ข่าวครึกโครมเมื่อช่วงต้นปี 2561กรณีที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) บุกเข้ารวบตัว “เสี่ยวิชัย ป้ันงาม” เจ้าพ่อเงินกู้นอกระบบรายใหญ่ย่านปทุมธานี ดำเนินคดีหัวหน้าอั้งยี่และปล่อยกู้นอกระบบในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด พร้อมกับส่งเรื่องให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ดำเนินการยึดทรัพย์สิน อาคารบ้าน ที่ดิน รถยนต์ จักรยานยนต์ เงินสดและเงินฝากในธนาคารและทรัพย์สินอื่นๆ รวมกว่า 800 ล้านบาท
แม้เครือข่ายของเสี่ยวิชัยที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่ม วี 8” จะถูกรวบไปแล้ว โดยมีประชาชนผู้เสียหายที่ต้องตกเป็นเหยื่อของเครือข่ายนี้กว่า 100,000 คน มูลค่าความเสียหายทั่วประเทศราว 1,000 ล้านบาทนั้น
แต่กรณีดังกล่าวอาจกลายเป็นเรื่องเด็กๆไปเลย เมื่อเทียบกับบรรดาธุรกิจปล่อยเงินกู้ จำนำทะเบียนรถที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดทั้งที่เป็นธุรกิจห้องแถว เต้นท์รถ ลิสซิ่งเช่าซื้อ หรือที่จดทะเบียนขึ้นมาประกอบการเป็นนิติบุคคลโดยตรง บางรายนั้นเป็นถึงบริษัทลูกของแบงก์ยักษ์ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศนับพันสาขา โชว์ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหราแต่พฤติกรรมการปล่อยกูู้้ที่กระทำไว้กับประชาชนนั้น ไม่ต่างไปจากสัญญาเงินกู้ที่เสี่ยวิชัยกระทำไว้กับลูกหนี้ จะแตกต่างกันก็แค่ที่ “เสี่ยวิชัย”นั้น ไม่ได้ขอใบอนุญาตประกอบการโดยตรงเท่านั้น
ทำไมธุรกิจเหล่านี้ถึงได้เฟื่องฟูกันนัก ? เหตุใดผู้คนถึงหันมาจับธุรกิจจำนำทะเบียนรถ ปล่อยเงินกู้กันมากมายก่ายกองนับแสนรายมากกว่าร้านสะดวกซื้อหรือ “โมดิร์นเทรด” ท้ังประเทศรวมกันเสียอีก!
ลูกหนี้ตกเป็นเหยื่อทั่วประเทศ
สำหรับผู้คนโดยท่ัวไปที่กำลังเดือดร้้อนเลือดเข้าตานั้น ธุรกิจปล่อยเงินกู้ จำนำทะเบียนรถ เต้นท์รถที่ผันตนเองมารับตึ๊งเล่มทะเบียน หรือจะลิสซิ่งเช่าซื้อที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดกระจายอยู่ท่ัวประเทศนั้น ธุรกิจเหล่านี้เป็นเสมือน “ที่พึ่งสุดท้าย” ของผู้คนที่ไม่สามารถจะเข้าถึงระบบสถาบันการเงินได้
เพราะหากจะให้กันไปกู้นอกระบบดอกเบี้ยร้อยละ10-20 ต่อวันนั้น ชะตากรรมลูกหนี้เงินกู้นอกระบบจุดจบเป็นอย่างไรทุกฝ่ายรู้แก่ใจกันดี ขณะที่ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถที่ทำได้ง่ายเป็นที่พ่ึงยามยากยิ่งกว่าโรงรับจำนำ จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ผู้คนนิยมใช้บริการกันจะเงินติดล้อ เสี่ยสั่งได้ เงินกู้ทันใจอะไรก็ตามแต่ แค่เอาทะเบียนมาทิ้งไว้รับเงินสดทันใจผ่อนดอกเบี้ยกันไป 12-28% เป็นอันจบง่ายย่ิงกว่าปลอกกล้วยเข้าปากซะอีก!
อย่างไรก็ตามการบากหน้าไปขอกู้ธุรกิจเหล่านี้ ไม่มีใครฉุกคิดกันเลยว่าสัญญากู้ยืมเงินที่ไปเซ็นไว้กับผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคล เต้นท์รถที่ผันตัวมารับจำนำทะเบียน ธุรกิจเช่าซื้อหรือลิสซิ่งทั้งหลายนั้น จะมีรายการแร่แปรธาตุหมกเม็ดสัญญาอะไรหรือไม่
เพราะสัญญาเหล่านี้มีการปฏิบัติกันมาอย่างกว้างขวาง ยาวนานไปที่ไหนก็เห็นจนชินตา!
