ปาหี่คุมเข้มตู้กดน้ำหยอดเหรียญ….. เกาไม่ถูกที่คัน!

0
852
ยังคงเป็นประเด็นสุดฮอต เป็น “ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์”
กับเรื่องที่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.มีคำสั่งให้สำนักงานเขตกทม.ทั้ง 50 เขตเร่งตีทะเบียนตู้กดน้ำหยอดเหรียญในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ หลังจากมีการสำรวจคุณภาพของตู้น้ำหยอดเหรียญที่ติดตั้งให้บริการอยู่ในพื้นที่ต่างๆ มีปัญหาด้านสุขลักษณะซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน  โดยตรวจพบคราบฝุ่นละอองภายนอกตู้และในบริเวณห้องจ่ายน้ำ  ไม่มีการดูแลและบำรุงรักษา  มีการตั้งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบนทางเท้าหรือทางสาธารณะ ไม่มีระบบตัดไฟฟ้าเมื่อกระแสไฟรั่วหรือลัดวงจร และระบบระบายน้ำทิ้งมีน้ำท่วมขังนองบนพื้น
จึงสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบใบอนุญาตตู้น้ำหยอดเหรียญ  หากพบที่ไม่มีใบอนุญาตให้แจ้งผู้ประกอบการขอใบอนุญาตให้ถูกต้องภายใน สัปดาห์  หากไม่ดำเนินการตามกำหนด กทม.จะรื้อถอนออกทันที และผู้ประกอบการมีความผิดต้องระวางโทษตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข การประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  
 
กทม.ตีทะเบียนตู้กดน้ำ 
ข้อมูลที่ผู้ว่ากทม. รายงานนั้นระบุว่าแม้กทม.จะมีมาตรการอันเข้มงวดในการตีทะเบียนตู้กดน้ำหยอดเหรียญอัตโนมัติ แต่จากการสำรวจล่าสุดพบว่า มีตู้กดน้ำหยอดเหรียญที่ขึ้นทะเบียนขออนุญาตติดตั้งและให้บริการอย่างถูกต้องในกทม.เพียง 160 ตู้ จากจำนวนตู้กดน้ำหยอดเหรียญที่มีอยู่เกือบ 4,000 ตู้ จึงได้สั่งการให้ทุกสำนักงานเขต เร่งประชาสัมพันธ์ แจ้งให้เจ้าของตู้น้ำหยอดเหรียญทุกรายเร่งขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการตามประกาศ กทม.จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
ขณะนี้มีผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 1,000 รายที่ไม่ขอรับใบอนุญาตจาก กทม. ซึ่งถือเป็นตู้เถื่อน ไม่เสียค่าธรรมเนียม 2,000 บาทต่อปีและมักจะเคลื่อนย้ายสถานที่ตั้งตู้น้ำหลบหนีการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นปัญหาของแต่ละเขตที่จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
 
อย่างไรก็ตาม ประกาศคุมเข้มตู้กดน้ำหยอดเหรียญของ กทม.ข้างต้นได้สร้างความป่ันป่วนให้แก่ผู้ประกอบการอย่างหนัก เพราะเมื่อสำนักงานเขตต่างๆ แจ้งไปยังเจ้าของหอพัก อาพาร์ทเมนต์ หรือสถานที่ติดตั้งตู้น้ำให้ดำเนินการให้ถูกกฎหมาย หาไม่แล้วจะมีโทษทั้งจำทั้งปรับตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535  
บรรดาห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่มีตู้กดน้ำเหล่านี้ติดตั้งอยู่ อาทิ ห้างเทสโก้ โลตัส บิ๊กซี ต่างก็ตื่นตัวและมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบการเจ้าของเครื่องให้ส่งเอกสารแสดงใบอนุญาตภายใน 15 วันเช่นกัน ไม่เช่นน้ันจะยกเลิกสัญญาหรือเรียกให้ผู้ประกอบการเจ้าของตู้กดน้ำดื่มรื้อหรือจัดเก็บเครื่องออกไป หลายพื้นที่ยังมีปัญหาเจ้าของหอพัก อพาร์ทเมนต์และเจ้าของตู้กดน้ำดื่มต่างเกี่ยงงอนกันใครจะเป็นผู้จดแจ้งตีทะเบียนกับสำนักงานเขต. 
 
