Digital Transformation เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับทุกธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกายภาพมากที่สุดอย่างการเดินทางและการขนส่ง ซึ่งปัจจุบัน มีการนำ Digital มาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ด้วยความต้องการที่เปลี่ยนไป วิธีการและเครื่องมือที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป
ในวันนี้ เราจึงอยากชวนทุกท่านมาสำรวจแนวโน้มการเติบโตของภาคธุรกิจ Logistics และ Transportation ของไทย รวมถึงแนะนำโอกาสจากเครื่องมือ Digital ของคนไทยที่ช่วยให้ธุรกิจขนส่งเดินหน้าในเวลาที่ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่แพ้กับ 5G
ภาคขนส่ง อุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยที่กำลังต้องการ Digital Technology
รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของภาคขนส่งสูงเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาค โดยจากข้อมูลของ Agility Emerging Market Logistics เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 ระบุว่า Domestic Logistics ในไทยเติบโตอย่างมาก โดยตลาดของ Contract Logistics หรือการจัดการขนส่งในห่วงโซ่อุปทาน และ Domestic Express ไทยมีขนาดใหญ่กว่าเวียดนามถึง 2 เท่า นอกจากนี้ ไทยยังมีการขยายตัวของเขตเมืองซึ่งส่งผลให้ Digital Service อย่าง E-Commerce ขยายตัวขึ้นอีก โดยปัจจุบัน มีคนไทยที่เข้าสู่โลกออนไลน์แล้วมากถึง 59 ล้านคน ซึ่งทุกคนมีโอกาสใช้ Digital Service มากขึ้น
จากการเติบโตดังกล่าว สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการหนีไม่พ้นการจัดการที่ดีขึ้นโดยอาศัยการช่วยเหลือจากการใช้ Digital Technology เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการรถขนส่ง โดยหนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าสนใจในเวลานี้คือ Telematics Solution ที่ปัจจุบันได้รับการอัพเกรดด้วย Internet of Things และเครือข่าย 4G ที่แข็งแรงระดับประเทศ
Telematics Solution และ IoTs กับใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ
หลายคนที่อยู่ในธุรกิจขนส่งอาจคุ้นเคยกับวิธีการติดตามรถยนต์ผ่านเครือข่ายรูปแบบต่างๆ อันที่จริงแล้ว เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังวิธีการนี้เรียกว่า Telematics เป็นวิธีแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ถึงแม้ว่าความหมายแท้จริงจะกว้าง แต่ Telematics มักถูกเจาะจงไปที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ในยานพาหนะโดยเฉพาะ
เทคโนโลยี Telematics ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยมีใช้งานมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เพื่อระบุตำแหน่งของรถ เรือ หรือแม้แต่ตู้คอนเทนเนอร์ผ่านสัญญาณดาวเทียม ซึ่งปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีเครือข่ายและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้ Telematics มี Function การทำงานที่หลากหลายขึ้น เช่น รองรับการวัดระยะทาง การระบุตำแหน่งที่แม่นยำมากขึ้น ไปจนถึงเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในรถยนต์เพื่อเก็บข้อมูลหรือแม้แต่ควบคุมการทำงานของรถยนต์ได้
ด้วยความสามารถในการทำงานที่มากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจให้ความสนใจจะใช้งาน Telematics Solution กันมากขึ้น โดยจากข้อมูลของ Frost & Sullivan เมื่อปี 2020 ระบุถึงการใช้จ่ายในเทคโนโลยี Internet of Things พบว่ามีการลงทุนใช้จ่ายในอุตสาหกรรมขนส่งและการเดินทาง (Logistics and Transportation) ในสัดส่วนสูงถึง 33 เปอร์เซ็นต์ แน่นอนว่า Internet of Things เหล่านี้รวมถึงอุปกรณ์ Telematics Solution รวมอยู่ด้วย
ตัวอย่างการใช้งานทางธุรกิจของ Telematics Solution
เมื่อภาคธุรกิจให้ความสนใจลงทุนในเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เราก็ควรมาดูกันว่า ปัจจุบัน Telematics Solution สามารถพัฒนาไปเป็นการใช้งานในภาคธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างไรกันบ้าง
- ประกันภัยที่คำนวณตามการใช้งาน (Usage Base Insurance) เดิมที ราคาประกันภัยจะเป็นแบบเหมาจ่าย ซึ่งสำหรับคนที่ใช้รถยนต์น้อยแล้ว อาจจะไม่รู้สึกคุ้มค่าที่จะจ่ายในราคาเต็ม แต่ทั้งนี้ พวกเขาก็ยังอยากได้ความคุ้มครองในระดับที่ครอบคลุมเพื่อลดความยุ่งยากเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น เมื่อเทคโนโลยี Telematics สามารถตรวจสอบการใช้งานรถยนต์ในรูปแบบต่างๆ ได้มากขึ้น บริษัทประกันภัยจึงใช้ข้อมูลส่วนนี้ออกแบบประกันภัยที่คำนวณราคาตามการใช้งานจริงได้ ตอบโจทย์กลุ่มคนที่ใช้รถน้อยแต่ต้องการการคุ้มครองที่ครบครัน และบริษัทประกันที่สามารถคำนวณราคาและประเมินความเสี่ยงของผู้ใช้ได้แม่นยำขึ้น (ดูตัวอย่างการใช้งาน Usage Base Insurance ได้ที่ข่าวนี้)