หากจะถามว่าพอร์ตสินเชื่อเงินกู้เหล่านี้ทั้งระบบมีมากน้อยแค่ไหน เท่าที่ “กลุ่มพิทักษ์สิทธิ์ลูกหนี้” ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของบรรดาลูกหนี้ที่ทนการถูกเอารัดเอาเปรียบจากธุรกิจเงินกู้นอกลู่เหล่านี้ไม่ไหวจึงรวมตัวกันเพื่อยื่นเรื่องเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการได้ประเมินกันอย่างคร่าวๆ เบื้องต้นพบว่า
พอร์ตเงินกู้นอกระบบของธุรกิจเหล่านี้น่าจะมีมากกว่าแสนล้านบาท และมีประชาชนที่ต้องตกเป็นเหยื่อมากกว่าล้านรายขึ้นไป “พอร์ตระดับแสนล้านบาทน้ัน เอาเฉพาะดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบการเหล่านี้เอาเปรียบประชาชนคนไทยทั้งระบบไป ก็คิดเป็นมูลค่านับหมื่นล้านบาทขึ้นไปแน่ ขณะที่ภาครัฐและกระทรวงการคลังเองต้องสูญเสียรายได้จากภาษีแวตไปนับพันล้านบาทเช่นกัน”
เผยกลโกงลิสซิ่ง-จำนำทะเบียนรถ
ในข้อเท็จจริงหากตรวจสอบให้ลึกลงไปถึงสัญญาเงินกู้ที่ผู้ประกอบธุรกิจลิสซิ่งทั้งที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีพอร์ตเงินกู้มากกว่า 35,000-40,000 ล้าน รวมทั้งธุรกิจที่อ้างว่าให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ทั้งเงินติดล้อ เงินด่วน คาร์ ฟอร์ แคช ทั้งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ และธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์)
สัญญาเงินกู้ที่ธุรกิจเหล่านี้ทำไว้กับลูกหนี้ร้อยทั้งร้อยหาได้เป็นสัญญาเช่าซื้อแบบลีสซิ่งตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือสินเชื่อรายย่อยภายใต้การกำกับแบบนาโน/พิโก้ ไฟแนนซ์ ตามที่กระทรวงการคลังให้ใบอนุญาตไปก่อนหน้า
ทุกรายล้วนจัดทำเป็น “สัญญาเงินกู้แบบมีหลักประกัน” ที่”มัดมือชก”กำหนดให้ลูกหนี้ต้องนำหลักทรัพย์ ทรัพย์สิน รถยนต์ จักรยานยนต์ หรือทรัพย์สินมีค่าอื่น ๆมาเป็นทรัพย์ค้ำประกันด้วยกันทั้งสิ้นซึ่งถือเป็นสัญญาเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ปพพ.)มาตรา 654 ที่ต้องอยู่ในบังคับพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราปี 2475 ที่แก้ไขเพิ่มเติมปี 2560
“ไม่มีใครฉุกคิดกันเลยว่าประเทศไทยเรามีการตรา “พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา”พ.ศ.2475 บังคับห้ามเจ้าหนี้ขูดรีดดอกเบี้ยเอากับลูกหนี้ ซึ่งได้มีการแก้ไขต่อเนื่องกันมาเป็น พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2535 ,พ.ศ.2558 และล่าสุด พ.ร.บห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ. พ.ศ.2560 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม2560 เป็นต้นมา”
ในเมื่อธุรกิจเหล่านี้ไม่ใช่สถาบันการเงิน ไม่ได้่อยู่ในกำกับของแบงก์ชาติ หรือกระทรวงการคลัง และสัญญาที่จัดทำขึ้น ยังเป็นสัญญาเงินกู้ปกติที่มีหลักประกัน จึงต้องอยู่ในบังคับของปพพ.มาตรา 654และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2560 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 เท่านั้น เกินกว่าน้ันถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษทั้งทางแพ่งและอาญา!!!
