มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับมาตรฐานการตรวจเช็ค-ซ่อมบำรุงอากาศยาน ของสายการบินไทย สายการบินแห่งชาติในใจใครหลายๆคนมาฝาก
การตรวจเช็คอากาศยาน ก็คล้ายคลึงกับการตรวจเช็คของรถยนต์เมื่อถึงระยะเวลาหรือครบรอบเลขไมล์ที่จะต้องต้องเข้าทำการเปลี่ยนถ่ายนำมันเครื่อง แต่เนื่องจากอากาศยานมีลักษณะซับซ้อนมากกว่า ทั้งกลไกและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง จึงทำให้ต้องใช้ระยะเวลา และบุคลากรเป็นจำนวนมากในการตรวจเช็คแต่ละครั้ง เราสามารถแบ่งการตรวจเช็คต่างๆออกได้ดังนี้
-การตรวจเช็คแบบ A-Check จะกระทำกันต่อเมื่อครบรอบ 400-600 Flight Hours โดยมีหน่วยงาน Planner เป็นฝ่ายคอยรวบรวมข้อมูล และออก Job Card ให้ดำเนินการ
-การตรวจเช็คแบบ B-Check คือการตรวจเช็คหลังจากที่ทำการตรวจเช็คแบบ A-Check ครบจำนวน 10 ครั้ง หรือ ภายในช่วงระยะเวลา 6-8 เดือน
-การตรวจเช็คแบบ C-Check คือ การตรวจเช็คครั้งใหญ่ ในรอบ 2 ปี หรือประมาณ 20-24 เดือน ซึ่งการตรวจเช็คแบบนี้ จะต้องกระทำภายใน Hangar ต้องใช้บุคลากรเป็นจำนวนมาก ประมาณ 6000 Man-Hours และต้องใช้ระยะเวลายาวนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป ซี่งขึ้นอยู่กับชนิดของอากาศยานนั้นๆ
-การตรวจเช็คแบบ D-Check ซึ่งจะกระทำกันทุกๆ 6 ปี แต่ปัจจุบันเราจะใช้การตรวจแบบ C-Check แทน เนื่องจากปัจจุบัน อากาศยานรุ่นใหม่ๆจะมีการทำประกันไว้กับบริษัทผู้ผลิต
การบินไทยมีฝ่ายช่างที่คอยดูแลการตรวจเช็คและซ่อมบำรุงอยู่ 3 ฐานใหญ่ๆ ซึ่งแต่ละสถานีจะมีขอบเขตและขีดความสามารถแตกต่างกันออกไปดังนี้
-ฝ่ายช่างสถานีสุวรรณภูมิ (BKK) จะทำการตรวจเช็คแบบ
A-Check และ B-Check ให้กับอากาศยานทุก
Type รวมถึงการตรวจเช็คแบบ C-Check ให้กับ
Airbus A-380
-ฝ่ายช่างสถานีดอนเมือง (DMK) จะทำการตรวจเช็คแบบ
C-Check และ D-Check รวมถึงการทำสีลำตัวเครื่องบิน
-ฝ่ายช่างสถานีอู่ตะเภา (UTP) จะทำการตรวจเช็คแบบ
C-Check และ D-Check รวมถึงการทำสีลำตัวเครื่องบิน
นอกจากเราจะทำการตรวจเช็คและทำการซ่อมบำรุงให้กับอากาศยานของเราเองแล้ว เรายังให้บริการซ่อมบำรุงและตรวจเช็คให้กับอากาศยานของสายการบินลูกค้า จนได้รับความไว้วางใจว่า “ช่างไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก” เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับผู้โดยสาร และเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยการบินสากล เราจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาขอบเขต และขีดความสามารถของเราตลอดไป
ขอขอบพระคุณ ภาพและสาระดีๆที่มีประโยชน์จากคุณ Navin Nualaroon