ควันหลงจากการจัดงานสัมมนา “ โอกาสและความท้าทายของไทยในการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทยและสหภาพยุโรป หรือ FTA ไทย – อียู เมื่อวันที่ 23 ก.ย.2562 ที่ผ่านมา ซึ่งภาครัฐได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน
ผู้แทนจากหอการค้าไทย ซึ่งเป็น 1 ในผู้เข้าร่วมงานสัมมนา มองว่า แม้เวียดนามได้ทำ FTA กับ อียู แล้ว และได้ประโยชน์ทางการค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ขณะที่ไทยยังอยู่ระหว่างการศึกษาก็ตาม แต่สินค้าไทยก็มีมาตรฐานได้รับความเชื่อถือจากอียูมากกว่า
ผลการรับฟังความคิดเห็นที่มีหลากหลาย และเห็นด้วยที่ไทยจะต้องเร่งฟื้นการเจราจา FTA ระหว่างไทยกับอียู ที่หยุดชะงักมานานกว่า 5 ปี หลังจากนี้ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งรัดฟื้นการเจรจา FTA เพราะเหตุผลกลใดหรือ
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ LOGISTICS TIME ว่า ภายหลังหยุดชะงักการเจราจา FTA ไทย-อียู 5 ปี การเริ่มต้นจำเป็นต้องทบทวนกันใหม่ การเปิดรับฟังความคิดเห็นมีการพูดถึงสินค้าส่งออกประเภทไหนไปยังอียูได้ดี และสินค้าตัวไหนถ้าเปิด FTA แล้วสามารถแข่งขันได้ รวมถึง ปัญหาอุปสรรคสินค้าที่เปิด FTA แล้วจะเข้ามาแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยถูกกระทบหรือไม่ สรุปผลการประชุมดังกล่าวพูดคุยกันอย่างกว้างขวาง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
“ ประเด็นแรกเริ่มต้นถึงความจำเป็นหรือไม่ เราต้องทำ FTA กับ อียู หากเริ่มต้นปี 2015 ไทยเราถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ก่อนหน้านี้ไทยได้ GSP จากทางอียู ซึ่งเป็นการให้เปล่าที่มอบให้ประเทศกำลังพัฒนาเป็นการให้แต้มต่อ แต่เมื่อถูกตัด GSP ได้รับกระทบตัวเลขส่งออกลดลงทันที ขณะนี้สินค่าเกษตรส่งออกลดลงไม่เท่ากับสมัยได้สิทธิ GSP เพราะว่าขณะนี้เราถูกมองว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงแล้ว ไม่ต้องช่วยเหลือ GSP แล้ว ดังนั้น สินค้าที่ส่งไปยังตลาดอียูตอนนี้ต้องเสียภาษีนำเข้าเต็มพิกัด
ตัวอย่าง สินค้าที่อุปสรรคในตลาดยุโรปในอดีตส่งออกเป็นจำนวนมาก เช่น สับปะรดกระป๋องเสียภาษีนำเข้าอียูอยู่ที่ 18.5 % ขณะที่ประเทศคู่แข่งเรา อินโดนีเซีย การส่งออกสับปะรดกระป๋อง เสียภาษี 15% ส่วนฟิลิปปินส์ ได้สิทธิ GSP Plus ส่งสับปะรดกระป๋องเสียภาษี 0%
FTA อียู-เวียดนาม แซงหน้าสินค้าไทย
“ แต้มต่อการแข่งขันทางการค้าเราลดลงเรื่อยๆ ประเทศเพื่อนบ้านเราขยับขึ้นมาเรื่อยๆ ภาษีแตกต่างกันถึง 10% โอกาสไทยจะแข่งขันทางการค้าตลาดอียูนั้นยากมากๆ ดังนั้น ทางออกมีวิธีเดียว นั่นคือ เจรจาให้อียูลดภาษีนำเข้ากับกลุ่มสินค้าไทย แต่อียูคงไม่ให้สิทธิ GSP กลับมาให้ไทยง่ายๆ การเจราจาจะเป็นลักษณะ FTA หรือแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันต่างฝ่ายต่างลดภาษีให้กันและกัน”
ประเด็นที่สอง ในขณะที่เรายังไม่ได้เริ่มเจราจาอย่างเป็นทางการ ประเทศเพื่อน สิงค์โปร เวียดนาม ก็เจราจาทำ FTA กับอียูแล้ว เวียดนามน่าจะลงนามเดือนตุลาคมนี้ แปลว่า 2 ประเทศนี้จะได้สิทธิ FTA ก่อนไทย เพราะเรายังไม่เริ่มอะไร ประเมินว่า สิงคโปร์ภายใน 5 ปีสินค้าส่งออกไปอียูภาษีเป็น 0% ส่วนเวียดนามภายใน 7 ปี ภาษีนำเข้าอียูเป็น 0% เช่นกัน
