ฤา?ใครอยู่เบื้องหลัง“สายแบก”กี่ยุคกี่สมัยก็ฆ่าไม่ตาย!

0
82

กลายเป็นเทรนด์ร้อนระอุแตกแหวกเปลวแดดจริงๆในช่วงนี้กับปรากฎการณ์ข่าวสารบ้านเมืองบนหน้าสื่อทิ่บรรดาบิ๊กจอมแฉปากกล้าดาหน้าออกมาแฉ-เปิดโปงเบื้องหน้าเบื้องหลังพร้อมฟาดงวงฟาดงาใส่กันจนะเละตุ้มเปะ ทั้งปมทุนสีเทาคละเคล้ากลิ่นเน่าเฟะวงจรอุบาทว์พนันออนไลน์ลากลำไส้ใหญ่ไปถึงแวดวงนักกินบ้านกินเมือง

สรุปแล้วไอ้เรื่องฉาวโฉ่แต่ละปมปัญหานั้น ใครกันแน่คือตัวการใหญ่หนุนอยู่เบื้องหลัง หรือใครคือไอ้โม่งอยู่เบื้องหลังซ้อนเบื้องหลังที่แท้ True ???

ตัดภาพมาในแวดวงสิงห์รถบรรทุกว่าด้วยการบรรทุกน้ำเกินที่กฎหมายกำหนดหรือที่รู้กันดีในป่าดงดิบสิบล้อว่า“สายแบก”ไม่ว่าจะอยู่ในยุคพระเจ้าเหายังทรงพระเยาว์ในตำนานสู่รุ่นคุณหลานๆในยุคสื่อโซเชียลยึดครองโลกก็ตามท ทว่า ตำนานสายแบกก็ยังฆ่าไม่ตายไม่หลุดเทรนด์แต่อย่างใดแม้ภาครัฐจะงัดบทลงโทษตามกฎหมายให้หนักหน่วงหวังขจัดปัญหาหนักอกนี้เพื่อลดผลกระทบต่อถนนหนทางให้พังเสียหาย

ที่ว่ากันว่าแต่ละปีภาครัฐต้องทุ่มงบประมาณเพื่อจ่ายค่าซ่อมบำรุงถนนที่พังในแต่ละปีบานตะไทหลายหมื่นล้านบาทอะไรพันธุ์นั้น!ทว่า สายแบกยังคงหนังเหนียวเฟี้ยวซ่าส์ทุกหยดชนิดไม่เคย dead ห่าไปจากวงจรอุบาว์นี้ จนเป็นที่น่าสงสัย&มิติพิศวงว่าฤา?ใครกันแน่ที่หนุนอยู่เบื้องหลัง ตำนานสายแบกที่กี่ยุคกี่สมัยก็ฆ่าไม่ตายซะที!

เคยมีผู้รู้วิเคราะห์เอาไว้อย่างน่าสนใจว่าปัญหาแบกน้ำหนักที่ยังแก้ยังไงก็แก้ไม่ตกก็เพราะมันมี“ทฤษฎีสมประโยชน์”เหนี่ยวรั้ง&ฝั่งรากลึกในกมลสันดานผู้ประกอบการ-เจ้าหน้าที่รัฐน้ำเลวบางคนบางกลุ่มสุ่มหัวก่อการขบวนการจ่าย“ค่าบรรณาการ”หรือ “ส่วย”ในแต่ละพื้นเป็นใบเบิกทางให้สายแบกได้วิ่งสะดวกโยธิน

จริงหรือไม่จริง?…วิญญูชนทั้งหลายไปคิดวิเคราะห์กันเอง!

เหลือบไปดูสถิติการจับกุมสิงห์รถบรรทุกน้ำหนักเกินปีงบ 66 (ระหว่าง 1 ต.ค.65-26ก.พ.66)โดยสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ (สคน.) กรมทางหลวง พบว่ามีผู้ฝ่าฝืน 1,567คัน โดยมีรถบรรทุกประเภทสินค้าเกษตรนำโด่งถึง 27% รองมาเป็นสายบรรทุก“หิน-ดิน-ทราย”25% วัสดุก่อสร้าง 13 % บรรทุกไม้ 11% เครื่องจักรหนัก 3% รถขนน้ำมัน แก๊ส และของเหลว 2% และอื่นๆอีก 10%

ซึ่งดูสถิติในแต่ละเดือนหรือแต่ละขวบปีงบประมาณก็ยังไม่มีทิศทางขาลงในเชิงสถิติแม้ภาครัฐจะเข้มงวดกวดขั้นก็ตาม!

ทั้งนี้ ว่าด้วยตัวบทกฎหมายเอาผิดบรรทุกหนักเกินเอาไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 และพ.ร.บ.ทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 61 ซึ่งกำหนดไว้ว่าเพื่อรักษาทางหลวง ป้องกันกำกับและตรวจสอบการบรรทุกน้ำหนักเกินมาตรฐานรถบรรทุกขนส่งที่สัญจร ให้เกิดความปลอดภัย และป้องกันการชำรุดพื้นผิวถนนในระยะยาว ช่วยประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงถนน รวมทั้งไม่ทำให้ถนนชำรุดเร็ว สัญจรสะดวก และปลอดภัย เป็นไปตามกฎหมายกำหนด

โดยห้ามใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่กําหนด ซึ่งอาจทําให้ทางหลวงเสียหาย และการกระทำผิดดังกล่าวจะได้รับโทษตามมาตรา 73/2 ต้องระวางโทษจําคุกไม่หกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

นอกเหนือจากการแบกน้ำหนักที่มีผลต่อถนนหนทางที่แต่ละปีภาครัฐต้องจ่ายค่าซ่อมบำรุงถนนที่พังในแต่ละปีหลายหมื่นล้านบาทแล้ว การแบกน้ำหนักยังส่งผลกระทบต่อ“ห่วงโซ่ระบบการแข่งขัน”เกิดการเสียเปรียบเมื่อเข้าเสนอราคาค่าบรรทุกแข่งสำหรับผู้ประกอบการที่ “ยึดกฎหมาย”เป็นหลัก เพราะต้องแบกต้นทุนต่อตันที่แพงกว่ากลุ่มรถบรรทุกสายแบกที่“ละเมิดกฎหมาย”กลายเป็นความหายนะการแข่งขันบนกติกาที่ไม่เป็นธรรม

ที่น่าตกใจมีข้อมูลเชิงลึกระบุว่ารถบรรทุกเกือบ 1 แสนคันที่วิ่งบรรทุกน้ำหนักเกินได้ไม่สะทกสะท้าน เพราะมีการ“จ่ายส่วย”ให้เจ้าหน้าที่รัฐน้ำเลวบางกลุ่มเปิดทางให้วิ่งได้สนุกตรีนไม่สนไม่แคร์ที่ใครต่อใครจะเดือดร้อน

เมื่อหวยออกมาเบอร์นี้!ฤา?ส่วย”นี่เองคือตัวการใหญ่อยู่เบื้องหลังให้ตำนานสายแบกเหิมเกริม&ฆ่าไม่ตายซะทีแม้จะผ่านช่วงเวลากี่ยุคกี่สมัยก็ตาม

ถ้าเป็นเยี่ยงนี้แล้วล่ะอีกกี่ปีกี่ชาติวงจรอุบาทว์นี้…ก็ไม่มีวันตายไปจากสังคมไทย!…คงชาติหน้าตอนบ่ายๆ!?