ทล.ขานรับข้อสั่งการ รมว.คมนาคม เตรียมพร้อมรับมือพายุลูกใหม่ตามแผนบรรเทาสาธารณภัยเพื่อความปลอดภัยประชาชน อัพเดทสถานการณ์อุทกภัยวันนี้ (7 ต.ค.2564) เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ 9 จังหวัด 21 สายทาง การจราจรผ่านไม่ได้ 19 แห่งบางพื้นที่ยังมีปริมาณน้ำท่วมสูง
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือพายุดีเปรสชัน “ไลออนร็อก” ในช่วงนี้ โดยให้ติดตามการเตือนภัยของกรมอุตุนิยมวิทยาและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้ดำเนินการตามแผนป้องกันสาธารณภัยอย่างเคร่งครัด และมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงทีในการป้องกัน, การฟื้นฟู และการเยียวยาหลังสถานการณ์คลี่คลายในทุกมิติ นอกจากนี้ ให้รายงานผลการดำเนินงานมายังกระทรวงฯ รับทราบทุกวัน และให้ประชาสัมพันธ์การดำเนินการไปยังสื่อมวลชนและประชาชนให้รับทราบด้วยตามแผนปฏิบัติการเดิมที่ได้สั่งไว้ พร้อมกำชับให้บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ปลอดภัย
ทั้งนี้ จึงได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเตรียมความพร้อมทั้งบุคลากรและเครื่องจักรตลอดเวลา 24 ชั่วโมง และเมื่อเกิดภัยพิบัติให้เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุดรวมถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินให้ผู้บริหารในพื้นที่เข้าไปดำเนินแก้ไขปัญหาทันที และรายงานผู้บริหารในส่วนกลางจนกว่าเหตุการณ์จะยุติ และเมื่อเกิดเหตุทางขาด สะพานขาดหรือชำรุด ให้จัดเจ้าหน้าที่เครื่องจักรและสะพานเบลีย์ (สะพานเหล็กชั่วคราว) เข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาทันที พร้อมทั้ง ให้ทุกหน่วยงานติดตามเฝ้าระวังและรายงานข้อมูลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าระบบบริหารงานภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินของกรมทางหลวงอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะปกติ
สำหรับสถานการณ์ประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน 9 จังหวัด 21 สายทาง รวม 44 แห่ง การจราจรผ่านได้ 25 แห่ง ผ่านไม่ได้ 19 แห่ง
โดยทางหลวงในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 11 จังหวัด ได้แก่ 1) จ.ขอนแก่น 2) จ.นนทบุรี 3) จ.สระบุรี 4) จ.อ่างทอง 5) จ.ลพบุรี 6) จ.กำแพงเพชร 7) จ.พระนครศรีอยุธยา ? จ.สุพรรณบุรี 9) จ.นครสวรรค์ โดยทางหลวงที่มีระดับน้ำสูงได้แก่ ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ระดับน้ำสูง 280 ซม. – ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ระดับน้ำสูง 150 ซม. ทล.32 อ่างทอง-ไชโย ระดับน้ำสูง 130-150 ซม. และ ทล 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน ระดับน้ำสูง 175 ซม. โดยมีการการจราจรผ่านไม่ได้ 19 แห่ง ดังนี้
◾1. จ.ขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ช่วง กม.ที่ 329 +913 (จุดกลับรถใต้สะพานบ้านกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 280 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้
– ทล.2131 บ้านสะอาด-เหล่านางงาม ช่วง กม.ที่ 6+800 – 8+500 ด้านซ้ายทางและขวาทาง ระดับน้ำสูง 90-100 ซม. ใช้ทางเลี่ยงทางหลวงหมายเลข 2062 บ้านทุ่ม-บัญจาคีรี กม.0 ไปออกทางหลวงหมายเลข 12 บ้านฝาง-ขอนแก่น กม.540 เข้าเมืองขอนแก่น
◾2. จ.นนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 16+950 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกมุ่งหน้าแคราย) ระดับน้ำสูง 30ซม. ใช้จุดกลับรถต่างระดับบางใหญ่ที่ กม.18+500 ทดแทน
– ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 17+000 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกมุ่งหน้าถนนกาญจนาภิเษก ระดับน้ำสูง 30 ซม. ใช้จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางไผ่ที่ กม.16+600 ทดแทน
◾3. จ.อ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 5 แห่ง)
– ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง 150 ซม.
จุดกลับรถผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.33+200 จุดกลับรถใต้ท่อ Box Cul.(วัดค่าย) ระดับน้ำสูง 80 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล. 32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 39+843 (จุดกลับรถวัดดอกไม้) ระดับน้ำสูง 59-55 ซม.จุดกลับรถผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล.32 อ่างทอง-ไชโย ช่วง กม.ที่ 57+500 จุดกลับรถบางศาลา ระดับน้ำสูง 130-150 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล.33 นาคู-ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 36+000 – 36+400 (จุดกลับรถใต้สะพานฝั่งป่าโมก) ระดับน้ำสูง 40 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
◾4. จ.ลพบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล. 3019 สามแยกโคกกระเทียม-สถานีรถไฟโคกกระเทียม ช่วง กม.ที่ 1+750-กม.1+825 ระดับน้ำสูง 35 ซม.
ทางเลี่ยงใช้ทางท้องถิ่นแทน
– ทล.3024 บ้านหมี่-เขาช่องลม ช่วง กม.ที่ 5+600-กม.7+300 ระดับน้ำสูง 100 ซม. ทางเลี่ยงใช้ทางท้องถิ่นแทน
◾5. จ.กำแพงเพชร (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล.1117 ตอน คลองแม่ลาย-อุ้มผาง ช่วง กม.ที่ 89+100 ดินสไลด์
– ทล.1117 ตอน คลองแม่ลาย-อุ้มผาง ช่วง กม.ที่ 93+155 ดินสไลด์
◾6. จ.พระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
– ทล. 347 บางกระสั้น–บางปะหัน ช่วง กม.ที่ 40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ระดับน้ำสูง 50 ซม.การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
◾7. จ.สุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล. 33 สุพรรณบุรี – นาคู ช่วง กม.ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 70 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล. 340 สาลี – สุพรรณบุรี กม.ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 100 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
◾8. จ.นครสวรรค์ (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
– ทล. 1 บ้านหว้า – วังไผ่ ช่วง กม.ที่ 339+600 ใต้สะพานเดชาติวงศ์ ระดับน้ำสูง 80 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงเส้นทางที่คาดว่าจะเกิดความสุ่มเสี่ยง พร้อมขอให้ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1