ไฮสปีดเทรน สายอนาถา!

0
311
ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไป(ไหง) กลายเป็นบ้องกัญชา….
กับเรื่องของรถไฟความเร็วสูง”ไฮสปีดเทรน” สาย กรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 670 กม. โครงการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแท่นประเคนให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาร่วมออกแบบเส้นทางโครงการ และรูปแบบที่จะดำเนินการมาตั้งแต่เมื่อ2 ปีก่อน 
แต่ไม่รู้ไปทำกันอีท่าไหน หลังจากญี่ปุ่นเสนอผลศึกษาที่ดำเนินการมากว่า 2 ปีมาให้ ที่คาดว่าจะใช้วงเงินลงทุนราว 420,000 ล้าน โดยระยะแรกจะดำเนินการในเส้นทาง กรุงเทพ-พิษณุโลกก่อน วงเงินลงทุน 276,000 ล้านบาทนั้น ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดสุโขทัย ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดความเร็วของรถไฟไฮสปีดเทรนจาก 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง (medium speed train) ความเร็ว 180-200 กม.ต่อชั่วโมง โดยให้ศึกษาถึงความคุ้มค่าการลงทุน และการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบการร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ด้วย 
โดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจระบุว่า มีการเปรียบเทียบความคุ้มทุนกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กทม.-โคราช-หนองคาย ที่ในอนาคตจะเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงของจีนที่มีการผ่านทางลาว แต่เส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ไม่ได้ไปเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของจีน จึงต้องดูเรื่องแผนการใช้ประโยชน์ให้มีความคุ้มค่า โดยครม.ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการจัดทำรายละเอียดเพื่อนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมครม.ในปลายเดือนมีนาคมศกนี้อีกครั้ง
นัยว่าท่าทีของฝ่ายไทยข้างต้นทำเอาญี่ปุ่นถึงกับ “อึ้งกิมกี่”  โดยสำนักข่าวนิกเคอิของญี่ปุ่นถึงกับแสดงความแปลกใจต่อท่าทีของรัฐบาลไทยที่มีต่อโครงการนี้ โดยระบุว่าท่าทีของรัฐบาลไทยข้างต้นได้สร้างความแปลกใจให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งใช้เวลาถึง 3 ปี ในการทำงานกับเจ้าหน้าที่และวิศวกรของไทยเพื่อหวังจะแนะนำเทคโนโลยี “ชินคันเซ็น” (shinkansen)ไปทั่วโลก โดยหากลดความเร็วลงก็จะผิดไปจากความมุ่งหมายของฝ่ายญี่ปุ่น เพราะจะไม่ใช่สุดยอดเทคโนโลยีอีกต่อไป 
“แม้การลดความเร็วของรถไฟจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ เช่น การสร้างแผงกั้นเสียง แต่ต้นทุนที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างรางใหม่ 670 กม. จะไม่แตกต่างกันมากไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูงหรือความเร็วปานกลาง แต่รถไฟที่ช้าลงจะทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน เพราะผู้โดยสารจะหันไปใช้บริการเครื่องบินแทน”
