ซีอีโอ ปตท.คนใหม่ เปิดวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนองค์กรภายใต้นโยบาย “CHANGE for Future of Thailand 4.0”กำหนดยุทธศาสตร์ดำเนินธุรกิจแบบ 3D ย้ำสร้างบุคลากรรุ่นใหม่รองรับดิสรัพทีฟเทคโนโลยีและดิจิทัลไลเซชั่น พร้อมโต้พรรคปชป.กรณีซื้อหุ้นโกลว์พลังงาน -กาแฟอเมซอน
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดแถลงข่าวในการเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่าในระยะเวลา 2ปีนับจากนี้ ตนจะดำเนินการภายใต้นโยบาย Change for the future หรือการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่าน เนื่องจาก ปตท.เป็นองค์กรที่อยู่มาแล้วกว่า 40 ปี บุคลากรชุดเดิมเริ่มมีการเกษียณอายุ ดังนั้นจึงต้องสร้างบุคลากรรุ่นใหม่มารองรับดิสรัพทีฟเทคโนโลยีและดิจิทัลไลเซชั่น โดยให้ความสำคัญกับสังคม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงแก่เศรษฐกิจของประเทศ
แนวคิดในการบริหารจัดการ ปตท. ตนจะสานต่อการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของ ปตท. ที่ได้วางไว้จากรุ่นสู่รุ่น โดยปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความท้าทายต่างๆ ทั้งปัจจุบันและอนาคต ผ่านนโยบาย “CHANGE for Future of Thailand 4.0” มีองค์ประกอบ 6 ด้านอาทิ Continuity สานต่อเพื่อความต่อเนื่อง เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินธุรกิจแบบ 3D คือ Do now, Decide now และ Design now Honesty ความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรม ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และดำเนินการอย่างมีจริยธรรมนำธุรกิจ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างสมดุล เป็นต้น
ส่วนกรณีที่ นายกรณ์ จาตกวณิช รองหัวหน้าพรรคปชป.ออกมาคัดค้านการที่บริษัทจีพีเอสซี จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือ ปตท.จะเข้าซื้อหุ้นใหฐ่ของบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) โดยได้ยื่นหนังสือต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อให้ระงับการดำเนินการดังกล่าวโดยอ้างว่าจะทำให้เอสพีซีจี มีอำนาจเหนือตลาดและผูกขาดการขายไฟฟ้าในนิคมฯมาบตาพุดน้ันว่า ปตท.อยู่ระหว่างติดตามผลการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยเบื้องต้นประเมินว่า หากจีพีเอสซีซื้อโกลว์แล้วเสร็จ จะส่งผลให้จีพีเอสซีเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าสูงสุดอันดับ 3 ของประเทศไทย และ กำลังการผลิตรวม 4,835 เมกะวัตต์ จากปัจจุบัน 1,940 เมกะวัตต์
ท้ังนี้ กระบวนการซื้อโกลว์เป็นไปตามเป้าหมาย ของปตท.และตรงกับความต้องการของบริษัทโกลว์ โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นใหญ่จากประเทศฝร่ังเศส ที่ต้องการนำโกลว์ไปลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ก็อยากขายหุ้นให้ปตท.แม้ว่าก่อนหน้านี้โกลว์จะทยอยเจรจากับหลายๆบริษัทในประเทศไทย แต่สุดท้ายก็ได้้ข้อสรุปที่ปตท. เพราะมีธุรกิจพลังงานที่ใกล้เคียงกัน มีการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เหมือนๆกัน ต้ังกิจการในบริเวณใกล้เคียงกันสามารถใช้สาธารณูปโภคหรือเครื่องจักรร่วมกันได้ และท้ัง2บริษัทคือโกลว์และจีพีเอสซี ก็ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบ รวมท้ังแจ้งให้กระทรวงพาณิชย์ รับทราบว่า ไม่มีการผูกขาดกิจการหรืออำนาจเหนือตลาดแต่อย่างใด
“การผลิตไฟฟ้าหากสามารถซื้อกิจการจากโกลว์ได้สำเร็จ ก็เท่ากับเป็นการผลิตไฟฟ้าป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในมาบตาพุด และรองรับการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)ท้ังหมดตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไฟตกไฟดับ หากมีจำนวนโรงงานเข้ามาใช้พื้นที่อีอีซี เต็มท้ังโครงการ และปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ แทบไม่เหลือขาย เข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) แต่อย่างใดท้ังส้ิน “
ดังน้ัน กกพ.จะเป็นหน่วยงานที่จะบอกว่า ผลการพิจารณาว่าปตท.สามารถให้จีพีเอสซีซื้อหุ้นโกลว์ ได้หรือไม่ หากสามารถซื้อได้ กระบวนการต่างๆ ก็จะเดินต่อไป ถ้าเดินต่อไปไม่ได้ปตท.ก็พร้อมเคารพกติกา ขณะเดียวกันกรณีที่นายกรณ์ จาติกวนิช จะยื่นหนังสือร้องเรียนต่อกระทรวงพลังงานและผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็สามารถทำได้ตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560
ส่วนกรณีการทำตลาดร้านกาแฟอเมซอนของปตท. ที่นายกรณ์แสดงความวิตกกังวลว่าเป็นการเข้าไปแข่งขันกับเอกชน ขัดมาตรา 75 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ซ่ึงจะทำให้ร้านกาแฟขนาดเล็กตามชุมชนล้มหายตายจากไปนั้น เรื่องนี้เมื่อ15ปีท่ีผ่านมาปตท.ได้ใช้อเมซอนเป็นกิจการเสริมธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน และสร้างแบรนด์ให้เป็นกาแฟในป้ัมเพื่ออำนวยความสะดวกของประชาชนทีี่เดินทางสัญจรในราคาไม่แพง คนทุกระดับเข้าถึงก่อนขยายกิจการไปยังห้างสรรพสินค้า แหล่งท่องเท่ียว ชุมชนขนาดใหญ่ และเปิดให้ประชาชนมาร่วมทุนเป็นเฟรนไชส์ ทำให้ 90% ของเจ้าของกิจการเป็นประชาชนทั่วไป จึงไม่เป็นการทำลายร้านกาแฟรถเข็นขนาดเล็ก ที่มีอยู่กว่าแสนรายทั่วประเทศแต่อย่างใด