สินค้าส่งอออกกลุ่มสินค้าทางการเกษตร นอกเหนือจากสินค้าหลักๆ แล้ว แต่ยังมี “แมลงชนิดต่างๆจัดเป็นสินค้าส่งออกสร้างรายได้ข้าประเทศอีกทางหนึ่งด้วย ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ชี้ช่องทางว่า ไทยมีโอกาสส่งออก “ แมลง ” และ “ผงโปรตีนจากแมลง ” โดยเจาะตลาดประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะเป็นเทรนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แมลงเป็นแหล่งโปรตีนขั้นดี เหนือนอกจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์
ถึงวันนี้ “แมลง” ได้กลายเป็นสินค้าโกอินเตอร์เป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการไทยในการเพิ่มยอดการส่งออกในเวทีการค้าโลก ล่าสุด การส่งออกแมลงไปตีตลาดโลกก้าวหน้าไปถึงไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศนิยมบริโภคเมนูแมลงไทยสู่เมนูสุดล้ำแค่ไหน
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปและรองประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแหงประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า แมลงที่กินสามารถรับประทานได้ และเป็นสินค้าส่งออกคือ “ จิ้งหรีด” จากนั้นก็มีเพิ่มขึ้นเป็นแมลง ” รถด่วน หรือ “หนอนไม้ไผ่” นอกจากนั้นมี ตั๊กแตน ดักแด้ ปลอก หนอนนก การบริโภคแมลงเท่ากับได้บริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์อื่น ที่สามารถทดแทนและต้นทุนการเลี้ยงต่ำกว่า ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีของ ธุรกิจแมลงไทย ที่สามารถส่งออกแมลงทอดกรอบหรือแมลงในรูปแบบการป่นเป็นแป้งเพื่อปรุงอาหารทั้งรูปแบบอาหารเสริม, เครื่องดื่มและอาหารอื่นๆ
“แมลงจะเป็นทางเลือกใหม่ มีราคาถูกและสามารถหาได้ง่ายตามท้องถิ่นในประเทศต่างๆ เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน และอื่นๆ จึงเป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรไทยจะสามารถส่งออกแมลงได้มากขึ้น โดยปัจจุบันทั่วโลกให้การยอมรับแมลงกินได้ของไทยประมาณเกือบ 20 ชนิด เช่น ดักแด้หนอนไหม หนอนไม้ไผ่ แมงดานา ตั๊กแตน แมลงกระชอน จิ้งโกร่ง และจิ้งหรีด โดยเฉพาะตั๊กแตนสามารถขอเครื่องหมายฮาลาลได้ด้วย
“ทั้งยังได้เตรียมหารือกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในการจัดทำ แผนส่งเสริมการส่งออกแมลงกินได้ไปยังตลาดต่างๆ ทั่วโลกแบบครบวงจร เพราะมั่นใจว่าในอนาคตแมลงกินได้จะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญและจะช่วยสร้างรายได้ที่ดีแก่เกษตรกรผู้เลี้ยง”
ทั้งนี้ ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการออกมาตรฐานการเพาะเลี้ยงแมลง (GAP) ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ที่จะตั้งฟาร์มในการเลี้ยงแมลงกินได้ อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนจะร่วมมือกับภาครัฐในการผลักดันการส่งออกแมลงกินได้อย่างเต็มที่ ล่าสุด ยังพบว่าผู้ประกอบการได้มีการพัฒนารสชาติของแมลงกินได้ในรูปแบบป่นเป็นแป้งเพื่อปรุงอาหาร เช่น รสต้มยำ, วาซาบิ, แป้งเค้ก, คุกกี้ และจิ้งหรีดเคลือบช็อกโกแลต เป็นต้น
นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปกล่าวอีกว่า ปัจจุบันกลุ่มประเทศแถบยุโรปมองว่า อนาคตประชากรจะล้นโลก อาหารโดยเฉพาะโปรตีนการจะเลี้ยงไก่ หมู วัว ก็อาจจะไม่เพียงพอสำหรับคนที่มีรายได้น้อย สิ่งที่จะมาทดแทนได้นั่นคือแมลงและทดแทนได้เร็วที่สุด เพราะระยะเวลาการเลี้ยง และพื้นที่ก็น้อย อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้การส่งออกแมลงมีหลากหลายรูปแบบ ถ้านำไปประกอบการอาหารการส่งออกดำเนินการ 2 รูปแบบ นั่นคือ การแช่งแข็งไปก่อน หลังจากนั้นจึงนำไปแปรรูป หรือวิธีการ “บดเป็นผง” หรือหากส่งออกไปทางยุโรปก็จะทำการ “อบ” เพราะไม่ชอบการ “ทอด” เนื่องจากผู้บริโภคชาวยุโรปอยากรับประทานแมลงแบบกรอบๆ เป็นอาหารรับทานเล่น
นอกจากนี้ ยังนำแมลงเป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง โดยนำแมลงที่เป็นผงก่อนแล้วนำไปผสมกับอาหารชนิดอื่น เพื่อให้มีคุณค่าทางโปรตีนเพียงพอ รวมทั้ง อาหารสำหรับคนส่วนผสมสำคัญก็จะใช้แมลงเป็นโปรตีน ทุกวันนี้เราจะเห็นสินค้าแมลงอบในร้านสะดวกซื้อต่างๆเป็นของรับประทานเล่น แม้ทุกวันนี้ราคาอาจจะแพง แต่ถ้ามีผู้บริโภคมากขึ้นอาจจะแพง แต่การที่ราคาแพงเกิดยังมีขบวนการผลิต
รายได้ปีละ 1 หมื่นล้านเติบ โตต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี ขณะที่เราขบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยทางสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตรแห่งชาติ (มกอช.) ได้ออกแบบระบบมาตรให้กับผู้ประกอบการเมื่อปีที่แล้ว เกษตรกรสามารถนำมาใช้ได้ เมื่อมีมาตรฐานดังกล่าวหมายถึงการสร้างมั่นใจกับผู้บริโภคได้มาก เกี่ยวกับกรรมวิธีการเลี้ยงแมลงให้ปลอดภัยปลอดจากสารพิษต่างๆ แมลงตามธรรมชาติอาจเกาะตามต้นไม้อาจติดสารเคมีได้ แต่ปัจจุบันการเลี้ยงแมลงต่างๆ ในฟาร์มเลี้ยงมีการควบคุมตั้งแต่การให้อาหารไปจนถึงนำไปเป็นอาหารสำหรับบริโภค ดังนั้น ความปลอดภัยเริ้มต้นจากฟาร์มเลี้ยงแมลง รวมทั้ง ขบวนการผลิตต่างๆ
ส่วนตลาดส่งออกแมลงในปัจจุบันนี้ตลาดในโซนอาเซียเป็นที่รู้จักและบริโภคมากที่สุดอยู่แล้ว แต่ตลาดระดับพรีเมี่ยมเป็นตลาดยุโรป อเมริกา ซึ่งอัตราการเติบโตจากสินค้าประเภทแมลง ในระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง เติบโตปีละ 20 % หรือคิดเป็นมูลค่าปีละ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่น่าสนใจ และเป็นสินคาส่งออกที่สามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง เนื่องจากคนทั่งรู้จักมากขึ้น เข้าใจคุณประโยชน์ และคามปลอดภัยที่ได้โปรตีนจากแมลง
“ คนยุโรปนำโปรตีนจากแมลง โดยเฉพาะนักกีฬาต้องการสร้างก้ามเนื้อ พื้นฐานบ้านเราก็บริโภคอกไก่ และแมลงก็เริ่มเข้ามาสู่นักกีฬา อนาคตหากมีความต้องการแมลงมาก ก็สามารถเพิ่มพื้นที่การเลี้ยงได้ เพราะใช้พื้นที่น้อยมาก เพียงแต่ควรอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม อากาศเหมาะสม ประการสำคัญการเลี้ยงแมลงต้องอยู่ในโรงเรือนหรือฟาร์มเลี้ยง สามารถควบคุมได้และเพิ่มปริมาณได้ไม่ยาก ถ้าตลาดโตเร็วคนทั่วไปก็จะมาทำตลาดมากขึ้นตามไปด้วย ณ วันนี้ ภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรฯก็มีความพร้อมระดับหนึ่ง