รพ.พญาไท 2 ฉลองครบรอบ 30 ปี รณรงค์ให้ดูแลสุขภาพ ป้องกันก่อนป่วยครอบคลุม 5 ช่วงวัยชีวิต

0
244

โรงพยาบาลพญาไท 2 น้อมนำพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรื่องการแพทย์และการสาธารณสุข “ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของ ประเทศชาติ ก็คือพลเมือง นั่นเอง” มาเป็นแนวคิดในการจัดกิจกรรมรณรงค์ ผลักดันให้สังคมมีสุขภาพดี “ไม่อยากให้ใครป่วยมาโรงพยาบาล” ให้ความรู้เรื่องการรักษาสุขภาพ ดูแล และป้องกันก่อนเจ็บป่วย

นพ.อนันตศักดิ์ อภัยรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวว่า ถ้าเราไม่อยากให้ใครป่วยมาเข้าโรงพยาบาล เราก็ต้องดูแลก่อนที่เขาเหล่านั้นจะเจ็บป่วย เราจึงต้องให้บริการข้อมูลสุขภาพที่เชื่อถือได้ในหัวข้อที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปปฏิบัติตาม หลีกเลี่ยงพฤติกรรม เสี่ยงซึ่งนำไปสู่โรคต่างๆ อาทิ “30 เคล็ดลับ สุขภาพเพื่อชีวิตดี 30 วิธีเปลี่ยนตัวเองให้ไกลโรค” รวมทั้ง หมั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง ด้วยแพคเกจสุขภาพตรวจรู้ก่อนป่วยครอบคลุมชีวิต 5 ช่วงวัย #อย่าปล่อยให้ป่วย

โดยแพคเกจอย่าปล่อยให้ป่วยทั้ง 5 ช่วงวัยของชีวิตครอบคลุมตั้งแต่ช่วงวัยแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ตอนต้นด้วยแพคเกจ อย่าปล่อยให้ลูกแป้ก ตรวจฮอร์โมนการเจริญเติบโต ซึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการทั้ง ด้านร่างกายและจิตใจของเด็กให้เป็นไปตามวัย แพคเกจอย่าปล่อยให้ลูกแปรปรวน กับการติดเกม ดูแลช่วงชีวิตวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเปลี่ยนแปลงจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ มีอารมณ์แปรปรวน เป็นวัยที่เข้าถึง ยากและบางครั้งเด็กหันเข้าหาเกมจนเกิดอาการติดเกมที่อาจส่งผลกระทบต่อทั้งสายตา และสภาพทาง อารมณ์ แพคเกจอย่าปล่อยให้ปวด ดูแลช่วงชีวิตวัยทำงาน ที่บางครั้งเกิดความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อ ตึงตัว บางส่วนนั้นอาจเกิดจากโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไซนัสอักเสบ เนื้องอกในสมอง ไม่ว่าจะเกิด จาก สาเหตุใดควรได้รับการวินิจฉัยตรวจคัดกรองเพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่กระทบต่อหน้าที่ การงาน อย่าปล่อยให้เปลี่ยน ดูแลช่วงวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ ที่เน้นในเรื่องการใช้ชีวิตในภาวะ วัยทองให้มีความสุขซึ่ง เกิดขึ้นได้กับทั้งหญิงและชาย ตั้งแต่การตรวจสมรรถภาพหัวใจ ตรวจมะเร็งอวัยวะ สำคัญต่างๆ หรือ ตรวจเช็คกระดูกและข้อ รวมถึงผิวพรรณและความงาม เป็นต้น

 “แนวโน้มสุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน มีการเจ็บป่วยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเรียกว่า โรคสมัยใหม่ หรือในกลุ่ม NCDs โรคที่เราสร้างขึ้นเอง ที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ด้วยการเปลี่ยน พฤติกรรมส่วนบุคคล เช่น พฤติกรรมการกินอาหาร ความเครียด การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา การขับขี่ ยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งถ้าเราสามารถป้องกันโรคเหล่านี้ให้เกิดน้อยลงได้ในสังคมไทยก็จะมี ส่วนช่วยทำให้เกิดสังคมสุขภาพดี มีประชากรที่มีคุณภาพในการช่วยกันพัฒนาประเทศ ตามพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเห็นว่า ร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีตามไปด้วย” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวเสริม

ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมากทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ประกอบกับอัตราการเกิดที่ลดลงทำให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันไทยมีสัดส่วน วัยสูงอายุเกิน 65 ปี มากถึงร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคน ผลที่ตามมาคือจะเกิดเป็นความรับผิดชอบ ของรัฐและสังคมส่วนรวม ที่จะต้องจัดการดูแลทั้งด้านสวัสดิการค่าใช้จ่าย ไปจนถึงการดูแลทางด้าน สาธารณะสุข ซึ่งจะทำให้กระทบต่อความมั่นคงของประเทศหากจัดการไม่ดีพอ

“เราก็พอมองเห็นภาพแนวโน้มของภาวะความเจ็บป่วยของประชากรที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้สูงอายุย่อมมีโอกาสเจ็บป่วยมากกว่าคนอายุน้อย ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยมากขึ้น โรคของผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน โรคความจำเสื่อม อัมพฤกษ์อัมพาต โรคเกี่ยวกับกระดูกและฟัน โรคเหล่านี้ต้องการการรักษาต่อเนื่อง โรคของผู้สูงอายุเหล่านี้ จะเพิ่มภาระในการดูแลรักษาให้กับสังคมไทยในอนาคต แนวทางที่ดีในการหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วย คือ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย ซึ่งต้องดูกัน ตั้งแต่เริ่มต้นวัยเด็ก ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของโรงพยาบาลพญาไท 2 นอกเหนือไปจากการให้การดูแล ผู้ป่วยอย่างดีที่สุด เพื่อให้ออกไปใช้ชีวิตกับครอบครัว และสังคมอย่างมีความสุข” นพ.อนันตศักดิ์ทิ้งท้าย