คุมคุณภาพหรือมุ่งรีดค่าธรรมเนียม
1 ในกลุ่มผู้ประกอบการตู้กดน้ำหยอดเหรียญ เปิดเผยว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ประกอบการตู้กดน้ำหยอดเหรียญหลีกเลี่ยงการจดแจ้งน้ัน ก็เนื่องจากค่าธรรมเนียมในการจดแจ้งที่ กทม.เรียกเก็บนั้นสูงถึงปีละ 2,000 บาท/ตู้ ซ่ึงแพงเกินกว่าที่ผู้ประกอบการจะอยู่ได้ และแม้กทม.จะอ้างว่าอยู่ระหว่างการร่างข้อบังคับปรับลดค่าธรรมเนียมลงมาเหลือ 500 บาท/ปี แต่ผ่านมาหลายปีก็ยังไม่มีผลใช้บังคับ จึงเท่ากับบังคับให้ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแพงลิบลิ่ว  
นอกจากนั้น ในเงื่อนไขการยื่นขออนุญาตประกอบกิจการตู้กดน้ำหยอดเหรียญที่ กทม.ออกมา ยังกำหนดให้ หากผู้ประกอบการเช่าสถานที่ติดตั้ง ไม่เพียงต้องแสดงเอกสารรับรองการผลิตตู้น้ำดื่มที่ได้มาตรฐานแล้ว  ยังต้องแสดงเอกสารหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่หรือเอกสารสัญญาเช่าพื้นที่อย่างละเอียด  
“ไม่เข้าใจว่าจุดประสงค์ในการจดทะเบียนขออนุญาตติดตั้งตู้กดน้ำฯ ดังกล่าวของกทม.นั้นเป็นไปเพื่อกำกับด(แลควบคุมคุณภาพตู้น้ำหรือต้องการรีดภาษีรีดค่าธรรมเนียม และต้องการเจาะรายได้ประกอบการของผู้ประกอบการ เจ้าของหอพัก อพาร์ทเมนต์ที่ให้เช่าสถานที่ติดตั้งหรืออย่างไรจึงกำหนดเงื่อนไขการยื่นขออนุญาตเอาไว้ยุ่บยั่บไปหมด”
ลำพังเพียงแค่ค่าธรรมเนียมตีทะเบียนปีละ 2,000 บาทต่อตู้ ก็ทำเอาผู้ประกอบการรับไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเทียบกับการขายน้ำดื่มทั่วไปจะตั้งร้านค้าปลีก ค้าส่งอย่างไรก็ไม่ต้องจ่าย ขณะที่ตู้กดน้ำหยอดเหรียญที่ตั้งให้บริการตามชุมชนต่างๆ ใต้หอพัก ห้องเช่า หรืออพาร์ทเมนต์นั้น มีรายได้จากการประกอบการที่เมื่อพักค่าน้ำ ไฟ ต้นทุนค่าเช่าค่าดูแลระบบต่างๆแล้วก็แทบจะไม่คุ้มทุนอยู่แล้ว ยังถูกโขกค่าธรรมเนียมสูงลิ่วอีก  ทั้งยังกำหนดบทปรับสุดโหดหากไม่ดำเนินการขออนุญาตภายในกำหนดต้องถูกปรับ 50,000 ต่อตู้ ผู้ผลิตต้องถูกปรับถึง 100,000 บาทเป็น  
เงื่อนไขอันเข้มงวดข้างต้น หาใช่หลักประกันคุณภาพน้ำดื่มที่ประชาชนจะได้รับ   เพราะตลอดระยะเวลานับ 10 ปีที่หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)หรือสำนักอนามัย กทม. ตลอดจนเครือข่ายต่าง ๆ ที่ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มจากบรรดาตู้กดน้ำหยอดเหรียญอัตโนมัติ ทั้งที่ตั้งอยู่ใน กทม.ที่มีนับหมื่นตู้ หรือกระจ่ยอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศนั้น แต่คุณภาพน้ำที่ได้ก็ยังเหมือนเดิม จะสุ่มตรวจกี่ปีกี่ชาติก็ยังคงได้ผลประการเดิมคือ คุณภาพน้ำดื่มที่ได้กว่าครึ่งไม่ได้มาตรฐาน ยังคง มีสารปนเปื้อน และยังคงมีเชื้อโรคปะปนอยู่ในน้ำดื่ม”
นั่นก็เพราะทุกหน่วยงานยังคงแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ และยังเข้าไม่ถึงปัญหาที่แท้จริงนั่นเอง !!!  
 
