ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินเศรษฐกิจไตรมาส 2 ทรงตัว ปรับGDPเหลือ 3.7%

0
224

“ ธปท.ประมาณการ GDP ไว้ที่ 3.8 % แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมากการไว้ที่ 3.7 % แตกต่างกันเล็กน้อย  เพราะว่าส่วนหนึ่งมองเผื่อไว้ อยู่ที่ภาคการส่งออก และมองเผื่อเศรษฐกิจโลกอาจจะชะลอตัวมากกว่าคาด  ”

ธนาคารโลกและธนาคารแห่งประเทศไทย ตัดสินใจปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ไทยปีนี้ลง โดยประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเหลือ 3.8%  จากคาดการณ์เดิมเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ 3.9%   เพราะการส่งออกที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย  รวมทั้ง ผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ปรับลดลงจากปัญหาสงครามทางการค้า

ขณะที่รัฐบาลออกมาตรการทุ่มงบฯ 1.5 หมื่นล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจ  หลังเศรษฐกิจไตรมาส 1-2 มีสัญญาณชะลอตัว  ในเรื่องนี้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะประมาณการเศรษฐกิจไทยอย่างไร  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะมีมุมมองประมาณการเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสที่ 2   และแนวโน้มปีนี้อย่างไร

ธัญญลักษณ์  วัชระชัยสุรพล  รองกรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า  เดือนเม.ย.ประเมินเศรษฐกิจยังเห็นอัตราการเติบโตต่อเนื่อง  เพียงแต่การเติบโตค่อนข้างจะทรงๆ  ทั้งไตรมาส 1 และ 2 เรามองอัตราการเติบโตไว้ 3.2%   เพราะที่ผ่านมา การส่งออกติดลบ 2%  การท่องเที่ยวเติบโตไม่ถึง 2%  ดังนั้น GDP จะเป็นถ่วงทำให้ไตรมาสแรกเติบโตเล็กน้อย  ส่วนไตรมาสที่ 2  ถ้ามองภาคการใช้จ่ายภายในประเทศก็ต้องรอการจัดตั้งรัฐบาลก่อน   อย่างไรก็ตาม หากแต่เมื่อดูประเทศคู่ค้าก็มีสัญญาณบวกบ้างเล็กน้อยอย่าง  สหรัฐอัตราการเติบโต3.2 % ตัวเลขออกมาดีใช้ได้ จากไตรมาส 4 ปี 61 เติบโตแค่ 2.2%  ส่วนจีนไตรมาสแรกเติบโต 4.4%   ตัวเลขเหล่านี้ทำให้พอใจชื่นขึ้นบ้างว่า  ในเชิงเศรษฐกิจคู่ค้าต่างประเทศไตรที่ 2 น่าจะดีกว่าช่วงไตรมากแรกเล็กน้อย   ซึ่งอาจทำให้ภาคการส่งออกไทยลดต่ำลงมาก  ถ้าดูในเดือนต่อๆไปอาจพอใจชื่นขึ้นได้บ้าง

คาดการณ์ส่งออกโต 3.2% ชะลอกว่าปีก่อน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการส่งออก และท่องเที่ยวในปีนี้  การส่งออกคาดการณ์ไว้ที่ 2.5-3.5 %   ตอนนี้ให้อัตราการเติบโตไว้ที่ 3.2%  ยอมรับว่าเป็นตัวเลขชะลอลงจากปีก่อน   ภาพรวมสงออกเฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์  ส่วนการท่องเที่ยวศูนย์ฯประมาณการเติบโตไว้ 2.4%  ยังคาดหวังตัวเลขนักท่องเที่ยวทยอยฟื้นตัว   เพราะดูสถิติปีที่แล้วนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวบ้านเราเยอะ  ปีนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่านักท่องเที่ยวจากจีน ยุโรป อเมริกา เองที่มีภาพการเที่ยวท่องชะลดลง  ส่วนหนึ่งกระทบในเชิงอำนาจซื้อด้วย   อัตราการเติบโต 2.4% หรือประมาณ 40 ล้านคน  

