เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)ได้จัดแถลงผลการส่งดาวเทียมแนคแซทขึ้นวงโคจรประสบความสำเร็จ ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT, ย่อมาจาก King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Academic Challenge of Knowledge SATellite) เป็นดาวเทียมรูปแบบคิวแซท (CubeSat) ซึ่งออกแบบและสร้างในประเทศไทยทั้งหมด โดยทีมนักศึกษาและอาจารย์ (รวมทั้งหมดมากกว่า 20 ชีวิต)
ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยโครงการออกแบบและจัดส่งดาวเทียมขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า “แนคแซท” กล่าวว่าเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม2561 ที่ผ่านมา ตามวันในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จรวดฟอลคอน 9 (Falcon 9) ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ภายใต้มิชชั่น SSO-A:Smallsat Express ของบริษัทสเปซไฟลท์ (Spaceeflight Inc.) ได้ส่งดาวเทียมแนคแซทพร้อมดาวเทียมอื่น ๆ รวมทั้งหมด 64 ดวง จากทั้งหมด 17 ประเทศ ขึ้นสู่วงโคจรสำเร็จ ซึ่งตรงกับวันที่ 4 ธันวาคม เวลา 14.04 น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยสัญญาณวิทยุของดาวเทียมแนคแซทถูกได้รับสัญญาณครั้งแรก ( First Voice) โดยนักวิทยุสมัครเล่นที่ใช้ชื่อว่า Mike Rupprecht ชาวเยอรมันนี และในวันเดียวกัน เวลา 10.41 น. ตามเวลาสากล ตรงกับเวลา 17.41 น. ตามเวลาในประเทศไทย นักวิทยุสมัครเล่นคนดังกล่าวก็ได้รับสัญญาณอีกครั้งในวันที่ 5 ธันวาคม 2561 เวลา 02.52 น. ตามเวลาสากล ตรงกับเวลา 07.52 น. ในประเทศไทย และวันที่ 7 ธันวาคม 2561 เวลา 15.04 น. ตามเวลาสากล ตรงกับเวลา 22.00 น. ในประเทศไทย สัญญาณวิทยุของดาวเทียมแนคแซทถูกรับได้โดยนักวิทยุสมัครเล่นที่ใช้ชื่อ Fatc Mubin ชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการยืนยันว่าดาวเทียมแนคแซทได้เริ่มต้นปฏิบัติการงานในอวกาศแล้ว นั่นหมายความว่าดาวเทียมแนคแซทสัญชาติไทยดวงนี้มีชีวิตอยู่และเริ่มปฏิบัติภารกิจสู่ห้วงอวกาศได้สำเสร็จเป็นที่น่ายินดี และคาดว่าอีกไม่นานมหาวิทยาลัยจะได้รับสัญญาณในภาคพื้นของตัวเองอย่างแน่นอน ในส่วนของสถานภาคพื้นดินของโครงการดาวเทียมแนคแซท ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) มจพ. และดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) มจพ. ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการดำเนินการภายใต้ชื่อโครงการ “KNACKSAT” โครงการออกแบบและจัดส่งดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการศึกษา
ทั้งนี้ มจพ. มีแผนต่อยอดการสร้างดาวเทียมของไทยเอง โดยมุ่งหวังและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดแนวคิดจุดประกายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่เยาวชนไทยให้หันมาสนใจมากขึ้น ซึ่งในอนาคตประเทศไทยก็จะสามารถผลิตดาวเทียมและใช้ประโยชน์ด้านการศึกษาได้อย่างแท้จริงและสามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้
สามารถติดตามข่าวสารของดาวเทียมแนคแซทสามารถติดตามได้จาก http://www.knacksat.space/ และเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ @KNACKSAT
ขวัญฤทัย ข่าว