“ศักดิ์สยาม”แจงงบฯคมนาคมปี65 โปร่งใสครบทุกมิติเพื่อประชาชน

0
145

วันที่ 2 มิถุนายน 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ว่า จากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับงบประมาณของกระทรวงคมนาคม เรื่องการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2565 ในส่วนของกระทรวงคมนาคม ในประเด็น ที่อภิปรายว่ากระทรวงคมนาคมได้งบลงทุนสูงสุด คิดเป็น 34.6 %จากงบลงทุน การตั้งงบประมาณดำเนินโครงการขนาดใหญ่มีความซ้ำซ้อน เช่นเส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา และทล. ทช. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. แบ่งความรับผิดชอบการดูแลถนน ได้มั่ว การกระจายของงบประมาณสำหรับการสร้างสนามบินปี 2565 ไม่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังได้ตอบข้อซักถามถึงความโปร่งใส การจัดซื้อจัดจ้าง โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ คือ

1.งบประมาณโครงสร้างการลงทุน เป็นงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานปีงบประมาณ 2565 มี 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นงบประมาณปกติ มี วงเงินงบประมาณ 221,611ล้านบาท และ เงินนอกงบประมาณ 256,434 ล้านบาท โดยเงินนอกงบประมาณ จะแบ่งเป็น 1. การใช้ ตามพ.ร.บ.รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน 2. การใช้งบเงินกู้ จากกระทรวงการคลัง 3.งบจากโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งงบประมาณที่ได้ดังกล่าวใช้ในการพัฒนาคมนาคม4 มิติ คือ 1.ระบบราง 240,000 ล้านบาท ซึ่งผูกพันไปอีก 3-4 ปี 2.ทางบก 190,000 ล้านบาท 3.ทางอากาศ 18,000 ล้านบาท 4.ทางน้ำ 6,000 ล้านบาท

2.การดำเนินโครงการพัฒนาเส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา มีทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และมอเตอร์เวย์ เนื่องจากถนนมิตรภาพมีการจราจรที่ติดขัด มีผู้ใช้รถใช้ถนนช่วงเวลาปกติกว่า 76,000 คัน/วัน ส่วนช่วงเทศกาล มากกว่า 110,000 คัน/วัน เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในเส้นทาง กรุงเทพฯนครราชสีมามีความจำเป็นมาก เพราะ1. บางปะอิน-นครราชสีมา เป็นเส้นทางสั้นที่สุดที่ออกสู่ภาคอีสานกว่า 20 จังหวัด รองรับการเดินทางของประชาชน 22 ล้านคน 2. กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นประตูสู่อีสาน 3.กรุงเทพฯ- นครราชสีมา เป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน 4.ข้อจำกัดของลักษณะกายภาพพื้นที่ ด้านทิศตะวันตกเป็นแนวเชื่อมและด้านตะวันออกเป็นแนวเขา

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายต่อกระทรวงคมนาคม ว่า หากมีการก่อสร้างขอให้พิจารณา Criteria ในการกำหนดแนวถนนตามข้อสั่งการ 5 เรื่อง ได้แก่ 1.ถนนแนวตรงทำให้การสัญจรสะดวก ลดปัญหาอุบัติเหตุ 2. ไม่ผ่านเข้าชุมชน ไม่ซ้ำแนวถนนเดิม 3. พัฒนาความเจริญเข้าสู่พื้นที่ใหม่ 4. สร้างชุมชนเมืองใหม่ 5 แยกการจราจรในเมืองใหม่ออกจากการเดินทางระหว่างเมือง กระทรวงคมนาคมจึงได้เนินการจัดทำ Master plan หรือเรียกว่า MR-MAP ซึ่งบูรณาการการก่อสร้าง รถไฟรางคู่ ร่วมก่อสร้างในพื้นที่แนวเดียวกับมอเตอร์เวย์ มี 9 เส้นทาง รวมระยะทาง 5,000 กม.ทั่วประเทศ แบ่งเป็น แนวเหนือใต้ (N-S) 3 เส้นทาง ระยะทาง 2,620 กม. ได้แก่ 1.เชียงราย-สงขลา 1,660 กม. 2.หนองคาย-แหลมฉบัง และ 3.บึงกาฬ-สุรินทร์ ขณะที่ แนวตะวันออก-ตะวันตก (E-W)  6. เส้นทาง ระยะทาง 2,380 กม.  ได้แก่ 1.ตาก-นครพนม 2.กาญจนบุรี-อุบลราชธานี 830 กม. 3.กาญจนบุรี-สระแก้ว 4.กาญจนบุรี-ตราด 220 กม. 5.ชุมพร-ระนอง และ 6.ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี หากการดำเนินตามแผน MR-MAP แล้วเสร็จ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และงบประมาณ ส่วนโครงการ Landbridge เป็นการขนส่งเชื่อมโยง 2 ฝั่งท่าเรือน้ำลึก ปัจจุบันโครงการอยู่ในขั้นตอน การคัดเลือกที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึก ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ขาดภายใน 1 ปีจะทราบผลการศึกษา

3. นับตั้งแต่อดีตโครงข่ายถนนและหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศไทย มีพื้นที่กว่า 702,346 กม.ทล. ทช. อปท.มีการแบ่งงานอย่างเป็นระบบอยู่แล้วอย่างชัดเจน

4.การกระจายของงบประมาณสำหรับการสร้างสนามบินปี 2565กระทรวงคมนาคมมุ่งเน้นการลงทุนในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนโดยเป็นงบลงทุนต่อเนื่องไม่ได้เป็นการลงทุนก่อสร้างสนามบินใหม่ เช่น ท่าอากาศยาน กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง บุรีรัมย์และขอนแก่น

สำหรับ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสาย บ้านไผ่ -มุกดาหาร-นครพนม ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้างได้ยึดหลักตามระเบียบ และกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตามกระบวนการ e-bidding ซึ่ง รฟท.ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ดำเนินการโดยกรมบัญชีกลาง เดิมราคากลางที่ครมอนุมัติ เมื่อ 31 กรกฎาคม 2561 แต่ปัจจุบันปี 2564 ต้นทุนราคาก่อสร้างได้ปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวได้มีการชี้แจง ทำความเข้าใจต่อสาธารณชน นักวิชาการ และผู้สื่อข่าวแล้วผ่านทาง Clubhouse เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา