ยังคงเป็นทอล์ก ออฟ เดอะทาวน์!
กับการจัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์(MHz) ที่ “คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)” คาดหวังเอาไว้ก่อนหน้า ยังไงเสียก็เชื่อว่าบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมก็ต้องเข้าร่วมประมูล เพราะคงไม่มีค่ายใดยอมเสียหน้าให้คู่แข่งปาดหน้าฮุบคลื่นความถี่ไปได้ก่อน
แต่เอาเข้าจริงวันนี้กลับ “ไร้เงา” ผู้เข้าประมูลทั้ง 3 ค่ายมือถือต่างพร้อมใจกัน “เทคลื่น 1800 “อย่างไม่ใยดี !
ทำเอาผลงาน “ชิ้นโบว์แดง” ของกสทช.ที่เคยสร้างประวัติศาสตร์จัดประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz 2 ใบอนุญาตดึงเม็ดเงินกว่า 150,000 ล้านเข้ารัฐมาแล้วและ สามารถสร้างมูลค่าการตลาดให้กับระบบเศรษฐกิจกว่า 600,000 ล้านบาท จนทำให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคสช. “ตบรางวัล”ผลงานความสำเร็จในครั้งนั้นด้วยการงัด ม.44 ล้มกระดานกระบวนการสรรหากสทช.ชุดใหม่ไปก่อนหน้า
แต่วันนี้กลับกลายเป็นผลงาน “สุดบู่” ที่ไม่รู้จะเอาหน้าไปซุกไว้ไหน!!!
หลายฝ่ายพยายามคลี่จิ๊กซอว์ มูลเหตุที่ค่ายมือถือพากันเทคลื่น1800 กันไปคนละทิศ บ้างก็ว่าเพราะรัฐบาลคสช. “หักดิบ” ไม่ยอมทำคลอด ม.44 ช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม2ค่าย คือเอไอเอสและทรูมูฟที่ร้องขอให้รัฐขยายเวลาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ในครั้งก่อนออกไป 5 ปี
ขณะที่ข้อเรียกร้องของบริษัทเอกชนที่ต้องการให้ กสทช.ปรับปรุงและทบทวนเกณฑ์การประมูลใหม่ให้เกิดความยืดหยุ่น โดยเฉพาะราคาประมูลขั้นต่ำที่ 37,457 ล้านบาท ซึ่งอิงจากฐานราคาประมูลครั้งก่อน ซึ่งเป็นที่รับรู้กันดีว่า เป็นฐานราคาที่เกิดจากการที่กสทช.ปล่อยให้้บริษัทสื่อสารโทรคมนาคม “โนเนม” เข้ามาป่วนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย แต่กลับไม่มีการลงโทษใดๆให้ “สาสม”
ด้าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ แห่งทีดีอาร์ไอ ให้เหตุผลออกคุ้งน้ำคุ้งทะเลไปโน้นว่า เพราะกสทช.ไปมีข้อตกลงลับกับ2 บริษัทสื่อสารที่ประมูลคลื่นความถี่900 MHz ครั้งก่อนในราคาสูงลิบลิ่ว เลยไปจัดทำข้อตกลง“มัดตราสัง” ให้กสท ตั้งราคาประมูลในครั้งนี้เอาไว้สูงลิ่วจะได้ไม่เสียเปรียบ ทำเอาบริษัทสื่อสารที่จะต้องประมูลด้วยก็แทบจะเป็นรายเดิมนั่นแหล่ะ เลยไม่แน่ใจว่าจะมีบริษัทสื่อสารบ้าบอที่ไหนจะหาห่วงมาผูกคอตัวเองให้งานเข้า
เรื่องของเรื่อง ที่ทำให้การประมูลหนนี้เหลวไม่เป็นท่านั้น ก็เพราะรัฐบาล คสช.และ กสทช.เองนั่นแหล่ะที่ดำเนินนโยบายผิดพลาดมหันต์เป็น “สนต้องลม” จากการที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ บากหน้าเข้าไปโอบอุ้มการทำสัญญาพันธมิตรธุรกิจระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)และดีแทค ไตรเน็ตในเครือดีแทคในการปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ 2300 เกะเฮิร์ตซ์(MHz)เพื่อให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
ทั้งที่ทุกฝ่ายรู้สาแก่ใจกันดีว่า สัญญาดังกล่าวนั้นแฝงไว้ด้วยแผน “เซ็งลี้คลื่น” ออกไปให้ดีแทคใช้งาน ซึ่งไม่เป็นไปตามมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) และพรบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2544 ที่กสทช.เองเคยเบรกหัวทิ่มมาแล้ว!
หลายฝ่ายได้เตือนกสทช.มาตั้งแต่แรกแล้วว่า หากกสทช.ไฟเขียวการจัดทำสัญญาสุดพิศดารครั้งนี้ มันจะเป็นดาบ 2 คมที่จะส่งผลกระทบต่อการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ตามมาอย่างแน่นอน เพราะค่ายดีแทคนั้นกำลังเผชิญปัญหาคลื่นความถี่ในมือทีี่กำลังจะหมดสัมปทานลง และเชื่อว่าหากเป็นการประมูลปกติก็เชื่อแน่ว่าจะถูก 2 ค่ายส่ื่อสารที่เป็นคู่แข่งเข้ามาปั่นราคาคลื่นอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงขวนขวายหาทาง “ปลดล็อค” ด้วยการดอดเข้าไปขอเช่าใช้คลื่นจากทีโอทีแทนและดำเนินทุกวิถีทางเพื่อให้ได้คลื่นดังกล่าวมาก่อน เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินธุรกิจ
เมื่อ กสทช.โอนเอนเป็นสนต้องลม กลับมติของตนเองด้วยการไฟเขียวให้ทีโอที-ดีแทค ทำสัญญาพันธมิตรและให้บริการโรมมิ่งได้ โดยดีแทคจ่ายค่าเช่าคลื่นและบริการโรมมิ่งแก่ทีโอทีแค่เดือนละ 300 ล้านบาทหรือตกปีละ 3,600 ล้านแถมยังได้คลื่น 2300 MHz ไปครองถึง 60 เมกะเฮิร์ตซมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันเสียอีก
วันนี้ สิ่งที่วงการโทรคมนาคมเฝ้าเตือนกสทช. มาก่อนหน้าก็ป็นจริง เพราะเมื่อค่ายดีแทค “ปลดล็อค” ผ่าทางตันปัญหาคลื่นในมือไปได้แล้ว บริษัทจึงออกมาประกาศชัดเจนว่าไม่มีความจำเป็นต้องเข้าประมูลใดๆอีกแล้วเพราะมีคลื่น 2300 อยู่ในมือมากพอ
ขณะที่ 2 ค่ายมือถือคือ “เอไอเอสและทรูมูฟ” ที่กระทำตนเป็นเด็กดีของ กสทช.มาโดยตลอดนั้น เมื่อถูก กสทช.ลอยแพปล่อยให้ต้องเผชิญกับการแบกภาระหนี้ค่าธรรมเนียมประมูลคลื่นเดิมรายละกว่า 60,000 ล้านบาท เกินกว่าจะระดมทุนก้อนใหม่ได้อีก เหตุนี้ทั้ง 2 ค่ายมือถือจึงตัดสินใจเทคลื่น 1800 ไปอย่างไม่ใยดีเช่นกัน
ผลที่ตามมาในวันนี้ กับการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่กสทช.คาดหวังจะดึงเม็ดเงินค่าธรรมเนียมประมูลเข้ารัฐนับแสนล้านบาทและจะสามารถส้รางมูลค่าการตลาดให้กับระบบเศรษฐกิจอีกไม่รู้กี่แสนล้านบาทน้ัน
วันนี้กลับ “จั่วลม” ได้ 0 บาท คลื่นความถี่ที่ถือเป็นทรัพยากรของชาติที่มีค่ามากที่สุดวันนี้ต้องถูกเทถูกเก็บเข้าลิ้นชักกลายเป็นของ“ไร้ค่า” ประเทศชาติและประชาชนกลายเป็นผู้สูญเสียโดยสิ้นเชิง!
