“การส่งออก 2-3 ปีที่ผ่านมา ยอมรับว่าก็ยังทรงตัวอยู่ เพียงแต่ปริมาณตู้สินค้ากับพื้นที่ที่ออกแบบเอาไม่อาจรองรับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันปริมาณขยายตัวมากเพิ่มหลายเท่า”
แม้มูลค่าส่งออกปีนี้ค่อนข้างจะซบเซาอัตราการเติบโตค้อนข้างน้อย แต่ธุรกิจในแวดวงโลจิกติกส์ก็ต้องเดินหน้ากันต่อ ภายใต้หลักสำคัญของธุรกิจโลจิสติกส์ที่ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญหลักคือ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ เพื่อให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปอย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โครงสร้างพื้นฐานในที่นี้ประกอบด้วย ท่าเรือ สนามบิน เส้นขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และศูนย์คลังสินค้าที่รวบรวมตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้า หรือ ICD ลาดกระบัง ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตร่มเกล้า ใกล้กับถนนมอเตอร์และสนามบินสุวรรณภูมิ
ล่าสุด ผู้ประกอบการธุรกิจด้านบริการขนส่งสินค้านำเข้า-ส่งออก หรือธุรกิจขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการในพื้นที่ ICD ลาดกระบัง เนื่องจากปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มมากขึ้น และการจราจรแออัดไม่สะดวกต่อธุรกิจ พื้นที่จอดรถเพื่อขึ้น- ลง ตู้คอนเทนเนอร์ รวมทั้ง การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง สถานการณ์ปัจจุบันข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
“ หากดูจากสถิติสูงสุดของการส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ ICD ลาดกระบัง วันนี้เราต้องเวลานานถึง 15 ชั่วโมงต่อตู้สินค้า 1 ตู้ ซึ่งยอมรับบางครั้งอาจจะส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปยังท่าเรือแหลมฉบังไม่ทันด้วยซ้ำ การขนส่งตู้ตอนเทนเนอร์เฉลี่ยอยู่ที่ 6-8 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังเจอปัญหาการจราจราทั้งภายในและภายนอก พื้นที่ ICD อีกด้วย ซึ่งเป็นพื่นที่ก่อนเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิเกิดปัญหาจราจรเช่นเดียวกัน”
จุฑานุช ชุมมานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ ที เอ็น โลจิสติกส์ จำกัด นายกสมาคมขนส่งสินค้านำเข้า-ส่งออก เปิดเผยกับ “LOGISTICS TIME ” ถึงการใช้บริการพื้นที่ ICD ลาดกระบังในการขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออก และว่า ปัญหาจราจรนั้นเป็นปัญหาก่อนหน้านี้แล้ว ปัจจุบันนี้ยิ่งมีปัญหามากเป็นทวีคูณ เนื่องจากปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้นเกินกว่าพื้นที่ ICD ลาดกระบังจะรองรับได้ จึงทำให้การทำธุรกิจขนส่งตู้สินค้า การเลื่อนย้ายตู้สินค้าเป็นไปอย่างลำบากล่าช้า
การออกแบบพื้นที่ ICD ลาดกระบัง การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรทางบก (สนข.) ได้ออกแบบให้มีศักยภาพและมีขีดความสามารถรองรับปริมาณตู้ตอนเทนเนอร์ไว้ประมาณ 6 แสนตู้ ปัจจุบันปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ล้านตู้ หรือ 3 เท่าของพื้นที่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หากสรุปปัญหาทั้งหมด อย่างแรก การจัดการจราจรในพื้นที่ ICD ลาดกระบัง การออกแบบของ ร.ฟ.ท. และสนข. ออกแบบพื้นพักรถไว้ดีมากประมาณ 300 คัน แต่หลังจากนั้น การจัดการใน ICD อาจจะขาดบุคลากร ทำให้มีคนมาทำพื้นที่จอดรถใกล้กับพื้นที่พักรถตู้คอนเทนเนอร์ ดังนั้นจึงเป็นเหตุทำให้พื้นที่จอดรถใน ICD ไม่สามารถจอดได้ ต้องไปจอดริมถนนบ้าง หน้าถนนบ้าง
