“ศักดิ์สยาม”เปิดงาน “MOT 2020 Move On Together คมนาคมเคียงข้างชาวใต้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤติ COVID-19” เร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมดันความเจริญสู่ภาคใต้ทั้งบก ราง น้ำ และอากาศ เชื่อมโยงรูปแบบใหม่ทั้งภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน มีความปลอดภัยสูงขึ้น และลดภาระในการลงทุนของภาครัฐในระยะยาว
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่ากระทรวงฯ เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการเดินหน้าทางเศรษฐกิจ มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลด้านการคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางราง ซึ่งตั้งแต่ที่เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ยึดหลักบริหารงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการไว้มาโดยตลอด พร้อมกับการผสมผสานเพิ่มเติมนโยบายที่เน้นสนองตอบความต้องการของประชาชนภายใต้สถานการณ์สังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางบก ได้เร่งรัดพัฒนาให้เกิดการเชื่อมโยงความเจริญสู่ภาคใต้ เพื่อให้สามารถสัญจรได้สะดวก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการขยายถนนพระรามที่ 2 และก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่ ขนาด 4 ช่องจราจร โดยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สามแยกวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ไปบรรจบทางหลวงหมายเลข 3510 ที่ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี ซึ่งเส้นทางนี้จะช่วยแบ่งเบาปริมาณการจราจร และเพิ่มความรวดเร็วและคล่องตัวในการเดินทางจากกรุงเทพฯ สู่ภาคใต้ พร้อมทั้งเร่งรัดโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ช่วงนครปฐม – ชะอำ และสายหาดใหญ่ – ชายแดนไทย/มาเลเซีย เชื่อมภาคกลางสู่ภาคใต้ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากเส้นทางดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
นโยบายด้านระบบคมนาคมทางน้ำ ได้เร่งพัฒนาท่าเทียบเรือขนาดใหญ่และท่าเทียบเรือน้ำลึก รวมทั้งโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge) โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสร้างความเจริญให้กับประเทศ และทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน
กระทรวงฯยังมีวิสัยทัศน์ที่จะพลิกโฉมการขนส่งระบบรางของไทย เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ และกระจายความเจริญสู่ภาคใต้ โดยการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ จำนวน 5 ช่วง ได้แก่ ช่วงนครปฐม – หัวหิน ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา และช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ รวมทั้งผลักดันเส้นทางรถไฟสายใหม่ 3 สาย ได้แก่ ช่วงชุมพร–ระนอง ช่วงสุราษฎร์ธานี – ท่านุ่น และช่วงสุราษฎร์ธานี – ดอนสัก
และในอนาคตยังมีแผนที่จะพัฒนาโครงข่ายร่วมกันระหว่างทางรถไฟกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองภายใต้กรอบแผนแม่บท MR-MAP (Motorways + Rails) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมในรูปแบบใหม่ที่จะเพิ่มความเชื่อมโยงภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน มีความปลอดภัยสูงขึ้น และลดภาระในการลงทุนของภาครัฐในระยะยาว
นโยบายด้านระบบคมนาคมทางน้ำ ได้เร่งพัฒนาท่าเทียบเรือขนาดใหญ่และท่าเทียบเรือน้ำลึก รวมทั้งโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge) โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสร้างความเจริญให้กับประเทศ และทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน
และท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่กำลังจะเปิดให้บริการภายในปีนี้คือ ท่าอากาศยานเบตงนอกจากการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมแล้ว กระทรวงฯ ยังคำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทาง โดยคิดค้นกันชนยางพาราครอบแบริเออร์คอนกรีต (RFB) และเสาหลักนำทางจากยางพารา (RGP) ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้ทาง ตลอดจนยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรสวนยาง โดยรับซื้อน้ำยางพาราโดยตรงจากเกษตรกร ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง