ดร.ชุมพล สายเชื้อ นายก TTLA ปักมุดแพลตฟอร์มกลางเทียบชั้น LASADA

0
582

:    “หัวใจสำคัญที่สุด อยู่ที่การทำการตลาดอย่างเข้มข้น อย่างเช่น แพลตฟอร์ม  “ Lasada” หรือ “ Amazal ” กว่าจะมีคนรู้จักและนิยมแพร่หลาย แพลตฟอร์มเหล่านี้ต้องทำการตลาดมากมาย

 ภายหลังรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการในเฟส 5   เพื่อมุ่งใส่เกียร์เดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่ได้ผลกระทบจากโควิด-19  หลังหยุดชะงักในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา   ขณะเดียวกัน การแข่งขันธุรกิจยุค “ดิจิทัล ดิสรัปชั่น” การขับเคลื่อนธุรกิจจำเป็นต้องปรับลุกให้สอดคล้องรองรับการเปลี่ยนแปลง    เพราะเป็นโจทย์ที่ท้าทาย   หากไม่เร่งดำเนินการอาจพลาดท้าตกเวทีแข่งขันทางธุรกิจในยุดดิจิตอลยุดแห่งการเปลี่ยนแปลงก้าวสู่ยุด 4.0      

 ล่าสุด  เมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา สมาคมขนสินค้าและโลจิสติกส์ไทย(TTLA)  ได้จัดงานเสวนา  ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาการแพลตฟอร์มกลาง  เพื่อยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์สู่มืออาชีพ ” โดยมีตัวแทนภาครัฐ  และภาคเอกชนด้านโลจิสติกส์เข้าร่วมรับฟังคับคั่ง  ทั้งมีการ แลกเปลี่ยนความรู้  และสะท้อนมุมมองด้านการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน   ณ สถานีขนส่งสินค้าพุทธมณฑล  จ.นครปฐม

 ดร.ชุมพล สายเชื้อ นายกสมาคมขนสินค้าและโลจิสติกส์ไทย(TTLA) เปิดเผยกับ  LOGISTICS TIME ถึงที่มาที่ไปการจัดเสวนาครั้งนี้ว่า  แพลตฟอร์มกลางเปรียบเสมือนพื้นที่กลางหรือตลาดนัด เพื่อทำให้ผู้ซื้อ-ผู้ขายได้พบกันที่มีหลากหลาย ทั้งผู้ซื้อ – ผู้ขายมารวมกัน  นี่คือหลักคิดและแนวทางของสมาคม TTLA   ปัจจุบันการทำธุรกิจในยุดดิจิทัล ดิสรัปชั่น ที่อยู่บนแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เราคุ้นเคย เช่น  Grab  Face book  เหล่านี้ต่างก็เป็นแพลต์ฟอร์มทั้งสิ้น    ซึ่งสอดคล้องกับปัจจุบันที่ผู้ซื้อ หรือผู้ต้องการใช้รถขนส่งสินค้าก็ไม่มีการหารถขนส่งตามพุทธมณฑลแล้ว    แต่มักจะค้นหาตามแอพพลิเคชั่น ตามแพลตฟอร์มต่างๆ ในการเรียกรถขนส่งสินค้าเพื่อให้บริการ

 ขณะเดียวกัน  ผู้ให้บริการมักจะร่วมกลุ่มกัน เช่น กลุ่มไลน์  กลุ่มเพลทใน Face book  เพื่อรับงานร่วม กัน  เช่นเดียวกับ กลุ่ม Grab   ซึ่งตอบโจทย์ต่อสินค้าเกี่ยวกับ Food Delivery   แต่หากเป็นสินค้ากลุ่มอื่น ๆอาจมีข้อจำกัด   อีกทั้ง ธุรกิจขนส่งสินค้า อย่าง เช่น บริษัท  Kerry  บริษัท ไปรษณีย์ไทย มีการใช้แพลตฟอร์ม เป็นเครื่องมือขนส่งสินค้าและบริการ   สิ่งต่างๆเหล่านี้ที่เกิด เรามองว่า ทำให้ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการเกิดความสับสนไม่สะดวกในการเลือกใช้   

ดังนั้น   เราจึงเกิดแนวติดจัดทำแพลตฟอร์มกลาง ขึ้น เพื่อตอบโจทย์ในการเลือกใช้บริการในทีเดียวกัน เพื่อความสะดวกไม่สับสน ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น  เช่น ผู้ใช้บริการจะเลือกใช้บริการด้านไหน  ส่งสินค้าอะไร

TTLAจับมือพันธมิตรพัฒนาแพลตฟอร์มกลาง

 สำหรับแนวทางการดำเนินงาน ภายใต้หลักคิดเกี่ยวกับการจัดทำ แพลต์ฟอร์มกลาง   เพื่อต้องการสร้างประโยชน์ต่อการแข่งขันทางธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์  โดยร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยกระทรวงพาณิชย์  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กรมการขนส่งทางบก  และกระทรวงดิจิตอล  อย่างไรก็ตาม  ในงานเสวนาดังกล่าวก็มีผู้ประกอบการขนส่งเข้าร่วมเสนาประมาณ 10 ราย  ทำให้เกิดมุมมองหลากหลาย    ผู้ประกอบการบางรายพบว่า มีการดำเนินงานกว่า 10 ปีแล้ว    การพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆนั้นไม่ควรทำซ้ำซ้อนหรือทำตามรายอื่น  หากแต่ควรอัพเดทและมีการพัฒนาต่อยอดดีกว่า