 คุมคุณภาพตู้กดน้ำ…. ต่างคนต่างพาย
“ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2555 กรมอนัย กระทรวงสาธารณสุข เคยสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำจากตู้กดน้ำหยอดเหรียญจำนวน 1,871 ตัวอย่างทั่วประเทศมาแล้วและพบว่ามี 633 ตัวอย่างหรือร้อยละ 34 ไม่ผ่านมาตรฐาน  ขณะที่สคบ.ได้มีการลงพื้นที่เพื่อทำการสุ่มตรวจสอบก็พบว่ากว่าร้อยละ 50  เป็นตู้น้ำหยอดเหรียญที่ไม่ได้คุณภาพก่อนจะหันไปออกประกาศกำหนดให้ตู้กดน้ำหยอดเหรียญ เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องแสดงรายละเอียดคำแนะนำและคำเตือน ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของ ผู้บริโภค”
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายเองก็เคยลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบตู้กดน้ำหยอดเหรียญทั่วกทม.ในช่วงปี 2558 ผลที่ได้นอกจากจะพบว่ากว่า 90%ของตู้กดน้ำจะเป็นตู้เถื่อนที่ไม่ได้มีการขออตุญาตติดตั้งอย่างถูกต้องแล้ว คุณภาพน้ำดื่มที่ได้ยังคงเป็นเช่นเดิมปัญหาคุณภาพน้ำไม่ได้มาตรฐานยังคงอยู่และไม่ได้รับการแก้ไข และล่าสุด เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เครือข่ายผู้บริโภคได้สุ่มตรวจสอบคุณภาพน้ำจากตู้กดน้ำหยอดเหรียญเหล่านี้อีกระลอก ผลที่ออกมาก็ยังคงเดิม   
แต่ก็ให้น่าแปลกที่หน่วยงานต่างๆเหล่านี้ กลับไม่ฉุกคิดหรือเฉลี่ยวใจเลยว่่าเหตุใดผลการตรวจคุณภาพน้ำที่ได้จะกี่ปีๆ ก็ยังคงเดิม คุณภาพน้ำที่ตรวจวัดนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน ยังคงพบการปนเปื้อนเชื้อโรคอยู่ ขณะที่มาตรการควบคุมคุณภาพที่แต่ละหน่วยงานออกมาก็ยังคง”ย่ำกับที่”เน้นไปที่สถานที่ตั้งตู้กดน้ำฯ การเปลี่ยนใส้กรอง ทำความสะอาดภายในและภายนอกตู้ ซ่ึงล้วนเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น “ตราบใดที่กระบวนการผลิตน้ำในตู้กดน้ำยอดเหรียญยังใช้ระบบลูกลอยไฟฟ้า ดูดอากาศเข้่าไปดันน้ำเก็บในถังซึ่งทำให้มีโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ระบบการลิตผ่านระบบดูดอากาศแล้ว ไม่มีทางที่จะแก้ไขปัญหาความสะอาดและคุณภาพน้ำได้100%”