เหลือบไปเห็นผศ.ดร. ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ออกมาเผยรายงานปี 2561 ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิตอลเต็มรูปแบบ โดยมีมูลค่าเศรษฐกิจอยู่ที่ 3.15 ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้น 24.6% จากปีก่อนคิดเป็นสัดส่วน 19.42% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)ที่มีมูลค่า 16.26 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 5 ปี
โดยปัจจัยที่สนับสนุนให้เติบโต มาจากนโยบายของรัฐบาลทั้งอินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน, นโยบายไทยแลนด์ 4.0, ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ประกอบกับทิศทางธุรกิจที่ให้ความสำคัญเรื่องดิจิตอล จากแนวโน้มของเศรษฐกิจในปีหน้าขยยายตัวเกิน 4%
อย่างไรก็ตาม ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ยังระบุว่ามีปัจจัยที่น่ากังวลของการก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัล คือ “ความน่าเชื่อถือ” ในการเช้าถึงข้อมูลส่วนตัวและความปลอดภัย, โครงข่ายของการให้บริการอินเตอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุม, การหลอกขายสินค้าและบริการ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการจับจ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการค้าออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ
“ประเทศไทยถือว่าก้าวเข้าสู่ระบบ 4G อย่างรวดเร็วและเต็มประสิทธิภาพ เห็นได้จากการใช้อินเตอร์เน็ต การเข้าสู่ข้อมูลเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นต่างๆ มีความรวดเร็วมากขึ้น และยังสะท้อนได้จากการซื้อขายผ่านอี-คอมเมิร์ซเพิ่มสูงขึ้นทุกปี มียอดขายปะมาณ 2-3 ล้านล้านบาท และหากเทียบสัดส่วนต่อจีดีพีในระยะ 2 ปีข้างหน้า หรือปี 63 อาจจะอยู่ที่ 25% หรือ 1 ใน 4 ของจีดีพี ดังนั้น ช่องทางการขายสินค้าทางออนไลน์จะมีส่วนสำคัญมากขึ้น ประกอบกับ การลงทุนของภาครัฐในปีหน้าประมาณ 100,000-200,000 ล้านบาท การขายตัวเศรษฐกิจดีขึ้น การซื้อขาย จับจ่ายก็จะมีมากขึ้นด้วย”
ห้วงเวลาเดียวกัน ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทยเองก็ออกมาเปิดเผยผลการสำรวจวิจัยภาคสนามถึงอาชีพที่สุ่มเสี่ยงตกงานมากที่สุดในปี 2561 โดยระบุว่า “นักหนังสือพิมพ์-นักข่าวภาคสนาม” ถือเป็นอาชีพที่เสี่ยงตกงานมากที่สุด ด้วยเหตุที่ผู้คนหันไปเสพสื่อออนไลน์มากขึ้น!
โดยอาจารย์วชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวถึงผลสำรวจ 10 อาชีพเด่น-ร่วงปี 2561 ว่าอาชีพนักหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และผู้สื่อข่าวภาคสนาม เป็นอาชีพที่ติดอันดับ 1 ใน 10 อาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการตกงานมากที่สุด รวมถึงมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงในอาชีพและรายได้ ซึ่งสวนทางกับปริมาณผู้ที่จบการศึกษาในสาขานิเทศศาสตร์ที่มีจำนวนมากในแต่ละปี
เพราะผู้บริโภคสนใจข่าวสารจากสื่อโซเชียลมีเดียกันมากขึ้น ประกอบกับประชาชนทั่วไปก็สามารถรายงานสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นผ่านสื่อโซเชียลได้เองในรูปแบบถ่ายทอด หรืออัดคลิป “อาชีพนักหนังสือพิมพ์ นิตยสารและผู้สื่อข่าวภาคสนาม หากต้องอยู่รอดได้ในอาชีพ ต้องเน้นพัฒนาศักยภาพในหลายๆ ด้านเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และพัฒนาความรู้ให้เชี่ยวชาญ เพราะหากความสามารถแค่ระดับกลางๆ จะมีความเสี่ยง เพราะเด็กที่เพิ่งจบมา และมีศักยภาพพร้อมที่จะเข้ามาทำงานทดแทนได้ตลอดเวลา”
ประสาน “คนสื่อ” อ่านแล้วก็น่าใจหาย แถมเพื่อนพ้องในวงการก็ทยอยปิดตัวลงกันเป็นเบืออย่างล่าสุด นิตยสาร”คส.คส.-คู่สร้าง-คู่สม” ของคุณดำรง พุฒตาล ที่อยู่กับเมืองไทยมาอย่างยาวนาน38 ปียังมาปิดตัวเองลงไปอีกจากที่ก่อนหน้านิตยสารไลฟ์สไตล์อย่าง ดิฉัน และนิตยสารหัวไทย หัวนอกหลายเล่มได้ทะยอยปิดตัวลงไปด้วยอีก ทำให้น้ำหนักความน่าชื่อถือต่อผลสำรวจวิจัยนี้มามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อหันไปดูรายละเอียด 10 อันดับอาชีพที่เสี่ยงตกงานมากที่สุดกลับพบว่าอันดับ 1 คืออาชีพตัดไม้และช่างไม้ไม่มีฝีมือ ตามด้วย 2. พ่อค้าคนกลาง, ย้อมผ้า, บรรณารักษ์ และไปรษณีย์ด้านการส่งจดหมาย, พนักงานขายสินค้าหน้าร้าน, ตัดเย็บเสื้อผ้าโหล, ทำรองเท้า/ช่างซ่อมรองเท้า, เกษตรกรและครู-อาจารย์, แม่บ้านทำความสะอาด และสุดท้ายอันดับ 10 คือ นักหนังสือพิมพ์/นิตยสารและผู้สื่อข่าวภาคสนาม
ส่วนอาชีพที่มีความโดดเด่นมากที่สุดในปี 61 อันดับ 1 แพทย์ผิวหนังและศัลยกรรมจากกระแสรักสุขภาพและความงาม รองลงมาเป็นโปรแกรมเมอร์ วิศวกรซอฟต์แวร์ และนักพัฒนา นักวิเคราะห์ข้อมูล, นักการตลาดออนไลน์ และเน็ตไอดอล, นักการเงิน และนักออกแบบวิเคราะห์ระบบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที), กราฟฟิคดีไซน์ และนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร, นักวิทยาศาสตร์ด้านความงาม (คิดค้นเครื่องสำอาง) และอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว, ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพและอี-คอมเมิร์ซ, อาชีพในวงการบันเทิงและสถาปนิก, ครูสอนพิเศษ ติวเตอร์และอาชีพเกี่ยวกับโลจิสติก และสุดท้ายอาชีพนักบัญชี
อ่านแล้วก็ให้เคลิบเคลิ้มตาม แต่เมื่อพินิจพิเคาาะห์กันให้ดีจะเห็นว่ามันทะแม่งๆ ยังไงชอบกลจนไม่รู้จะเชื่อถืองานวิจัยชิ้นนี้ได้มากน้อยแค่ไหนครับ!
ประสาสื่ออย่างเราอาจารย์แน่ใจหรือว่า วิศวกรซอฟแวร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักการตลาดออนไลน์ เน็ตไอดอลอะไรน่ันคือ “ดาวรุ่ง”พรุ่งแรง ผิดกับแม่บ้าน ขนส่งไปรษณย์หรืออาชีพนักข่าว
ก็ในเมื่อคนยัง “เสพข่าว”กันอยู่ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์มากข้ึนแล้ว นักข่าวจะน่ิงเฉยอยู่ได้อย่างไร เวลานี้ก็เห็นสำนักข่าวต่าง ๆ ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด นักข่าวหัวเห็ดออกมาไลฟ์สด ไลฟ์ข่าว หรือวิเคราะห์ข่าวกันเป็นดอกเห็ดแต่ดูเหมือนอาจารย์จะยกมาเป็น Case study ที่มีแนวโน้มจะตกงานมากกว่าออชีีพอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในลำดับบ๊วยสุดของตารางเสียอีก
ที่สำคัญอาชีพคนยอมเสื้อผ้า ขนส่งไปรษณีย์ไทย หรือแม่บ้านน้ัน มาจากไหนรึ? คนย้อมผ้าในเมืองไทยมีอยู่กี่คหรือครับอาจารย์ อาจารย์ไปสำรวจแถมไหนถึงเจอคนตอบคำถามหยิบยกขึ้นมาเป็นอาขีพที่เสี่ยงตกงานมากที่สุดอาขีพหน่ึง ทำราวกับว่าน่าจะมีคนประกอบอาชีพนี้สัก 40,000-50,000 คนซะงั้น ทั้งท่ีเราก็รู้กันดี จะหาคนทำอาชีพนี้ให้ได้สัก 1 ในแสนคนยังยากเลย
ส่วนคนส่งไปรษรีย์จดหมายอะไรน้ันเขาเลิกส่งจดหมายกันมาต้ังแต่ปีมะโวแล้วครับ หันไปพัฒนาขนส่งพัสดุภัณฑ์ สินค้าโอทอป การส่ังซื้อสินค้าออนไลน์ที่ไม่ว่าอย่างไรสุดท้ายก็ต้องพ่ึงบริษัทไปรณีย์หรือไปรษณีย์เอกชนที่ผุดข้ึนมาเป็นดอกเห็ดรองรับการเติบโตของธุรกิจออนไลน์เหล่านี้กันหมดแล้ว ไม่ง้ัน ยักษ์ใหญ่อย่าง“อาลีบาบา”ของแจ๊คหม่าจะสนใจเข้ามาลงทุนในบ้านเราหรือ?
ส่วนอาชีพแม่บ้านนั้น ที่มันหายากก็เพราะคนเขาไม่อยากทำงานกันเอง มองว่าเป็นอาชีพต่ำต้อยท้ังที่เงินดีจะตาย หาไปนำเข้าแม่บ้านจากเพื่อนบ้านลาว พม่า ไทยใหญ่มาแทน
ผมตั้งข้อสังเกตุให้คนเสพข่าวยุคดิจิทัลได้คิดเท่านี้แหล่ะครับ ต่อให้เป็นงานวิจัยก็ต้องตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือเป็นสำคัญครับ!!!
บทความโดย : เนตรทิพย์