นั่นแปลว่า ถ้าเราไม่ได้เจราจา ภาษียังต้องเสียเหมือนเดิม ความแตกต่างเรื่องภาษี ถามว่า โอกาสการแข่งขันจะอยู่ตรงไหน แม้ว่าสินค้าไทยเรามีคุณภาพสูงกว่าเยอะก็ตาม ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย สินค้าคุณภาพต้องขายแพงกว่าเกือบ 20% ยิ่งภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โอกาสการแข่งขันทางการค้ากระทำได้ยากสุดสุด ดังนั้น เราคงต้องเดินหน้าเจราจา FTA ต่อในเชิงสินค้าส่งออกประเภทนี้ ขณะเดียวกัน สินค้าอาหารบางชนิดอาจจะได้รับกระทบด้านลบ เพราะอียูมีสิทธิส่งสินค้ากลับมาในประเทศไทยได้ นี่เป็นมาตรการหนึ่งที่มีการพุดคุยในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมา
จัดตั้งกองทุน FTA รองรับผลกระทบ
สำหรับมาตรการรับมือผลกระทบหากเจรจา FTA สำเร็จแล้ว เราก็มีการพูดถึงผลกระทบกันสินค้าในประเทศ ว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือรองรับผลกระทบกับสินค้าเหล่านั้นอย่างไร หรือว่าวิธีอะไรสามารถขายสินค้านั้นได้อยู่ หรือปรับเปลี่ยนไปทำอะไร มาตรการรองรับผลกระทบต้องมีกองทุน FTA ที่ผ่านมา การดำเนินงานจัดทำกองทุน FTA ยังไม่มีทำอะไรให้เป็นทางการ มีแต่เฉพาะต้องของบประมาณเป็นรายปีเท่านั้น หากปีไหนงบประมาณมีจำกัดอาจจะไม่มีงบประมาณสนับสนุนกองทุน FTA ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้น มาตรการรองรับผลกระทบจากการเปิด FTA ไทย อียู ต้องทำให้เกิดความชัดเจน และมีตัวช่วยจริง ทั้งยังอยู่ตลอดต่อเนื่อง
วิศิษฐ์ กล่าวต่ออีกว่า อย่างไรก็ตาม โลกยุดปัจจุบัน การซื้อ-ขาย สินค้าระหว่างกันจะมีวิธีกีดกันไม่ให้ประเทศตนเองเสียดุลการค้ากับประเทศคู่ค้า เพราะฉะนั้น ความยุติธรรมอยู่ที่การแลกเปลี่ยนอย่างนี้ FTA คือ การแลกเปลี่ยนซื้อ – ขายสินค้าระหว่างกันและกัน เราอยากนำสินค้าชนิดนี้เข้าไปขายยังตลาดประเทศนี้ แต่เราก็ต้องยอมให้ประเทศนั้นนำเข้าสินค้ามาขายกับประเทศเราเช่นกัน เช่นสินค้าหมวดอาหาร เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ซอสปรุงรส เครื่องปรุงรสต่าง ๆ กลุ่มสินค้าเหล่านี้สามารถทำตลาดได้ดีในกลุ่มประเทศอียู
นอกจากนี้ ยังมีผัก ผลไม้แปรรูป และกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง สุนัข แมว สินค้าไทยได้รับการยอมรับมากตลาดอียูเติบโตดีมาก สินค้าไทยยังมีโอกาสเติบโต ขณะทีสินค้าที่จะมานำประเทศไทย เช่น ประเภทผลิตภัณฑ์นม ซอสปรุงรส
ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าอียูยังพิจารณาสินค้าแต่ละประเทศอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการเกี่ยวกับมาตรฐานการเพาะปลูก GAP การบรรจุกล่อง GMP รวมถึง GI หรือ บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ถิ่นกำเนิด ต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์
สำหรับขั้นตอนการเจรจา FTA ไทย – อียู หลังจากนี้ ขั้นตอนต่อไป การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ยังอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นต่ออีก เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา นับเป็นเวทีแรก จากนี้กรมเจราจาการค้าระหว่างประเทศคงเปิดรับฟังความคิดไปยังภูมิภาคต่างๆ อีก เท่าที่ทราบกรมเจราจาจะให้ทันสิ้นปีนี้ เพราะล่าช้าออกไปไม่เป็นผลดีกับการส่งออกสินค้าไทยไปอียู โอกาสการเติบโตทางการค้าปัจจุบันสินค้าไทยส่งออกไปอียูอยู่ที่ 10% แต่ล่าสุดลดลงเหลืออยู่ที่ 9% ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจในอียูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ด้วย
นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญเกี่ยวกับกรณีแบรทซิท ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอังกฤษเป็นประเทศนำเข้าสินค้าลำดับต้นๆของอียู ดังนั้น การทำ FTA กับอียู ครั้งนี้ก็รอบคอบเพื่อประโยชน์ประเทศโดยรวมมากที่สุด เท่าที่ดูมีความจำเป็นต้องดำเนินการเรื่องนี้