ทั้งนี้  การพัฒนาแพลตฟอร์มกลาง ในเบื้องต้นสมาคม TTLA ประกาศเป็นพันธกิจตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา  เริ่มทำการศึกษาแพลตฟอร์มต่างๆว่าเป็นอย่างไรบ้าง   ส่วนในการเสวนาเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา   เราพร้อมจะออกแบบแพลตฟอร์มกลาง  และคาดว่าอีก 2- 3 เดือนจะพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการระดมทุน การจัดหางบประมาณ  เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานต่อไป  คิดว่า ขบวนการพัฒนาแพลตฟอร์มอาจจะใช้ระยะเวลาอีกไม่นาน   เพราะในทางเทคนิคหลายแพลตฟอร์มพร้อมจะเชื่อมต่ออยู่แล้ว ตาดว่าประมาณ 6 เดือนจะน่าพร้อม

  “ แต่สิ่งเป็นห่วงภายหลังเราได้ แพลตฟอร์มกลาง คาดว่าช่วงปลายปี แล้ว  จะเกิดความนิยม คนเข้ามาใช้บริการมากๆ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงและเป็นการบ้าน  ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือหลายๆภาคส่วน  แพลตฟอร์มจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีผู้ใช้บริการและผู้รับบริการ   ดังนั้น หากดำเนินการเรื่องนี้ให้สำเร็จคนเดียวทำไม่ได้ แต่ต้องเกิดจากความร่วมมือหลายๆฝ่าย ”

คาดหวังแพลตฟอร์มทัดเทียม  “Lasada”   “ Amazal ”

 ในส่วนของผู้ให้บริการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นสมาชิกจะตั้งต้นจากกลุ่มผู้ประกอบการรถบรรทุก  เราก็มีสมาชิกทั้งสมาพันธ์ สหพันธ์ ประมาณ 5-6 แสนคัน พร้อมให้บริการจำนวนมาก  ขณะเดียวกัน เราพยายามเชื่อมโยงกับแหล่งงานหรือผู้ว่าจ้าง ทั้งภาคเอกและภาครัฐ กระทรวงพาณิชย์ ร้านธงฟ้าประชารัฐ  ตลอดจน กลุ่มซัพพลายเออร์ โรงงานต่างๆ  รวมทั้ง สมาคมองค์กรวิชาชีพต่างๆ   กลุ่มค้าส่ง ค้าปลีก กลุ่มบุคคลภายนอก  กลุ่มเหล่านี้สามารถมาเข้าร่วมกับเราได้  ทั้งหมดที่กล่าวมาร่วมกับเรา  แพลตฟอร์มดังกล่าว ก็จะกลายเป็นที่นิยม  

“ ดังนั้น การพัฒนาแพลตฟอร์มในก้าวต่อไป  เราก็ต้องทำการบ้านด้านการตลาดอย่างมาก  การพัฒนาแพลตฟอร์มไม่ยาก แต่การทำให้แพลตฟอร์มมีการคนเข้ามาใช้ร่วมบริการมากๆ หัวใจสำคัญที่สุด อยู่ที่การทำการตลาดอย่างเข้มข้น อย่างเช่น แพลตฟอร์ม  “ Lasada” หรือ “ Amazal ” กว่าจะมีคนรู้จักและนิยมแพร่หลาย แพลตฟอร์มเหล่านี้ต้องทำการตลาดมากมาย ”

จุดมุ่งหมายการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางที่รวบรวมแพลตฟอร์มต่างๆเข้ามาไว้ในจุดเดียวกันก็จะง่าย เราก็เหมือนเป็นตัวกลางสร้างให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดได้มาอยู่ในพื้นที่กลางนี้ ที่เราเรียกว่าระบบนิเวศน์ธุรกิจดิจิทัล ทุกคนทุกภาคส่วนสามารถเห็นกันและกัน สร้างความสะดวก ลดเวลา และต้นทุนในการค้นหารวมถึงการบริการจัดการที่ไม่ซ้ำซ้อนภายใต้ 3 ลำดับของการจัดการ

 อันดับแรกตามแนวพื้นฐานเราเป็นตัวกลางในการเชื่อมให้ทุกคนมาเจอกัน ใครจะตกลงให้บริการอะไรกันอย่างไรก็เป็นไปคุยในรายละเอียดกันเอง เราเพียงแค่เปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้มาเจอกันได้ง่ายขึ้น อันดับต่อไปเราจะเพิ่มการคัดกรองวัดผลประเมินผลเพื่อให้ดาวให้เกรดให้แต้มกับการให้บริการภายใต้คุณภาพและมาตรฐานการให้บริการของแต่เจ้า เพื่อให้ผู้ใช้บริการสะดวกในลดความเสี่ยง และช่วยให้การตัดสินใจในการเข้ารับการบริการได้ง่ายมากขึ้น

ดร.ชุมพล  กล่าวถึงความคาดหวังในการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางว่า  เป้าหมายอยากทำให้กลายเป็นมืออาชีพ   นั่นคือหวังว่า ผู้บริโภคใช้แพลตฟอร์มเป็นหลัก  ฉะนั้น เราก็ต้องพัฒนาและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน  ขณะเดียวกัน ภายใต้แพลตฟอร์มมีการแข่งขัน  หากมีลูกค้าดีๆมีดาวเยอะๆก็จะได้ไปต่อ เพราะฉะนั้น เท่ากับการคัดกรองตามหลักเศรษฐศาสตร์  เปิดแล้วทำการให้บริการที่ดี  ราคาเหมาะสม ก็จะอยู่ได้  ส่วนชื่อแพลตฟอร์มกลาง   ขณะนี้ เรายังไม่ได้คิดชื่อว่าควรชื่ออะไรจึงเหมาะสม แต่โอกาสต่อไปคาดว่าจะได้ชื่อแน่นอน