เมื่อรถไฟจะปฏิรูปตัวเอง!

หลังจาก "บิ๊กตู่"งัด ม.44 ปลดฟ้าผ่า วุฒิชาต กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟไป จะเป็นเรื่องของการเซ่นความล่าช้าในการขับเคลื่อนและดำเนินโครงการต่างๆ ของการรถไฟ หรือเซ่นประเด็นเรื่องออื้อฉาวภายในหน่วยงานที่นัยว่าคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นอายทุจริตหรือไม่ แต่หลายฝ่ายก็ต้ังความคาดหวังทั้งบอร์ดและฝ่ายบริหารใหม่ของการรถไฟ คงจะต้องพิสูจน์กึ๋นตัวเองอย่างหนักจากควันหลงของ ม.44 หนนี้แน่

0
501

หลังจาก “บิ๊กตู่”งัด ม.44 ปลดฟ้าผ่า วุฒิชาต กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟไป จะเป็นเรื่องของการเซ่นความล่าช้าในการขับเคลื่อนและดำเนินโครงการต่างๆ ของการรถไฟ หรือเซ่นประเด็นเรื่องออื้อฉาวภายในหน่วยงานที่นัยว่าคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นอายทุจริตหรือไม่ แต่หลายฝ่ายก็ต้ังความคาดหวังทั้งบอร์ดและฝ่ายบริหารใหม่ของการรถไฟ คงจะต้องพิสูจน์กึ๋นตัวเองอย่างหนักจากควันหลงของ ม.44 หนนี้แน่ 
ส่วนเรื่องที่คาราคาซังที่คงจะเป็นงานหินของรักษาการผู้ว่ารถไฟคนใหม่ ไม่เพียงจะเป็นการเร่งเครื่องโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ 5 สายทางในเฟสแรกที่ยังยักแย่ยักยันไม่ไปไหน และเฟส 2 ที่การรถไฟฯกำลังโม่แป้งอยู่แล้ว ยังมีโครงการพัฒนาจัดประโยชน์โครงการมักกะสัีนคอมเพล็กซ์ พื้นท่ี 497 ไร่นี้อีกโครงการ
หลังจากกระทรวงการคลังต้องพับแผนพัฒนาที่ดินมักกะสัน 457 ไร่มูลค่ากว่า 200,000 ล้านแลกกับการล้างหนี้สะสมของรถไฟ 61,000 ล้านบาท เพราะติดกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินผืนดังกล่าวที่ได้มาก่อนปี 2521 ทำให้ติดข้อจำกัดในการนำไปพัฒนาจัดประโยชน์จนต้องโยนกลับไปให้รถไฟดำเนินการเอง 
ท่ามกลางความลิงโลดของคนรถไฟที่ตั้งป้อมคัดค้านการโอนที่ดินไปให้ธนารักษ์ตั้งแต่ต้น ก่อนจะปัดฝุ่นแผนพัฒนาที่ดินมักกะสันเดิมที่ทำการศึกษาไว้ตั้งแต่ปีมะโว้กลับมานำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ซ่ึงก็ยังคงต้องลุ้นกันอีกหลายเฮือกเพราะจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดทำแผนใช้หนี้สะสมของรถไฟนับแสนล้านด้วยนั้น
แม้การรถไฟฯและกระทรวงคมนาคมจะตีปี๊บแนวทางในการพัฒนาที่ดินมักกะสัน รวมทั้งทำเลทองผืนอื่น ๆ ที่เตรียมนำออกมาจัดประโยชน์สร้างรายได้เข้าองค์กร เพื่อล้างหนี้ขาดทุนสะสมที่มีอยู่นับแสนล้านบาท แต่ศักยภาพของคนรถไฟฯจะสามารถดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน หลายฝ่ายแสดงความกังวลอยู่
เพราะหากทุกฝ่ายจะได้ย้อนรอยการดำเนินงานของรถไฟ เอาแค่การบริหารจัดการในส่วนที่เป็น Core Business เองก็ยังลุ่มๆดอนๆ ไม่สามารถจะบริหารกิจการให้มีกำไรได้ จึงย่ิงไม่ต้องพูดถึงการจัดประโยชน์ในที่ดินรถไฟถึงขั้นจะดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนและพัฒนาว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหน  
ดูอย่างโครงการสรรหาเอกชนเพื่อร่วมลงทุนเป็นผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง(ไอซีดี)ที่ลาดกระบังมูลค่ากว่า 40,000 ล้าน ที่การรถไฟออกประกาศเชิญชวนเอกชนเข้ายื่นข้อเสนอ“ร่วมลงทุน”นั่นปะไร แม้จะเป็นโครงการสำคัญของการพัฒนาการขนส่งทางรางและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสัมปทานเดิมที่มีอยู่กับเอกชน 6 รายได้สิ้นสุดลงไปตั้งแต่ปีมะโว้ 2554 แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการประมูลสัมปทานใหม่ ได้แต่เปิดทางให้ผู้ประกอบการรายเดิมบริหารกันไปแบบปีต่อปี ไม่รู้เม็ดเงินหล่นหายเข้ากระเป๋าใครต่อใครกันบ้าง! 
บทที่การรถไฟจะลุกข้ึนมาดำเนินการจริงๆ กลับเจอกับกำลังภายในใครต่อใครก็ไม่รู้ยื่นมือเข้ามาล้วงลูกจนโครงการประมูลต้องล้มลุกคลุคลานไม่ไปไหน การรถไฟเปิดให้เอกชนเข้ายื่นข้อเสนอไปตั้งแต่ 15 มิ.ย.2558 โดยมีเอกชนสนใจยื่นข้อเสนอ 3 รายประกอบด้วย บริษัทคอนเทนเนอร์ ดีโป้ กรุงเทพจำกัด ,กิจการร่วมค้าอาร์ซีแอล แอนด์แอทโซซิเอทส์ และกิจการร่วมค้าเอ แอล จี(ประเทศไทย) ซึ่งเป็นนักลงทุนทั้งจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไต้หวัน 
แต่ยังไม่ทันเริ่มต้นก็ถูกผู้ประกอบการรายเดิมยื่นฟ้องศาลปกครองให้ระงับการดำเนินการเอาไว้ กว่าจะเคลียร์หน้าเสื่อจนศาลยอมยกเลิกการทุเลาคดีให้ก็ปาเข้าไปเป็นปีและเปิดให้้เอกชนยื่นข้อเสนอกันใหม่เมื่อ16 พ.ค.59 ประกาศผลเมื่อ 8 มิ.ย.59 ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มล้วนผ่านคุณสมบัติ แต่การรถไฟก็ขอเลื่อนการเปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิคไปซะงั้น อ้างมีปัญหาเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติบางประการจำเป็นต้องขอรับความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ(สคร.)ก่อน 
ก่อนจะมาเปิดซองเทคนิคกันเอาในปลายปี 59 ที่ผ่านมาซึ่งก็ปรากฏว่ากิจการร่วมค้าเอแอลจี(ประเทศไทย)ผ่านเพียงรายเดียว แต่แล้วการรถไฟก็ส่ังล้มการประมูลลงไปดื้อๆ เมื่อวันที่ 11 ม.ค.2560 ที่ผ่านมาก่อนเปิดซองราคาเพียงวันเดียว ด้วยข้ออ้างเกิดความไม่โปร่งใสในการประมูลทำเอานักลงทุนเหวอไปตามๆ กัน รายที่นอนมาว่าจะชนะประมูลเลยยื่นฟ้องศาลปกครองไปเมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา ซ่ึงก็คงต้องว่ากันเป็นมหากาพย์อีกแน่และคงทำให้เส้นทางการประมูลไอซีดีรอบใหม่อาจต้องทอดยาวข้ามทศวรรษกันอีกหน! 
ก็ไม่รู้ว่าท่านรองนายกฯสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ก่อนหน้าเดินทางไปให้นโยบายแก่บอร์ดรถไฟ และกระทรวงคมนาคม และกำชับให้การรถไฟดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนจะ “ปลดล็อค” ปัญหาที่คนรถไฟวางยากันไว้นี้อย่างไร เพราะขนาดเป็นโครงการที่ยืนยันเป็นม่ันเหมาะว่า เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาการขนส่งระบบรางและเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศ ก็ยังม่ัวตุ้มกันได้ถึงเพียงนี้ 
หรืออย่างโครงการพัฒนาที่ดินรถไฟกม.11และที่ดินอันเป็นที่ตั้งศูนย์ฝึกอบรมการรถไฟ บริเวณเดียวกับโรงเรียนวิศวการรถไฟหลังตึกเอนเนอยี่นั้น  บมจ.ปตท.ดำเนินการพัฒนาให้มาเสียดิบดี สรา้งศูนย์อาหารสุดโมเดิร์นอลังการ์แต่สุดท้ายก็ต้องจอดแป๊กเมื่อเจอคนของสหภาพรถไฟยื่นเรื่องคัดค้านมันเอาไว้อย่างน้ัน อ้างว่าจ่ายผลตอบแทนแก่การรถไฟต่ำไปบ้าง เอาเปรียบรถไฟบ้าง จะขอมาทำเองบ้าง จะให้เอกชนรายใหม่เข้ามาดำเนินการบ้าง สุดท้ายวันนี้ศูนย์อาหารหลังตึกเอนเนอยี่คอมเพล็กซ์แทบจะกลายเป็นสลัมแล้วในวันนี้   
แล้วฝันจะคิดทำการใหญ่จะทำโครงการ มักกะสันคอมเพล็กซ์ระดับแสนล้าน!!! 
เนตรทิพย์