เผย “ไฮเวย์-ทิสโก้”ยอมทำตามกฏหมาย
แหล่งข่าวในวงการลิสซิ่งได้ตั้งข้อสังเกตุถึงบรรดาสัญญาเงินกู้ยืม สัญญาเช่าซื้อ ตลอดจนสัญญาจำนำทะเบียนรถที่บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจ ”นอน-แบงก์”ทั้งหลายกระทำกับลูกหนี้ จะเห็นได้ว่า
มีเพียงบางบริษัทอย่าง บริษัทไฮเวย์ จำกัดในเครือธนาคารทิสโก้ที่จัดทำสัญญาเช่าซื้อ“ถูกกฎหมาย” โดยใช้สัญญมาตรฐานตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)กำหนด ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ รวมทั้งลิสซิ่งรายใหญ่ของเมืองไทย ล้วนแล้วแต่หลบเลี่ยงไปทำเป็น “สัญญาเงินกู้แบบมีหลักประกัน” ที่กำหนดให้ลูกหนี้ ต้องนำสินทรัพย์มาค้ำประกันทั้งสิ้น
พฤติกรรมการจัดทำสัญญาปล่อยเงินกู้ของธุรกิจปล่อยเงินกู้ ลิสซิ่ง หรือเต็นท์รถที่กระทำกับลูกหนี้ผู้กู้ยืมเหล่านี้ จึงล้วนแล้วแต่ขัดกฎหมาย พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราทั้งสิ้น
งัดช่องว่าง“นาโน-พิโก้”โขกลูกหนี้มันมือ
ขณะที่กระทรวงการคลัง “ตีปี๊บ”ผลสำเร็จของการแก้หนี้นอกระบบด้วยการให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ”นาโนไฟแนนซ์” และสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด ภายใต้การกำกับ ”พิโก้ ไฟแนนซ์” ที่รัฐต้องการดึงบรรดาเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบ
โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการนาโนไฟแนนซ์ และพิโก้ ไฟแนนซ์ สามารถปล่อยเงินกู้เรียกอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้สูงถึง 36% ด้วยถือว่าเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจของลูกหนี้ที่จะมีต่อเจ้าหนี้ ขณะที่ลกหนี้เองก็มีช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินกู้ที่ดีกว่าการกู้นอกระบบ
ซ่ึงล่าสุด ณ สิ้นเดือนมกราคม 61 มีผู้ประกอบการนาโนไฟแนนซ์ 25 ราย เปิดดำเนินการไปแล้ว 14 ราย ส่วนพิโก้ ไฟแนนซ์ มีผู้ประกอบการยื่นคำขอ 441 รายใน 66 จังหวัด มีผู้ได้รับใบอนุญาต 279 รายใน 49 จังหวัด เริ่มปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 114 รายใน 45 จังหวัด ยอดสินเขื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันาวาคม 2560 มีจำนวน 8,561 บัญชี จำนวน 218 ล้านบาทเฉลี่ยปล่อยกู่ายละ 25,577 บาท เป็นสินเชื่อมีหลักประกัน 4,348 บัญชี 136 ล้านบาทหรือ 62.18% และสินเชื่อไร้หลักประกัน 4,213 บัญชี เป็นเงิน 82 ล้านบาท หรือ 37.82%
“สิ่งที่คลังไม่ได้ลงไปตรวจสอบเลยก็คือ ธุรกิจเหล่านี้อาศัยช่องโหว่ทางใบอนุญาตภายใต้การกำกับของคลังเอง ไม่ว่าจะ “นาโน/พิิโก้ไฟแนนซ์” ที่รัฐเปิดโอกาสให้คิดดอกเบี้ยได้สูงถึงร้อยละ 3 ต่อเดือนหรือ 36% ต่อปีน้ันมาเป็นใบเบิกทางในการจัดทำสัญญาเงินกู้ที่เอาเปรียบลูกหนี้ โดยแทนที่จะเป็นสัญญาเงินกู้ปกติที่ไม่มีหลักประกันหรือ P loan ก็กลับไปกำหนดเงื่อนไขให้ลูกหนี้ต้องนำสินทรัพย์รถ/จักรยานยนต์มาเป็นหลักประกันเพิ่มเข้าไปในสัญญา”
กลายเป็นว่าสินเชื่อ “นาโน ไฟแนนซ์” ที่รัฐเปิดทางให้ผู้ประกอบการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆได้สูงถึง 36%นั้น กลับกลายเป็น “ช่องโหว่”ที่ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ จัดทำเป็นสัญญาเงินกู้ที่ไม่เพียงจะโขกดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมได้สูงตามเงื่อนไขของกระทรวงการคลัง ยังบังคับเอา “หลักประกันเพิ่มเติม”จากลูกหนี้พ่วงเข้ามาด้วยอีก ซึ่งนอกจากจะทำให้เป็นสินเชื่อที่ “ไร้ความเสี่ยง”แล้ว ยังสามารถโขกดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมได้สูงถึง 36% และบางรายน้ันยังสูงกว่า 40-51% ด้วยซ้ำไป!