วันนี้เริ่มมีผู้ออกมาตั้งคำถามเอากับนายกฯและหัวหน้า คสช.แล้วว่า ผลงานอัปยศที่เกิดชิ้นนี้ จะโทษเป็นความอดสูของใครเขาได้ ก็มาจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดมหันต์ของหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของท่านเองนั่นแหล่ะ จริงไม่จริง?!!!: เนตรทิพย์
กับการจัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์(MHz) ที่ “คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)” คาดหวังเอาไว้ก่อนหน้า ยังไงเสียก็เชื่อว่าบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมก็ต้องเข้าร่วมประมูล เพราะคงไม่มีค่ายใดยอมเสียหน้าให้คู่แข่งปาดหน้าฮุบคลื่นความถี่ไปได้ก่อน
แต่เอาเข้าจริงวันนี้กลับ “ไร้เงา” ผู้เข้าประมูลทั้ง 3 ค่ายมือถือต่างพร้อมใจกัน “เทคลื่น 1800 “อย่างไม่ใยดี !
ทำเอาผลงาน “ชิ้นโบว์แดง” ของกสทช.ที่เคยสร้างประวัติศาสตร์จัดประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz 2 ใบอนุญาตดึงเม็ดเงินกว่า 150,000 ล้านเข้ารัฐมาแล้วและ สามารถสร้างมูลค่าการตลาดให้กับระบบเศรษฐกิจกว่า 600,000 ล้านบาท จนทำให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคสช. “ตบรางวัล”ผลงานความสำเร็จในครั้งนั้นด้วยการงัด ม.44 ล้มกระดานกระบวนการสรรหากสทช.ชุดใหม่ไปก่อนหน้า
แต่วันนี้กลับกลายเป็นผลงาน “สุดบู่” ที่ไม่รู้จะเอาหน้าไปซุกไว้ไหน!!!
หลายฝ่ายพยายามคลี่จิ๊กซอว์ มูลเหตุที่ค่ายมือถือพากันเทคลื่น1800 กันไปคนละทิศ บ้างก็ว่าเพราะรัฐบาลคสช. “หักดิบ” ไม่ยอมทำคลอด ม.44 ช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม2ค่าย คือเอไอเอสและทรูมูฟที่ร้องขอให้รัฐขยายเวลาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ในครั้งก่อนออกไป 5 ปี
ขณะที่ข้อเรียกร้องของบริษัทเอกชนที่ต้องการให้ กสทช.ปรับปรุงและทบทวนเกณฑ์การประมูลใหม่ให้เกิดความยืดหยุ่น โดยเฉพาะราคาประมูลขั้นต่ำที่ 37,457 ล้านบาท ซึ่งอิงจากฐานราคาประมูลครั้งก่อน ซึ่งเป็นที่รับรู้กันดีว่า เป็นฐานราคาที่เกิดจากการที่กสทช.ปล่อยให้้บริษัทสื่อสารโทรคมนาคม “โนเนม” เข้ามาป่วนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย แต่กลับไม่มีการลงโทษใดๆให้ “สาสม”
ด้าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ แห่งทีดีอาร์ไอ ให้เหตุผลออกคุ้งน้ำคุ้งทะเลไปโน้นว่า เพราะกสทช.ไปมีข้อตกลงลับกับ2 บริษัทสื่อสารที่ประมูลคลื่นความถี่900 MHz ครั้งก่อนในราคาสูงลิบลิ่ว เลยไปจัดทำข้อตกลง“มัดตราสัง” ให้กสท ตั้งราคาประมูลในครั้งนี้เอาไว้สูงลิ่วจะได้ไม่เสียเปรียบ ทำเอาบริษัทสื่อสารที่จะต้องประมูลด้วยก็แทบจะเป็นรายเดิมนั่นแหล่ะ เลยไม่แน่ใจว่าจะมีบริษัทสื่อสารบ้าบอที่ไหนจะหาห่วงมาผูกคอตัวเองให้งานเข้า
เรื่องของเรื่อง ที่ทำให้การประมูลหนนี้เหลวไม่เป็นท่านั้น ก็เพราะรัฐบาล คสช.และ กสทช.เองนั่นแหล่ะที่ดำเนินนโยบายผิดพลาดมหันต์เป็น “สนต้องลม” จากการที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ บากหน้าเข้าไปโอบอุ้มการทำสัญญาพันธมิตรธุรกิจระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)และดีแทค ไตรเน็ตในเครือดีแทคในการปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ 2300 เกะเฮิร์ตซ์(MHz)เพื่อให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
ทั้งที่ทุกฝ่ายรู้สาแก่ใจกันดีว่า สัญญาดังกล่าวนั้นแฝงไว้ด้วยแผน “เซ็งลี้คลื่น” ออกไปให้ดีแทคใช้งาน ซึ่งไม่เป็นไปตามมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) และพรบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2544 ที่กสทช.เองเคยเบรกหัวทิ่มมาแล้ว!
