ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย แสดงวิสัยทัศน์การบริหารงาน กทท.

0
945

เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย แสดงวิสัยทัศน์ในการบริหารงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการท่าเรือฯ สู่การเป็นท่าเรือชั้นนำด้วยระบบบริหารจัดการที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากลเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาบริการของการท่าเรือฯ ให้มีมาตรฐานเทียบเท่าท่าเรือชั้นนำระดับโลก เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของการท่าเรือฯ และประเทศโดยรวม ได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารงานบริการ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันโดยมีกลยุทธ์การดำเนินการ ดังนี้ เร่งรัดการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 เพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับสินค้า ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในอาเซียน ยกระดับการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพให้เป็นท่าเรือกึ่งอัตโนมัติ (Terminal Automation) พัฒนาบริการด้านการบรรจุและจัดเก็บสินค้า สร้างสถานีบรรจุสินค้าส่งออก CFS รวมทั้งการเร่งพัฒนาเพิ่มศักยภาพท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ท่าเรือระนอง ให้เป็นประตูการค้าหลัก พัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Intermodal Transport Hub)

ด้วยการพัฒนาและขยายบริการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การพัฒนาธุรกิจขนส่งสินค้าชายฝั่งอ่าวไทย การพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก (Dry Port) โครงการพัฒนาเขตปลอดอากร (Free Trade Zone)

การพัฒนาการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ในเชิงธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้างมูลค่าเพิ่ม  โดยการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อบริหารจัดการและดำเนินการในรูปแบบธุรกิจเอกชน

การพัฒนาขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิตอล โดยเร่งรัดการพัฒนาระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลและการบริหารแบบบูรณาการโดยใช้สถาปัตยกรรม การให้บริการด้านการเงิน Service-Oriented Architecture (SOA) พร้อมพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล Logistics แบบไร้รอยต่อ Port Community System รวมทั้งการนำระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านการบริหารทรัพยากร หรือ HEIR มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล

การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้พร้อมรับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง

การพัฒนาบุคลากรให้รองรับกับสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลง ด้วยการปรับโครงสร้างองค์กรและอัตรากำลังให้มีความคล่องตัว สอดคล้องกับภารกิจและขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กรให้บรรลุเป้าหมาย

พร้อมสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่ให้มุ่งเน้นลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค พัฒนาทักษะพนักงานให้มีความเป็นมืออาชีพ ฯลฯ ก้าวทันเทคโนโลยีดิจิตอล

การนำระบบมาตรฐานสากลประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและดำเนินการให้มีธรรมาภิบาลและทัดเทียมสากล

การพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ยกระดับการบริหารจัดการให้มีธรรมาภิบาล ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ และคู่มือปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้ทันสมัยสอดรับกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน โดยเร่งปรับ พ.ร.บ. การท่าเรือฯ ให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ และนำระบบมาตรฐานสากล อาทิ ISO SA8000 / มาตรฐานของ ILO , GRI มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเพื่อก่อให้เกิดมาตรฐานและความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการ

การดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชน 

สร้างการมีส่วนร่วม พร้อมสร้างความรู้ความเข้าใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อกิจการของท่าเรือ โดยการพัฒนาเมืองท่าและระบบการจัดการเมืองท่า ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาเมืองที่เกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เร่งรัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบท่าเรือเป็น Smart Community เพื่อให้ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับการดำเนินธุรกิจท่าเรือ อย่างมีความสุข และยั่งยืน