อีกทั้ง ในส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ปีที่แล้วอยู่ 70- 80%ต่อ GDP ไตรมาสแรกยังทรงตัว แต่ไตรมาส 2 ถือว่ายังสูง  และในส่วนของผู้มีรายได้ภาคการเกษตรปีนี้เรามองว่า ค่อนข้างยาก อย่าง ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง   อ้อย  ปาล์ม  ที่มีราคาทรงและหดตัวได้เล็กน้อย ซึ่งจุดเองทำให้รายได้เกษตรกรเป็นตัวถ่วงรวมแล้วการใช้จ่ายคงมาได้ระดับหนึ่ง

“ จุดคาดหวังภาครัฐตระหนักถึงประเด็นเหล่านี้มาก  จึงเป็นแรงกระตุ้นให้มีการทยอยผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะออกมาช่วงกลางปีคงแรกคงจะช่วยหนุน GDP ได้บ้าง”

 GDP ปีนี้ 3.7% ต่างกับธปท.3.8%

นอกจากนี้ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ความชัดเจนน่าจะอยู่ในช่วง พ.ค.- มิ.ย.นี้   แน่นอนว่า คาดหวัง ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 63 จะออกมา แม้ว่ากรอบงบประมาณรายจ่ายปี 63 มีการขาดงบต่อเนื่อง เท่ากับปีงบประมาณก่อน เพียงแต่ว่าถ้าดูเงื่อนไขเศรษฐกิจแล้วยังต้องการแรกกระตุ้น  คิดว่ารัฐบาลใหม่ยังพอจะมีความยืดหยุ่นในเชิงกรอบพิจารณางบประมาณเพิ่มเติมได้   ซึ่งต้องเร่งผลักดันออกมา หากทำไม่ทันแรงหนุนเศรษฐกิจอาจจะตกลง ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี   อย่างไรก็ตาม หากดูอัตราการเติบโต(GDP ) เป็นรายไตรมาส คิดว่า ไตรมาส 4 จะดีที่สุด  ภายใต้กรอบที่รอดูรัฐบาลใหม่จะผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาหรือไม่  

“ ธปท.ประมาณการ GDP ไว้ที่ 3.8 % แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมากการไว้ที่ 3.7 % แตกต่างกันเล็กน้อย  เพราะว่าส่วนหนึ่งมองเผื่อไว้ อยู่ที่ภาคการส่งออก และมองเผื่อเศรษฐกิจโลกอาจจะชะลอตัวมากกว่าคาด  ”

ส่วนเศรษฐกิจหลังจากนี้ ปัจจัยบวก – ลบ เอาที่ปัจจัยลบก่อน แม้ว่าเรามีการจัดรัฐบาล  มีมาตรการตระตุ่นเศรษฐกิจเพิ่มเติม  ปัจจัยเสี่ยงหลักอยู่ที่ภาคต่างประเทศ ความท้าทายอยู่ที่สหรัฐเตรียมปรับลดประเภทเหล็ก เครื่องบิน ปรับลดกำลังการผลิต ดังนั้น เศรษฐกิจสหรัฐยังต้องติดตามตัวเลขที่อาจจะมีโอกาสสะดุดเหมือนกัน  อีกทั้ง ปัญหาแบร็กซิกของอังกฤษเองอาจจะทำให้เกิดเศรษฐกิจถอดถ่อยได้ในบางไตรมาส   ทางด้านจีนปีนี้คาดการณ์อัตราการเติบโต 6% ปัจจัยทั้งหมดเป็นตัวถ่วงต่อภาคการส่งออกของไทย และอาจจะพาดพิงมาถึงตัวเลขภาคการท่องเที่ยวได้เล็กน้อย

ปัจจัยบวก  หากมีการจัดตั้งรัฐบาลเรียนร้อยก็รอฟังข่าวดีเกี่ยวกับความเชื่อมั่นจะกลับมา  การใช้จ่ายจะต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกำลังหลักช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถขับเคลื่อนไปได้ 

แม้ที่ผ่านมา เรามีข่าวบวกและลบบ้างก็ตาม  แต่ช่วงที่เหลือยังมีหลายปัจจัย ที่มีความไม่แน่นอน ภาคธุรกิจจะต้องวางแผนล่วงหน้าเผื่อไว้หลายๆทาง เพื่อช่วยในการปรับตัวได้ค่อยข้างดี  หากใครต้องการคำปรึกษากับทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย เรามีช่องทางเฟชบุ๊ก และทวิตเตอร์ มีข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วไว้บริการทุกท่านคอยติดตาม