หลายฝ่ายได้เตือนกสทช.มาตั้งแต่แรกแล้วว่า หากกสทช.ไฟเขียวการจัดทำสัญญาสุดพิศดารครั้งนี้ มันจะเป็นดาบ 2 คมที่จะส่งผลกระทบต่อการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ตามมาอย่างแน่นอน เพราะค่ายดีแทคนั้นกำลังเผชิญปัญหาคลื่นความถี่ในมือทีี่กำลังจะหมดสัมปทานลง และเชื่อว่าหากเป็นการประมูลปกติก็เชื่อแน่ว่าจะถูก 2 ค่ายส่ื่อสารที่เป็นคู่แข่งเข้ามาปั่นราคาคลื่นอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงขวนขวายหาทาง “ปลดล็อค” ด้วยการดอดเข้าไปขอเช่าใช้คลื่นจากทีโอทีแทนและดำเนินทุกวิถีทางเพื่อให้ได้คลื่นดังกล่าวมาก่อน เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินธุรกิจ
เมื่อ กสทช.โอนเอนเป็นสนต้องลม กลับมติของตนเองด้วยการไฟเขียวให้ทีโอที-ดีแทค ทำสัญญาพันธมิตรและให้บริการโรมมิ่งได้ โดยดีแทคจ่ายค่าเช่าคลื่นและบริการโรมมิ่งแก่ทีโอทีแค่เดือนละ 300 ล้านบาทหรือตกปีละ 3,600 ล้านแถมยังได้คลื่น 2300 MHz ไปครองถึง 60 เมกะเฮิร์ตซมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันเสียอีก
วันนี้ สิ่งที่วงการโทรคมนาคมเฝ้าเตือนกสทช. มาก่อนหน้าก็ป็นจริง เพราะเมื่อค่ายดีแทค “ปลดล็อค” ผ่าทางตันปัญหาคลื่นในมือไปได้แล้ว บริษัทจึงออกมาประกาศชัดเจนว่าไม่มีความจำเป็นต้องเข้าประมูลใดๆอีกแล้วเพราะมีคลื่น 2300 อยู่ในมือมากพอ
ขณะที่ 2 ค่ายมือถือคือ “เอไอเอสและทรูมูฟ” ที่กระทำตนเป็นเด็กดีของ กสทช.มาโดยตลอดนั้น เมื่อถูก กสทช.ลอยแพปล่อยให้ต้องเผชิญกับการแบกภาระหนี้ค่าธรรมเนียมประมูลคลื่นเดิมรายละกว่า 60,000 ล้านบาท เกินกว่าจะระดมทุนก้อนใหม่ได้อีก เหตุนี้ทั้ง 2 ค่ายมือถือจึงตัดสินใจเทคลื่น 1800 ไปอย่างไม่ใยดีเช่นกัน
ผลที่ตามมาในวันนี้ กับการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่กสทช.คาดหวังจะดึงเม็ดเงินค่าธรรมเนียมประมูลเข้ารัฐนับแสนล้านบาทและจะสามารถส้รางมูลค่าการตลาดให้กับระบบเศรษฐกิจอีกไม่รู้กี่แสนล้านบาทน้ัน
วันนี้กลับ “จั่วลม” ได้ 0 บาท คลื่นความถี่ที่ถือเป็นทรัพยากรของชาติที่มีค่ามากที่สุดวันนี้ต้องถูกเทถูกเก็บเข้าลิ้นชักกลายเป็นของ“ไร้ค่า” ประเทศชาติและประชาชนกลายเป็นผู้สูญเสียโดยสิ้นเชิง!
วันนี้เริ่มมีผู้ออกมาตั้งคำถามเอากับนายกฯและหัวหน้า คสช.แล้วว่า ผลงานอัปยศที่เกิดชิ้นนี้ จะโทษเป็นความอดสูของใครเขาได้ ก็มาจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดมหันต์ของหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของท่านเองนั่นแหล่ะ จริงไม่จริง?!!!: เนตรทิพย์