ปัญหาที่สอง การเพิ่มขึ้นของตู้สินค้าแต่ละ Terminal การจัดการรองรับจึงไม่ได้ไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น ประกอบการรถที่ที่รอเข้า Terminal ทำให้รถติดมากขึ้น และปัญหาสุดท้าย คือ พื้นที่บริเวณโดยรอบ ICD ลาดกระบังขึ้นตรงกับหลายหน่วยงาน นั่นคือ พื้นที่ ICD ลาดกระบัง ขึ้นอยู่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การดูแลจราจรขึ้นอยู่กับ กองตำรวจรถไฟ สน.รถไฟ มักกะสัน การปรับปรุงผิวจราจรขึ้นอยู่กับ กรมทางหลวง ส่วนการปรับปรุงพื้นที่ถนนขึ้นตรงกับ 3 สน.คือ สน.ร่มเกล้า สน.ฉลองกรุง และถนนมอเตอร์เวย์ขึ้นอยู่ตรงกับ ตำรวจทางหลวง สถานีใน ICD ลาดกระบังขึ้นอยู่กับ กรมการขนส่งทางบก เมื่อมีหลายหน่วยงานกำกับดูแลทำให้การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ยาก
จูฑานุช กล่าวว่า จากการประชุมร่วมและการสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดมากบริเวณ ICD ลาดกระบังร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย กองตำรวจรถไฟ สน.รถไฟมักกะสัน สน.ลาดกระบัง สน.ฉลองกรุง สน.ร่มเกล้า กรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหา ICD ลาดกระบังดังต่อไปนี้ ดั
ชงคมนาคมผ่าตัดใหญ่ ICD ลาดกระบั
การแก้ปัญหาระยะสั้น ผู้ประกอบการร่วมกลุ่มกัน โดยทางตำรวจรถไฟพร้อมร่วมมือแก้ปัญหาจราจร ซึ่งได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างดีจาก สน.รถไฟมักกะสัน ก็ได้ทำการเคลียร์พื้นที่และจับปรับผู้ใช้พื้นที่ไม่ถูกตัองตามกฎหมาย นอกจากนี้ สมาคมขนส่งสินค้านำเข้า-ส่งออก ได้ยื่นเรื่องไปถึงการการรถไฟฯได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากรองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. (นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ ) เพราะเล็งเห็นถึงความเดือนร้อนของผู้ประกอบการธุรกิจและพร้อมเร่งรัดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยทำการตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาโดยเร็ว การกำหนดแผนงานการจราจรใหม่ การออกแบบเขียนแผนการเดินรถใหม่ในพื้นที่บริเวณ ICD ลาดกระบัง น่าจะเป็นทางออกที่ดีในอนาคตอันใกล้
ส่วนระยะยาว ให้หาผู้เชี่ยวชาญทำวิจัย เพื่อเป็นแนวทางแก้ไข จากนโยบายของหลายภาคส่วน “เราได้รับการช่วยจากสมาพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย โดยเดินทางเข้าพบกับ นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้รับประเด็นนี้ไปพิจารณาเป็นนิมิตหมายที่ดีมากที่ทางรัฐบาลได้เร่งเห็นความสำคัญยิ่งดีที่จะช่วยเหลือทางผู้ประกอบการ”
อย่างไรก็ตาม หากแก้ปัญหาการจราจรได้จะทำให้การดำเนินธุรกิจสะดวกคล่องตัวมากขึ้น แม้ภาพโดยรวมของการส่งออกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ยอมรับว่าก็ยังทรงตัวอยู่ เพียงแต่ปริมาณตู้สินค้ากับพื้นที่ที่ออกแบบเอาไม่อาจรองรับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันปริมาณขยายตัวมากเพิ่มหลายเท่า ดังนั้น วันนี้จึงถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือแก้ไข เพื่อลดปัญหาความแออัด ตลอดจนการจัดการระยะสั้นควรเพิ่มบุตลากรช่วยระบายตู้สินค้าให้เร็วขึ้นอีกระดับหนึ่ง