คค.ยันเร่งดำเนินงานรถไฟความเร็วสูงสายใต้ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – หัวหิน

0
575

หลังรัฐบาลเร่งพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูง 4 โครงการรวมระยะทาง 1,104 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างแล้ว 1 เส้นทาง คือ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. และโครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคาในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในเส้นทางเชื่อมระหว่าง 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 260 กม.

เร่งดำเนินงานรถไฟความเร็วสูงสายใต้ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – หัวหินระยะทาง 211 ย้ำเร่งจัดส่งข้อมูลให้กับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และกระทรวงการคลังเพื่อนำเสนอขออนุมัติโครงการการให้เอกชนเข้าร่วมงานภายในเดือนตุลาคม 2561 พร้อมทั้งได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการศึกษา ออกแบบ ระยะที่ 2 ตอน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ – จ.สุราษฎร์ธานี และระยะที่ 3 ตอน จ.สุราษฎร์ธานี – ปาดังเบซาร์ ต่อไป

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวยืนยันว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเร่งรัดนำเสนอขออนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงสายภาคใต้ ระยะที่ 1 ตอน กรุงเทพฯ – หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 211 กิโลเมตร โดยเปิดให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ซึ่งที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่มีความคืบหน้าไปแล้วอย่างมาก ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ส่งรายงานผลการศึกษาการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ประกอบด้วย ผลการศึกษาความเหมาะสม การออกแบบกรอบรายละเอียด ร่างรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อพิจารณานำเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว

ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญได้แก่ (1) การปรับปรุงแนวเส้นทางในช่วงที่ผ่าน อ.เมือง จ.เพชรบุรี มิให้มีผลกระทบต่อปริมาณจราจรของถนนเพชรเกษม โดยในเรื่องดังกล่าวได้มีความตกลงร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และสำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจรเรียบร้อยแล้ว และได้จัดให้มีการรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 ซึ่งจะเป็นการเปิดพื้นที่และพัฒนาเมืองใหม่ตลอดแนวเขตพื้นที่ที่สำคัญตลอดเส้นทาง (2) การปรับปรุงแนวการก่อสร้างสะพานคู่ขนานสะพานพระรามที่ 6 ในช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และ (3) การใช้เขตทางรถไฟสายใต้ในส่วนของการเดินรถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมือง ให้มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม”

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดจัดส่งข้อมูลให้กับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และกระทรวงการคลังเพื่อนำเสนอขออนุมัติโครงการการให้เอกชนเข้าร่วมงานภายในเดือนตุลาคม 2561 พร้อมทั้งได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการศึกษา ออกแบบ ระยะที่ 2 ตอน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ – จ.สุราษฎร์ธานี และระยะที่ 3 ตอน จ.สุราษฎร์ธานี – ปาดังเบซาร์ ต่อไป

นอกจากนี้ นายอาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาระบบรางของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลถือว่าเป็นการปฏิรูประบบรางทั้งระบบรางในกรุงเทพฯ เมืองหลัก รถไฟระหว่างเมือง และรถไฟความเร็วสูง และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศครั้งใหญ่ ที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ลดการใช้พลังงานฟอสซิล สร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาด สร้างความสะดวกสบายและลดระยะเวลาในการเดินทาง และที่สำคัญคือ ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึง