ต้นแบบ “ฟาร์มกุ้งบางสระเก้า” ไร้สารปฏิชีวนะ–ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

0
1032

“กุ้ง”เป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากเกษตรผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก จนพัฒนากลายเป็นอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศ

ขณะที่ปัจจัยสำคัญการเลี้ยงกุ้งอยู่ที่การบริหารจัดการฟาร์ม   ในการเตรียมบ่อ การเลี้ยงในระบบน้ำโปร่ง มีการดูดสิ่งปฏิกูลออกจากบ่อ เลี้ยงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้ลูกกุ้งที่มีคุณภาพต้านทานโรค

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือCPF  ซึ่งเป็นบริษัทรายใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งชนิด กุ้งขาวแวนนาไม  โดยดำเนินกิจการภายใต้โครงการ “ฟาร์มกุ้ง บางสระเก้า”  ซึ่งเปิดดำเนินการมากว่า 10 ปี กระทั่งจนประสบความสำเร็จ

ฟาร์มกุ้ง บางสระเก้า จ.จันทบุรี

ปัจจุบันฟาร์มแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น “ฟาร์มต้นแบบ” ที่เลี้ยงกุ้งปลอดสาร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   เป็นฟาร์มในโรงเรือนระบบปิด  ตั้งอยู่ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี บนพื้นที่ประมาณ   600 ไร่

อย่างไรก็ตาม กว่า 10 ปีของการบริหารจัดการ  โดยเป็นฟาร์มระบบปิดที่ได้มาตรฐาน  จนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศกลยุทธ์การดำเนินงานอย่างไร ถึงวันนี้จึงประสบผลสำเร็จกลายเป็นฟาร์มต้นแบบ

เปรมศักดิ์  วนัชสุนทร  รองกรรมการผู้จัดการบริหารบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า  การเลี้ยงกุ้งของฟาร์มกุ้งบางสระเก้า เราดำเนินงานเป็นฟาร์มในระบบปิด  และขบวนการผลิตสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้  ปลอดภัยต่อผู้บริโภค  หลังจากเปิดตัวโครงการถึงวันนี้ส่งผลทำให้ฟาร์มซีพีเอฟเองกลายเป็นผู้นำการผลิต “กุ้งขาวแวนนาไม”   เนื่องจากเรามีการเลี้ยงกุ้งปลอดเชื้อโรคกุ้งทุกชนิด    ขณะเดียวกัน ในต่างประเทศเองซีพีเอฟลงทุนพัฒนาให้เป็นพันธุ์กุ้งของเมืองไทย  ฟาร์มกุ้งบางสระแก้ว ตั้งอยู่ที่  อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

 “ที่นี่ได้ชื่อว่า เป็นฟาร์มกุ้ง “ต้นแบบ ” ที่พัฒนาต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่  600 ไร่ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557  เป็นต้นมา  ลักษณะการเลี้ยงกุ้งเป็นโรงเรือนที่มีหลังคาหรือเรียกว่า เป็นฟาร์ม “ระบบปิด” สามารถป้องกันพาหนะเชื้อโรคกุ้งได้ทุกชนิด”

โรงเรือนเลี้ยงกุ้ง ระบบปิด

ทั้งนี้  ปัจจัยสำคัญการผลิตเลี้ยงกุ้งจะต้องตอบโจทย์ต่างๆดังต่อไปนี้  ปัจจัยสำคัญประการแรก ได้แก่  การผลิต ลดความเสี่ยง ต้นทุนการผลิต    ประการที่สอง มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเหล่านี้ถือเป็นหัวใจหรือปัจจัยสำคัญที่สุด   โครงการเลี้ยงกุ้งฟาร์มปิดบางสระแก้ว  ซึ่งเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ซีพีเอฟพัฒนาขึ้นมาและประสบความสำเร็จจนถึงทุกปัจจุบันนี้

เปรมศักดิ์ กล่าวต่อว่า  การเลี้ยงกุ้งในฟาร์มระบบปิดแตกต่างกับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทั่วไป   หากย้อนหลังเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา  CPF ริเริ่มพัฒนามีการลองผิด –ถูก ระยะหนึ่ง จึงพบว่า  การลงทุนแบบไหนถึงจะเหมาะสมถึงจะสามารถพัฒนาต่อไป   นั่นคือ เราต้องการลงทุนโครงการฯบางสระแก้ว ด้วยการทำเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งเล็กพื้นขนาด 2 ไร่  ระบบโรงเรือนปิดเป็นการลงทุนที่เหมาะสม   ประการถัดมาขบวนการเตรียมน้ำหลีกเลี่ยงสารเคมี คือ การนำระบบการกรอง Ultra Filtration ( UF) มาใช้  การกรองทำหน้าที่กรองเชื้อโรค  อีกทั้ง เรายังใช้เทคโนโลยีใช้สารเคมีล้างระบบกรองเชื้อโรค

นอกจากนี้ ยังใช้ระบบพัฒนาการจัดการน้าภายในบ่อเลี้ยงกุ้ง  โดยนำเทคโนโลยี ไบโอฟลอค ( Biofloc  Technology )  ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยพัฒนาในการจัดการของเสียงในระบบการเลี้ยงกุ้งที่ใช้การเดิมจุลินทรี  ที่ผ่านมา เราทำการวิจัยและตัดเลือกสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อกุ้ง และมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภค   รวมทั้งการผลิตยังลดการใช้น้ำ  ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับน้ำได้    เพราะฉะนั้น ความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป  ส่วนการเลี้ยงกุ้งระบบเปิดจะไม่มีหลังคาปิด  โรคร้ายวันหนึ่งเป็นไปได้ว่าจะมีนกบินมาแล้วนำเชื้อโรคร้ายลงในบ่อเลี้ยงกุ้ง

“ อนาคตอาจจะมีโอกาสพัฒนาให้ดีกว่านี้  เพราะที่ผ่านมา  การเลี้ยงตามโครงการเลี้ยงกุ้งบางสระเก้า  โดยเฉพาะดำเนินการทำเป็นบ่อขนาดเล็ก พื้นที่บ่อละ 2 ไร่   เราไม่พบความเสียหาย  CPF มีพันธุ์กุ้งปลอดโรคและโตเร็ว  ทั้งหมดจึงช่วยทำให้ความเสี่ยงน้อยลง  การเลี้ยงได้ผลผลิตสม่ำเสมอ  อนาคตจะดำเนินฟาร์มให้เล็กลง แต่การเลี้ยงง่ายขึ้น ความเสี่ยงต่ำ ตรวจย้อนกลับได้

“ การผลิตกุ้ง กระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ลูกค้าหลาย ๆ ประเทศจะสอบถามเราว่า  เราผลิตแบบไหนอย่างไร   แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกกุ้งแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดกลุ่มประเทศ  EU   -ขณะนี้อาจจะเสียเปรียบ เพราะประเทศไทยถูกตัด GSP   ดังนั้น  การแข่งขันกับประเทศที่ไม่ถูกตัดสิทธิ GSP อย่างเวียดนามหรือประเทศที่ยังไม่ถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีอากร (GSP ) ภาษีนำเข้าอาจจะแตกต่างกันประมาณ 10 – 14 %   แต่ในส่วนประเทศอังกฤษ เรายังส่งออกกุ้งไปขาย  เนื่องจากมีความเชื่อมั่นระบบการผลิตการเลี้ยงกุ้งจากฟาร์มของซีพีเอฟ” เปรมศักดิ์กล่าวในที่สุด