- การดูแลรถเช่าหรือรถที่อยู่ในสัญญาเช่าซื้อ อีกกลุ่มหนึ่งที่ Telematics ช่วยปิดความเสี่ยงคือผู้ให้บริการรถเช่า และผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ทั้งการติดตามรถยนต์และการตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่ ช่วยป้องกันเหตุโจรกรรมรถยนต์ หรือการติดตามรถในกรณีละเมินสัญญาเช่าหรือเช่าซื้อได้ด้วย
- การจัดการรถภายในองค์กร (Car reservation management) สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีรถให้จัดการภายในหลักร้อยคัน Telematics Solution จะช่วยให้การทำระบบจัดการรถยนต์ในองค์กรเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งความสามารถในการติดตามเป็นรายพื้นที่ การตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ หรือแม้แต่การควบคุมการทำงานบางอย่างของรถเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พนักงานใช้รถได้ตามวัตถุประสงค์ของงานแล้ว ข้อมูลจาก Telematics Solution ยังช่วยให้องค์กรปรับปรุงการใช้งานรถให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อีกด้วย
รู้จัก AIS V2X ผสานจุดแข็งสู่ผู้นำบริการ Telematics for Business
หลายคนอาจคิดว่า Telematics Solution เป็นเทคโนโลยีที่อาศัยการพัฒนาโดยต่างชาติ แต่จริงๆ เทคโนโลยีนี้มีการพัฒนาในประเทศไทยและพร้อมให้บริการแล้ว โดย AIS ผู้นำด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีเล็งเห็นความสำคัญของภาคธุรกิจ Logistics ของไทยที่จะเติบโตขึ้น จับมือกับ V2X ผู้พัฒนานวัตกรรมชาวไทยเปิดตัว Telematics Solutions ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยนอกจากการเตรียมพร้อมด้าน Platform แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อย่าง V2X-2 ที่เปลี่ยนให้รถเกือบทุกรุ่นพร้อมใช้งาน Telematics ได้ทันที
Telematics Solutions จาก AIS V2X ถือเป็นมิติใหม่ของการใช้ยานยนต์ในไทย เพื่อคนไทยโดยเฉพาะ โดยนำเอาจุดแข็งด้านการเป็นผู้นำโครงข่าย 4G ที่แข็งแรงที่สุดในปัจจุบันของ AIS รวมเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านการสร้าง Solution ของ V2X มาสร้าง Platform ให้บริการด้าน Telematics ที่รองรับการสื่อสารไร้สายกับพาหนะได้อย่างไร้ข้อจำกัด อีกทั้ง Platform จะประมวลผล วิเคราะห์ และจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยเท่านั้น
นอกจากการเตรียมพร้อมด้าน Platform แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อย่าง V2X-2 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เปลี่ยนให้รถเกือบทุกรุ่นพร้อมใช้งาน Telematics ได้ทันที โดยอุปกรณ์ V2X-2 สามารถต่อพ่วงกับช่อง OBDII (On-Board Diagnostic 2) ช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์มาตรฐานอุตสาหกรรมที่อยู่ในรถยนต์ทั่วไป V2X-2 มาพร้อม GPS Tracking สำหรับระบุตำแหน่ง, G-Sensor แบบ 3 แกน สำหรับตรวจจับการเคลื่อนไหว, รองรับการเชื่อมต่อ 4G และสามารถให้ข้อมูลการทำงานของรถยนต์ได้ทั้งหมด
V2X-2 ติดตั้งง่ายเพียงแต่เสียบกับช่อง OBDII และเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน V2X บน Smartphone ก็สามารถติดตามค่าต่างๆ ได้ทันทีจากทุกที่ด้วยการเชื่อมต่อบนเครือข่าย 4G ที่เริ่มต้นเดือนละ 200 บาท โดย Feature การทำงานหลักของแอปฯ มีดังนี้
- บอกตำแหน่งพิกัดยานพาหนะแบบ Real Time รายงานเส้นทางการขับขี่และประวัติการเดินทางย้อนหลัง
- แจ้งความผิดปกติของเครื่องยนต์ แสดงระดับแบตเตอรี่ และปริมาณการใช้น้ำมัน
- แจ้งเตือนการใช้งานและด้านความปลอดภัย เช่น แจ้งเตือนเมื่อรถติดเครื่อง รถกำลังเคลื่อนย้าย รถมีความเร็วเกินกำหนด ไปจนถึงรถออกนอกเส้นทาง หรือขอบเขตที่กำหนดแบบ Geo-Fence
- สร้างตารางแจ้งเตือนการบำรุงรักษา หรือดำเนินการทางเอกสาร เช่น ประกันภัย ทะเบียนรถ
- วิเคราะห์พฤติกรรมการขับขี่อย่างละเอียดพร้อมแสดงเป็นระดับคะแนนเพื่อเป็นดัชนีการปรับพฤติกรรมการขับขี่ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยอิงจากการควบคุมรถ การหยุดรถ และการเร่งความเร็วกะทันหัน
อุปกรณ์ V2X-2 เริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการบน AIS Online Storeตั้งแต่วันนี้ สามารถสั่งซื้อได้ที่http://store.ais.co.th และผ่าน AIS Shop ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป สำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการนำ Telematics ไปใช้ หรือสนใจ Business Solution ด้าน IoT อื่นๆ ของ AIS สามารถติดตามได้ที่ https://business.ais.co.th หรือขอข้อมูลโดยตรงจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแลองค์กรของท่าน