“เทคโนโลยีเข้าใช้แทนงานคน ยุดไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป็นช่วงแห่งการค่างานในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เมื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาเท่ากับเป็นตัวเร่งจ้างงานลดลง”
ภายหลังคณะกรรมการค่าจ้างแรงงานกลางมีมติปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา โดยค่าจ้างขั้นต่ำปรับขึ้นอยู่ที่ 308-330 บาทต่อวัน แตกต่างกันออกไปแต่ละจังหวัด การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานพิจารณาเกณฑ์ความเหมาะสมเกิดขึ้นอยู่กับเหตุผล เช่น ค่าครองชีพ อ้างอิงเงินเฟ้อ 5 ปีที่ผ่านมา เป็นต้น จึงมีโจทย์ต่อไปว่า การปรับอัตราค่าจ้างแรงงานครั้งถัดไปทำอย่างไรให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจ
ยิ่งในยุดไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนส่งเสริมให้นำนวัตกรรมใหม่ หรือเทคโนโลยี เข้ามาใช้ยกระดับธุรกิจเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ล่าสุดโรงงานอุตสาหกรรมมักนิยมนำหุ่นยนต์แทนแรงงานคนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ทิศทางของการจ้างงานในอนาคตจะเป็นอย่างไร ภายใต้การนำเทคโนโลยีสมัยจะมีผลกระทบต่อแรงงานหรือไม่
ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธาน รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยกับ “ LOGISTICS TIME ” ว่า สถานการณ์ภายหลังปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว ต้องยอมว่าภาคแรงงานได้รับประโยชน์ประมาณ 7 ล้านคน แรงงานจำนวนนี้มีแรงงานต่างด้าวประมาณ 2 ล้านคน ส่วนที่มีผลต่อ GDP อยู่ที่ประมาณ 0.2% ถ้าหากดูค่าครองชีพอัตราเงินเฟ้อที่ผ่านมา จะพบว่าไม่ขึ้นอยู่การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ แต่เงินเฟ้อขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันที่ปรับราคาสูงขึ้น 10% จากเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกปรากฏว่าดัชนีชี้วัดราคาสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรมก็ยังติดลบ 1.5% สำนักงานสถิติแห่งชาติมีการศึกษาเมื่อปี 2560 พบว่า การจ้างงานชะลอตัวลง ขณะที่ค่าจ้างเพิ่มขึ้นประมาณ 2% แต่การจ้างงานลดลงเกือบ 3 % เรื่อง การจ้างงานต้องระมัดระวัง จึงอยากฝากไปถึงการเมืองว่า การเอาค่าจ้างแรงงานผูกติดกับนโยบายประชานิยมนั้นมันทำไม่ได้ เพราะค่าจ้างเป็นต้นทุนประเทศ การปรับค่าจ้างให้สูงเพื่อมาชดเชย Productivity หรือผลิตภาพแรงงานต่ำจะส่งผลกระทบกับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศให้ตกต่ำลง
เทคโนฯ ตัวเร่ง “จ้างงานลดลง”
ส่วนการนำเทคโนโลยีเข้าใช้แทนงานคน โดยเฉพาะยุดไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นช่วงแห่งการทำงานในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มสูงขึ้น เมื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาเท่ากับเป็นตัวเร่งการจ้างงานลดลงในอนาคตอันใกล้นี้ แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา หากมองสัญญาณการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างหรือไม่ ก็ยังมองไม่ชัดเจนมากนัก เพราะการฟื้นตัวเศรษฐกิจมีเพียงบ้างเซกเตอร์เท่านั้น เช่น ภาคการส่งออก เป็นต้น รัฐบาลทุ่มเงินหลายแสนล้านบาท แต่ไปกลับกระจุกอยู่ที่การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ไม่เกิน 10 บริษัทอย่างที่ทราบกันดีว่ามีบริษัทไรบ้าง
“หากดูตัวเลขจากสมาคมค้าปลีกค้าส่งไม่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ มองไปต่างจังหวัดเศรษฐกิจไม่เติบโต นอกจากในช่วงเทศกาลเท่านั้นที่มีการจับจ่ายใช้สอยเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งทำให้เป็นกังวลเพราะไม่ได้ฟื้นตัวทุกเซกเตอร์ ”
แม้ภาคส่งออกจะฟื้นตัวส่งออกได้มากขึ้นก็ตาม แต่ยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลทำให้ได้กำไรไม่มากเท่าที่ควรจะได้รับ (กำไรบางๆ) ส่วนธุรกิจภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ยังติดลบจากปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องมา 3 ปี ดังนั้น การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น เท่ากับยิ่งเพิ่มต้นทุนทำให้กับผู้ประกอบการหรือนายจ้างเจ้าของกิจการไปโดยบริยาย
หุนยนต์ Robot 3 ล้านคนตกงาน
ดร.ธนิต กล่าวอีกว่า หากนำหุ่นยนต์มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีผลกระทบอย่างไร คนมักจะไม่ค่อยคิดกัน ผู้รับผิดชอบด้านแรงงานบอกว่ารับมือได้ ขณะนี้เรามีคนสูงอายุอยู่ภาคแรงงาน แต่คนสูงอายุไม่ยอมเกษียณ ภาคราชการเริ่มขยายอายุราชการจาก 60 ปีเป็น 63 -65 ปี ตัวเลขคนว่างงานเดือนมีนาคม 1.3 % หรือประมาณ 5 แสนคน น่าวิตก เพราะปกติคนว่างงานไม่เกิน 1% ขอพยากรณ์แรงานตัวเลขคนว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะนำเทคโนโลยีมาแทนแรงงานคน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดคนทำงาน อนาคตจะส่งผลทำให้เกิดการว่างงาน โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มProductivity
เทคโนโลยีแทนคนก็มีหุ่นยนต์ Robot หุ่นยนต์ Auto motion รวมถึง Smart Machine การปรับเปลี่ยนที่ใช้เทคโนโลยีแทนคน ธนาคารจะเป็นตัวอย่างชัดเจนที่สุด บางธนาคารประกาศ 3 ปีจะลดพนักงาน 3 หมื่นคน และลดที่ทำการสาขาของธนาคาร เพราะปรับเปลี่ยนนำเทคโนโลยีมาใช้แทนงานที่เป็นคนเกือบทั้งหมด การใช้หุ่นยนต์มาแทนแรงงานคน เดิมทีเราคิดว่าจะมีแต่ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เท่านั้น แต่ความจริงหุ่นยนต์ยังเข้าแทนที่แรงานภาคการบริการ ธนาคาร การขนส่งธุรกิจโลจิสติกส์อีกด้วย ตลอดจน การเดินทางบุคคลผ่านสนามบิน
“จากการศึกษาเกี่ยวกับแรงงานล่าสุดพบว่า หุ่นยนต์มีความเสี่ยงแรงานไทยตกงาน 3 ล้านคนมีโอกาสตกงานหรือศูนย์เสียงานทำ ต้องติดตามเรื่องนี้เพราะอะไร ซึ่งสอดคล้ององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ให้ข้อมูลเช่นเดียวกันว่า แรงงานในอาเซียน โดยเฉพาะแรงงานไทย กลุ่มหนึ่งแรงงานเสี่ยงตกงาน มีข้อมูลการว่างงานของไทยเรา ”
ที่ผ่านมา แรงงานว่างงานกระจุกอยู่ที่ผู้เรียนจบระดับอุดมศึกษา 60% ตกงาน ขณะนี้คนจบปริญญาตรีสัดส่วนตกงานลดลงเหลือ 30% แต่กลุ่มว่างงานกลับอยู่ในกลุ่มเรียนระดับประถมฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ควรว่างงาน กลุ่มประถมฯว่างานอยู่ที่ประมาณ 40 %
ชี้ทางออกปรับตัว 3 ด้านรับมือ
“เหตุผลเป็นเช่นนี้เพราะเดิมเรากำลังขาดแรงงานไร้ทักษะ 40% กำลังส่งสัญญาณว่า โรงงานเริ่มเอาหุ่นยนต์มาแทนแรงานในกลุ่มผู้ใช้แรงงานไร้ทักษะหรือกลุ่มผู้เรียนจบระดับประถมฯ หรือต่ำว่าประถมฯ รวมถึง ผู้จบมัธยมฯ ด้วย ขณะเดียวกัน การค้าอี-คอมเมิร์ซ กำลังเข้ามาแพร่หลาย คนขายตามหน้ารายก็หายไป”
แรงงานบ้านเราควรปรับตัวไปพร้อมกัน 3 ด้าน นั่นคือประการแรก เรื่องเทคโนโลยีที่เข้าเป็นสิ่งที่ดีแน่ แต่ต้องคำนึงด้วยเทคโนโลยีกระทบต่อแรงงานด้านไหนบ้างก็ต้องดู โดยอยากรัฐบาลพิจารณาให้รอบด้านต้องรับมือเปลี่ยนแนวทางอย่างไร ภาครัฐต้องศึกษาผลกระทบแล้วหาทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะตามมาในอนาคตด้วย ไม่ใช่บอกว่า “ไม่มีปัญหา ”
ประการที่สอง ตัวนายจ้าง ถ้ายังใช้เทคโนโลยีเยอะๆไม่ได้ ก็ต้องให้ความสำคัญกับแรงงานไม่กดขี่แรงงาน ขณะเดียวกัน คิดถึงเรื่องการปรับปรุงแรงงานระดับล่างๆขององค์กรอย่างไร แรงงานการศึกษาน้อย นายจ้างจะเพิ่มทักษะแรงงานเหล่านั้นอย่างไร ให้มีการส่งเสริมความรู้ รัฐบาลก็ต้องมีนโยบายร่วมมือสนับสนุนช่วยเหลือด้วย ประการสุดท้าย ในของส่วนแรงานเอง ที่มีงานทำอยู่แล้วแรงงานเองก็ต้องมีทักษะดับเบิ้ลขึ้นมา