ทั้งยังระบุด้วยว่า ประสบการณ์ของญี่ปุ่นที่ให้บริการรถไฟหัวกระสุนมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ระบุว่า รถไฟความเร็วสูงจะสูญเสียลูกค้าให้กับเครื่องบินหากต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า 3 ชั่วโมง โดยหากใช้ความเร็วที่ 300 กม.ต่อชั่วโมง เส้นทางจากกรุงเทพถึงเชียงใหม่ก็ยังต้องใช้เวลาเดินทางราว 3 ชั่วโมงครึ่ง ผู้โดยสารจำนวนมากจึงอาจเลือกใช้บริการสายการบินโลว์คอสต์แทน หากต้องใช้เวลาเดินทางนานขึ้น
ขณะที่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมต.คมนาคม ให้สัมภาษณ์กับสื่อญี่ปุ่นว่า โครงการนี้เป็น “win-win solution”สมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และเพื่อรับประกันว่าเทคโนโลยีชินคังเซนจะถูกใช้ตลอดไปทำไมฝ่ายญี่ปุ่นจึงไม่เข้ามาและทำโครงการร่วมกัน 
สำหรับ “เนตรทิพย์”แล้วบอกตามตรงเห็นอนาคตของรถไฟไฮสปีดเทรนสายนี้แล้วก็ได้แต่ปลงครับ และจะว่าไปไม่ว่าจะสายกรุงเทพ-โคราช-หนองคอย หรือกรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ จะสายไหนผมก็ไม่อินังขังขอบอะไรด้วยหรอก เพราะเชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วรังแต่จะทำให้ประเทศไทยแบกรับภาระหนี้ไปช่ัวลูกชั่วหลาน
แม้แต่รถไฟไฮสปีดเทรนสายกรุงเทพ-โคราช ไม่ต้องว่ิงปร่อไปถึงหนองคายหรอก แค่สายเดียว 179,000 ล้านบาทซ่ึงถึงเวลาจริงก็คงทะลักข้ึนไปอยู่ราว ๆ 200,000 ล้านบาทน้ันก็เชื่อแน่ว่าพอเปิดใช้งานจริงถึงเวลาน้ันก็ขอให้รัฐบาลที่ได้อนุมัติดำเนินการออกมาแสดงความรับผิดชอบความสำเร็จ ล้มเหลวของตัวโครงการด้วยก็แล้วกัน อย่าเที่ยวโยนว่าเป็นผลงานของใครอื่น
เพราะอะไรนะหรือ ?
ก็อย่างที่ผมตอกย้ำมาตลอด การเดินทางไปโคราชวันนี้ รัฐบาลได้ลงทุนสร้างมอเตอร์เวย์บางประอิน-โคราชวงเงินกว่า 84,000 ล้านบาทไปแล้ว ว่ิงปรู้ดเดียวไม่เกิน 2 ช่ัวโมงถึง แถมยังมีบริการรถไฟปกติ รถโดยสาร บขส.และรถตู้โดยสารสาธารณะให้บริการด้วยอีก จนไม่รู้ว่ารัฐบาลไทยจะลงทุนอะไรให้ม่ัวตุ้มได้ขนาดนี้ 
ส่วนผู้โดยสารรถไฟไฮสปีดเทรนนั้นยังไม่รู้จะมาจากไหน จะว่าเป็นนักท่องเที่ยวก็ไม่รู้นักท่องเที่ยวจากชาติไหนรึ ก็ในเมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวหรือการท่องเที่ยวเพิ่งจะแถลงข่าวไปวันวานเองว่า คนจีนนั้นรู้จักกับภาคอีสานน้อยมากจนแทบจะเป็นศูนย์(0) ส่วนนักธุรกิจรึเขาบ่ายหน้ามุ่งไปโน้นครับ “อิสเทิร์นซีบอร์ด”และเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี ชลบุรี ฉะเชิงทรา ระยองโน้นครับคนละซีกโลกกันเลย 
มาถึงไฉสปีดเทรนสายกรุงเทพ เชียงใหม่น้ีก็เช่นกัน หากเป็นไฮสปีดเทรนแบบ “ออริจินัล” ยังจะพอทำเนา อาจยังพอมีนักท่องเที่ยวฝรั่งมังค่า หรือคนไทยที่ขี้เกียจน่ังรถไฟเที่ยยวธรรมดาได้อยู่ หากสนนราคาค่าโดยสารอยู่ในระดับ 1,200-1,500 บาท/เที่ยวจริง กลัวแต่ว่าเอาเข้าจริง ค่าโดยสารมันจะทะลักไปเกิน 1,500-2,000 บาทแล้ว มีหวังได้ “เจ๊งตั้งแต่ในมุ้ง”แน่ เพราะค่าโดยสารกรุงเทพ-เชียงใหม่ของบรรดาสายการบินโลว์คอสต์ หรืิอบินท่ัวไปนั้นวันนี้ ขอโทษไป-กลับอยู่ที่ 2,500-3,500 บาทเท่านั้นเองครับ   
ยิ่งหากลดสเปคลงมาเป็น “ไฮสปีดเทรนสายอนาถา” ลงมาแข่งรถไฟดีเซลรางธรรมดาประเภทถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่างและต้องใช้เวลาเดินทางกันที 5-6 ชม.แล้วคงบอกได้คำเดียวครับ “เจ๊งตั้งแต่ในมุ้ง” แน่นอน”!!!
บทวามโดย :เนตรทิพย์