการ จัดหาเส้นทางเลี่ยงและประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนทราบล่วงหน้า และจัดเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนด้านการจราจรบน พร้อมตั้งจุดให้บริการประชาชน จัดเจ้าหน้าที่ รถ Mobile Service และรถบรรทุกช่วยเหลือประชาชน แจกถุงยังชีพและช่วยทำความสะอาดบ้านเรือนและสนับสนุนเครื่องมือเครื่องจักร ยานพาหนะ กรณีมีการร้องขอจากหน่วยงานอื่นๆ หรือประชาชนเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชน
สำหรับสถานการณ์ประจำวันที่ 13 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน 11 จังหวัด ( 27 สายทาง 57 แห่ง) โดยทางหลวงในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ 1) จ.ขอนแก่น 2) จ.มหาสารคาม 3) จ.เลย 4) จ.นนทบุรี 5) จ.อ่างทอง 6) จ.พระนครศรีอยุธยา 7) จ.เพชรบูรณ์ 8) จ.สุพรรณบุรี 9) จ.ตราด 10) จ.จันทบุรี 11) จ.ปราจีนบุรี
โดยทางหลวงที่มีระดับน้ำสูง 6 สายทาง ได้แก่
◾ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ระดับน้ำสูง 240 ซม. ◾ ทล.213 มหาสารคาม-หนองขอน ระดับน้ำสูง 215 ซม. ◾ ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ระดับน้ำสูง 150 ซม. ◾ ทล. 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน ระดับน้ำสูง 175 ซม. ◾ ทล.340 สาลี-สุพรรณ ระดับน้ำสูง 130 ซม. ◾ ทล.3594 ท่าประดู่-ฉางเกลือ ช่วง กม.ที่ 18+490 ระดับน้ำสูง 120 ซม. ซึ่งมีการจราจรผ่านไม่ได้ 20 แห่ง ดังนี้
1. จ.ขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 4 แห่ง)
– ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ช่วง กม.ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 240 ซม.
– ทล. 12 ขอนแก่น – พรหมนิมิตร ช่วง กม.ที่ 565+600 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามลำน้ำพอง) ระดับน้ำสูง 30 ซม.
– ทล. 2065 พล – ลำชี ช่วง กม.ที่ 33+625 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์
– ทล. 2065 พล – ลำชี ช่วง กม.ที่ 33+785 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์
2. จ.มหาสารคาม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
– ทล.213 มหาสารคาม-หนองขอน ช่วง กม.5+530 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) ระดับน้ำสูง 215 ซม.ลำน้ำชีล้นตลิ่ง มีระดับน้ำสูงขึ้น ผนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ ทำการปิดทางลอดอุโมงค์ใต้สะพาน
3. จ.นนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
– ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้าแคราย)ช่วง กม.ที่ 16+950 ระดับน้ำสูง 25-30 ซม. ใช้จุดกลับรถต่างระดับใต้สะพานบางใหญ่ที่ กม.18+500 แทน
– ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 17+000 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้ากาญจนาภิเษก) ระดับน้ำสูง 25-30 ซม. ใช้จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางไผ่ที่ กม.16+600 แทน
– ทล.307 แยกสวนสมเด็จ-สะพานนนทบุรี ช่วง กม.ที่ 0+942 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ำสูง 75 ซม.
4. จ.อ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
– ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง 150 ซม.
– ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 33+200 (จุดกลับรถใต้ท่อ Box Cul.) ระดับน้ำสูง 90 ซม.
– ทล.33 นาคู-ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 36+000-36+200 (สี่แยกไฟแดงป่าโมก) ระดับน้ำสูง 20 ซม.
5.จ.พระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
– ทล. 347 บางกระสั้น – บางปะหัน ช่วง กม.ที่ 40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ระดับน้ำสูง 45 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล. 3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล. 3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
6 จ.สุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล. 33 สุพรรณบุรี – นาคู ช่วง กม.ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 80 ซม. ใช้ทางกลับรถ
ข้างหน้าแทน
– ทล. 340 สาลี – สุพรรณบุรี กม.ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 130 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
7. จ.ตราด (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
– ทล. 3494 ท่าประดู่ – ถางเกลือ ช่วง กม.ที่ 18+490 – 18+570 ระดับน้ำสูง 120 ซม. ทางเลี่ยงใช้ ทล.3494 ตอนท่าประดู่-ฉางเกลือ ที่ กม.15+503 เข้าสู่ถนนสายบ้านปากพัด-บ้านหัวสวน ออกที่ทางหลวงหมายเลข 3157 ตอน บ่อไร่-แหลมค้อ ที่ กม.71+853 ระยะทางประมาณ 10 กม.
8. จ.จันทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
– ทล. 3153 จันทบุรี – ท่าใหม่ ช่วง กม.ที่ 0+650-1+290 ระดับน้ำสูง 50 ซม. ทางเลี่ยงใช้เส้นทางท้องถิ่นแทน
– ทล.3493 เขาไร่ยา – แพร่งขาหยั่ง ช่วง กม.ที่ 6+375-7+500 ระดับน้ำสูง 50 ซม. ทางเลี่ยงใช้เส้นทางท้องถิ่นแทน
– ทล.3546 ท่าหลวง-ตลาดมะขาม ช่วง กม.ที่ 0+600-1+300 ระดับน้ำสูง 60 ซม. ทางเลี่ยงใช้ ทล.3277 ที่ กม.1+900 ไปออก ทล.317 ที่ กม.9+200 แทน
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1