น่าแปลกที่สัญญาเงินกู้ในลักษณะดังกล่าวทั้งกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย กลับไม่เคยได้ระแคะระคาย หรือ “ล้วงลูก” เข้ามาตรวจสอบเลยแม้แต่น้อย!!!
เปิดฎีกาใหม่ ไล่เบี้ยเจ้าหนี้เงินกู้โหด
สิ่งที่หน่วยงานภาครัฐและประชาชนคนไทยไม่เคยได้ล่วงรู้กันมาก่อนเลยก็คือ มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2560 ที่วางบรรทัดฐานบังคับแก่เจ้าหนี้-ลูกหนี้ที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่เป็นไปตามกฎหมายกำหนด
โดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีที่เจ้าหนี้(โจทก์)คิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้(จำเลย) ร้อยละ 1.3 ต่อเดือน หรืออัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15.6 ต่อปี ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.)มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวตกเป็นโมฆะ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้โดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่ต้องชำระ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์นั้นคืนตาม ปพพ.มาตรา 407
เมื่อดอกเบี้ยของโจทก์เป็นโมฆะ เท่ากับสัญญากู้ยืมมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธ์ได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัด และไม่อาจะนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิ์คิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระไปชำระเงินต้นทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น ถือเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่ใช้บังคับต่อเจ้าหนี้-ลูกหนี้ในการจัดทำสัญญาเงินกู้และเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าแม้การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไปเพียง 0.6% ศาลถือว่าเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ขัดกฎหมายจึงพิพากษาให้ตกเป็นโมฆะทั้งหมด และให้ถือเสมือนว่ายังไม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยมาก่อน เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยผิดนัด หรือนำเงินที่ลูกหนี้ชำระมาแล้วไปหักดอกเบี้ยที่กำหนดขึ้นได้ ต้องนำไปชำระคืนเงินต้นก่อน หากมีเงินเหลือก็ให้คืนกลับลูกหนี้ไป
“ยิ่งในส่วนของ พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2560 ใหม่ที่ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2560 ซึ่งได้บัญญัติบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้ โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งยังบัญญัติถึงการกระทำที่ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้เอาไว้อย่างละเอียด
โดยมาตรา 4 บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจะคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
(2) กำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้ หรือเรื่องอื่นๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืม หรือตราสารเปลี่ยนมือได้เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือ
(3) กำหนดจะเอาหรือรับเอาซึ่งผลประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ยไม่ว่าจะเป็นเงินหรือสิ่งของหรือโดยวิธีการใดๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงิน
เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาบรรดาสัญญาเงินกู้ทั้งที่ธุรกิจปล่อยกู้เงินที่เป็น “นอนแบงก์”ดำเนินการ หรือผู้ประกอบการรบัจำนำทะเบียนรถยนต์ ตลอดจนบรรดาผู้ประกอบการนาโน ไฟแนนซ์ที่อำพรางจัดทำเป็นสัญญาเงินกู้แบบมีหลักประกันนั้น
สัญาเงินกู้เหล่านี้ล้วนแต่เข้าข่ายเป็นสัญญาตามปพพ.มาตรา 654 ที่ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 4 แห่งพรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2560 ด้วยกันท้ังสิ้น ในเมื่อเจ้าหนี้เงินกู้ หรือผู้ประกอบการเหล่านี้จงใจทำสัญญาหลบเลี่ยงกฎหมายหรือเงื่อนไขใบอนุญาตตนเอง มาจัดทำเป็น “สัญญาเงินกู้แบบมีหลักประกัน” เช่นนี้ ย่อมต้องถือว่า เป็นการกำหนดเงื่อนไขหรือจัดทำสัญญา“อำพราง”ตาม(2) และ (3) ของมาตรา 4 พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีปรับไม่่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ!
แต่ปัญหา “กลัดหนอง”ของลูกหนี้รากหญ้าทั้งประเทศจะได้รับการปลดปล่อยหรือไม่ ก็ข้ึนอยู่กับความจริงใจของรัฐบาล คสช. โดยเฉพาะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.จะตามเล่ห์กลของธุรกิจปล่อยเงินกู้ จำนำทะเบียนรถและลิสซิ่งแสบพวกนี้ได้แค่ไหน
เพราะจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดยื่นมือเข้ามาจัดการกับปัญหานี้ ทั้งที่เป็นปัญหากัดกร่อนเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าอย่างแท้จริง!!!